อาการโควิด 19 อาจไม่ใช่แค่มีไข้ ไอ จาม เหนื่อยหอบ เพราะมีเคสผู้ป่วยแสดงอาการอื่น ๆ ที่ป่วยเป็น COVID-19 นอกจากนี้ แล้วผลตรวจออกมาเป็นบวก ติดไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย
ช่วงที่ COVID 19 ระบาดในระยะแรก อาการที่บ่งชี้ของโรคนี้ตามที่เราเข้าใจคือผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง ไอ จาม หายใจเหนื่อย ซึ่งเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่หลัง ๆ ก็เริ่มมีหลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโควิด 19 หลายเคส ช่วงแรก ๆ ยังไม่มีอาการข้างต้น แต่มีอาการป่วยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียการได้กลิ่น
จากสถิติผู้ป่วย Covid-19 ที่มากขึ้นก็พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอาการสูญเสียการได้กลิ่น (anosmia) และในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลไม่มาก จะพบว่ามีอาการสูญเสียการได้กลิ่นเป็นอาการหลักถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว
ดังนั้น ราชวิทยาโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย จึงได้ออกประกาศให้แพทย์พิจารณาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วย
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ให้สงสัยติดโควิด 19 ไว้ก่อน
2. ตาแดง
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ทีมวิจัยจากโรงพยาบาลเครือมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เจ้อเจียง (ZJU Med) แห่งที่ 1 พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายหนึ่ง มีอาการตาแดงร่วมกับอาการอื่น ๆ และเมื่อนำน้ำตาของผู้ป่วยติดเชื้อ 30 คน มาตรวจก็พบไวรัสโคโรนา มากถึง 29 คน นอกจากนี้รายงานในต่างประเทศยังพบอาการตาแดงในผู้ป่วยโควิด-19 มากถึง 3% ดังนั้น แม้จะไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่หายใจเหนื่อย แต่หากมีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ แล้วมีอาการตาแดง ก็ควรสงสัยอาการตัวเองก่อน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
งานวิจัยในอิตาลี พบว่า 20% ของผู้ป่วยโควิด 19 มีอาการผื่นขึ้นที่ลำตัว ทั้งในลักษณะผื่นแดง (คันบางราย) จุดเลือดออก ผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ กลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส และการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการหดและขยายตัวของหลอดเลือด โดยบริเวณที่พบผื่นขึ้นมากที่สุดคือลำตัว
นอกจากนี้ในสหราชอาณาจักรก็พบเคสผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการผื่นแดง เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจาก Le Syndicat National des Dermatologues-Vénéréologues (SNDV) ประเทศฝรั่งเศส กว่า 400 คน ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการคล้ายผื่นลมพิษ เป็นรอยแดง และเจ็บ
ขณะที่แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และการติดเชื้อไวรัส สามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังได้ ซึ่งในผู้ป่วย 100 คน จะพบผู้ป่วย 20 คน ที่มีผื่นผิดปกติทางผิวหนังด้วย โดยพบว่าในคนไข้โควิด 19 ที่มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 40 จะมีอาการพร้อม ๆ กับอาการไข้หรือไอ ตั้งแต่พบว่าป่วยเป็นโรคโควิด 19 และร้อยละ 60 จะมีความผิดปกติทางผิวหนังปรากฏในภายหลัง
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยโควิด 19 ยังมีอาการทางผิวหนังจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น การแพ้ยาหรือการใช้ยาบางชนิดในการรักษา ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะคล้ำขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อาการแสดงทางผิวหนังไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อ
อาการท้องเสียพบได้ไม่บ่อยนัก และมักจะไม่มีอาการที่รุนแรง ทำให้หลายคนที่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเสี่ยงติดโควิด 19 เพราะอาการท้องเสียอาจเป็นอาการเริ่มต้นก่อนอาการป่วยอื่น ๆ จะตามมา ฉะนั้นหากมีอาการท้องเสีย และมีโอกาสสัมผัสเชื้อโคโรนาไวรัส ไปตรวจโควิดให้แน่ใจก็ดี
อย่างไรก็ตาม
อาการดังกล่าวมักจะเป็นอาการโควิดแรก ๆ ที่ร่างกายแสดงออกมา
โดยอาจไม่แสดงอาการไข้สูง หายใจเหนื่อย หรือไอเลย
ทำให้เหมือนไม่ได้ป่วยรุนแรง ขณะที่การตรวจหาเชื้อในระยะหลัง พบว่า
บางคนไม่แสดงอาการอะไรก็มี แต่กลับมีเชื้อในร่างกาย
ดังนั้น
ถ้าใครมีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ เช่น
เดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่เพิ่งพบผู้ติดเชื้อ
แล้วมีอาการป่วยไม่ว่าจะอาการพื้นฐาน (มีไข้
ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือมีอาการ 4
อย่างข้างต้นร่วมด้วย ให้สงสัยตัวเองไว้ก่อนว่านี่ติดหรือยังนะ
แล้วไปตรวจหาเชื้อหน่อยก็ดี เพื่อความปลอดภัย
- อาการโควิด 19 เป็นยังไง มีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว, เฟซบุ๊ก Pleasehealth Books, เฟซบุ๊ก HELLO SKIN by หมอผิวหนัง, สำนักข่าวซินหัว, express.co.uk, connexionfrance