Home »
Uncategories »
ไม่อยากเป็น หรือเป็นไปแล้ว “ริดสีดวง” ต้องเลือกกินอาหารประเภทนี้
ไม่อยากเป็น หรือเป็นไปแล้ว “ริดสีดวง” ต้องเลือกกินอาหารประเภทนี้
ไม่อยากเป็น หรือเป็นไปแล้ว “ริดสีดวง” ต้องเลือกกินอาหารประเภทนี้
ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่ทรมานมากใช้ชีวิตยากลำบาก
ไม่อยากเป็นหรือเป็นไปแล้วต้องรู้จักเลือกกินอาหาร
เพื่อช่วยรักษาริดสีดวงให้หาย
หรืออย่างน้อยก็บรรเทาความเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวารได้
มาดูอาหารที่คนเป็นริดสีดวงทวารควรกินกันค่ะ
ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อยและเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน
ทั้งกรรมพันธุ์ อาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ
หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพอย่างการกินอาหารไม่ครบหลักโภชนาการที่ดี
ขาดไฟเบอร์จนก่อให้เกิดอาการท้องผูก
รวมไปถึงอาชีพบางอาชีพที่ต้องนั่งหรือยืนทำงานนาน ๆ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าโรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่เกิดได้กับทุกคน
และมักจะพบผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวัยทำงาน
ฉะนั้นนอกจากการรักษาริดสีดวงทวารตามหลักทางการแพทย์แล้ว
กระปุกดอทคอมอยากนำเสนออาหารที่คนเป็นริดสีดวงทวารควรกิน
เพื่อช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวารที่เป็นอยู่ให้มีความรุนแรงน้อยลง
เอาเป็นว่ามาดูกันเลยค่ะ เป็นริดสีดวงควรกินอะไรบ้าง
1. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
อย่างน้อยควรต้องดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8-10 แก้ว
เพราะนอกจากน้ำจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกายแล้ว
น้ำยังมีส่วนช่วยให้อุจจาระนุ่ม เวลาขับถ่ายก็จะง่าย
ไม่ต้องเบ่งให้เจ็บริดสีดวงทวาร
2. ผัก ผลไม้ อย่าให้ขาด
ไฟเบอร์เป็นวัตถุดิบชั้นเลิศในการขับถ่าย
โดยมีส่วนช่วยทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว การขับถ่ายมีความคล่องตัวมากขึ้น
ดังนั้นคนเป็นริดสีดวงควรกินผัก ผลไม้
ให้มากขึ้นเพื่อเติมไฟเบอร์ให้ระบบทางเดินอาหาร
ช่วยให้การขับถ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ
3. โยเกิร์ต
โยเกิร์ตเปี่ยมไปด้วยแบคทีเรียชนิดดีต่อลำไส้
โดยเฉพาะโยเกิร์ตที่มีแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus)
หรือโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ไบฟิดัส (Bifidus)
ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่มีหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่าย
นอกจากนี้โยเกิร์ตที่ทำมาจากนมยังมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย
ทำให้เราปวดถ่ายง่ายขึ้น ไม่ต้องกังวลกับอาการท้องผูก
หรือการนั่งเบ่งถ่ายอีกต่อไป
4. โฮลเกรน/ป๊อปคอร์น
สำหรับคนที่กินผัก-ผลไม้ไม่ค่อยถนัดเท่าไร
สามารถรับไฟเบอร์จากโฮลเกรนแทนได้นะคะ อย่างข้าวโอ๊ต ซีเรียลจากธัญพืช
ข้าวกล้อง หรือแม้แต่ป๊อปคอร์นเปล่า ๆ ก็มีไฟเบอร์เยอะพอสมควร
หากคิดว่ากินผัก-ผลไม้อย่างเดียวไม่น่าจะได้รับไฟเบอร์ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แนะนำให้กินไฟเบอร์จากอาหารที่บอกไว้เสริมเข้าไปด้วยเลย
หรืออาจจะกินอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดอื่นร่วมด้วยก็ได้
เพราะปริมาณกากใยอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการขับถ่าย
คือร่างกายควรได้รับไฟเบอร์ประมาณ 25-30 กรัมในแต่ละวัน
ดังนั้นเลือกกินอาหารไฟเบอร์สูงให้หลากหลาย อย่างอาหารในข้อต่อ ๆ
ไปนี้ก็ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
5. ถั่ว
พืชตระกูลถั่วเกือบทุกชนิดมีทั้งโปรตีนและไฟเบอร์ในปริมาณที่สูงพอสมควร
โดยถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ในปริมาณครึ่งถ้วยตวงก็ให้ไฟเบอร์มากถึง 1 ใน
3 ของปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันแล้ว
ที่สำคัญไฟเบอร์ในถั่วยังมีทั้งไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำและชนิดไม่ละลายน้ำ
ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
6. อัลมอนด์
อัลมอนด์ก็เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งเช่นกันค่ะ โดยอัลมอนด์ประมาณ 20
เม็ดจะให้ไฟเบอร์ราว ๆ 3 กรัม
อีกทั้งอัลมอนด์ยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น
วิตามินอี กรดไขมันดี ทองแดง แมกนีเซียม และมีแคลเซียมสูงอีกด้วยนะคะ
ทว่าการรับประทานอัลมอนด์วันละ 20
เมล็ดอาจจะทำให้ร่างกายได้รับแคลอรีเกินความจำเป็น
ดังนั้นควรกินอัลมอนด์ประมาณ 1 หยิบมือ (ไม่เกิน 10 เมล็ด) ต่อวัน
แล้วพยายามกินอาหารไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวไม่ขัดสี
หรือธัญพืชร่วมด้วย
7. มะละกอ
มะละกอเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในด้านผลไม้แก้ท้องผูก อยู่แล้ว
เพราะนอกจากมะละกอจะมีไฟเบอร์สูง ในมะละกอยังมีเอนไซม์ Papain
ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีนในระบบทางเดินอาหาร
สามารถกำจัดคราบโปรตีนเก่า ๆ
ที่ย่อยไม่หมดจนขัดขวางการขับถ่ายของลำไส้ออกไปได้
จึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น แก้ปัญหาท้องผูกถ่ายยากจนต้องนั่งเบ่ง
บรรเทาความทรมานจากการเบ่งถ่ายไปได้พอสมควรเลย
8. ลูกพรุน
ลูกพรุนเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยระบายอยู่ในตัว
โดยนอกจากจะมีส่วนช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้นแล้ว
ลูกพรุนก็มีคุณสมบัติช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่ม
ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระออกมาได้ง่ายขึ้น
ยิ่งหากดื่มน้ำอย่างเพียงพอร่วมด้วย
การขับถ่ายจะคล่องตัวอย่างเต็มที่เลยล่ะค่ะ
นอกจากอาหารที่คนเป็นริดสีดวงทวารควรกินเหล่านี้แล้ว
เราก็อยากให้เพิ่มการออกกำลังกายให้เป็นหนึ่งในเป็นกิจวัตรประจำวันด้วยนะคะ
เพราะการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
ทำให้การขับถ่ายคล่องตัวมากขึ้นด้วย
ขอขอบคุณ : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, livestrong และ webmd