ผักพื้นบ้านช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้มีผักอะไรที่ใกล้ตัว หากินได้ง่าย ๆ บ้าง ตามมาส่องผักลดน้ำตาลในเลือดกันเลย
ถ้าต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยอะไรที่ไม่ใช่ยา ลองมองหาผักพื้นบ้านช่วยลดน้ำตาลในเลือดดูไหมคะ เพราะผักลดน้ำตาลในเลือดมีอยู่หลายชนิดเลยทีเดียว แถมบางชนิดยังเป็นผักที่เรากินกันบ่อย ๆ อีกด้วยนะ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าผักลดน้ำตาลในเลือดมีอะไรบ้าง เราจะได้กินผักชนิดนั้น ๆ บ่อยขึ้นไง
อย่างไรก็ตาม
ผักพื้นบ้านลดน้ำตาลในเลือดก็เป็นเพียงอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของคนที่ต้องการลดน้ำตาลในเลือดเท่านั้น
ซึ่งกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม
ไม่ควรหวังว่าการกินผักหรือสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยรักษาโรคเบาหวานได้
เพราะหัวใจสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือดคือการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย
ยิ่งกับผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว ยังไงก็ไม่ควรหยุดยาแผนปัจจุบันโดยเด็ดขาด
และควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับประทานสมุนไพรหรือวิตามินอะไรก็ตาม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน, หมอชาวบ้าน, สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, GotoKnow, ชัวร์ก่อนแชร์, กองการแพทย์ทางเลือก, สสส., คมชัดลึก
ถ้าต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยอะไรที่ไม่ใช่ยา ลองมองหาผักพื้นบ้านช่วยลดน้ำตาลในเลือดดูไหมคะ เพราะผักลดน้ำตาลในเลือดมีอยู่หลายชนิดเลยทีเดียว แถมบางชนิดยังเป็นผักที่เรากินกันบ่อย ๆ อีกด้วยนะ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าผักลดน้ำตาลในเลือดมีอะไรบ้าง เราจะได้กินผักชนิดนั้น ๆ บ่อยขึ้นไง
1. มะระขี้นก
หวานเป็นลมขมเป็นยา
คำกล่าวนี้เป็นความจริงมาแต่ไหนแต่ไร อย่างมะระขี้นกที่ขึ้นชื่อว่าขมแสนขม
แต่สรรพคุณนี่ต้องชมจริงว่าเด็ดแสนเด็ด โดยเฉพาะในเรื่องลดน้ำตาลในเลือด
เพราะในผลมะระขี้นกมีสารชาแรนติน (Charatin)
ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลของตับ
กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทนทานต่อกลูโคส
(ร่างกายไม่ไวต่อกลูโคส)
นอกจากนี้สารที่พบในผลมะระขี้นกยังมีผลยับยั้งการหลั่งของกลูโคสในลำไส้เล็ก
และยับยั้งเอนไซม์กลูโคซิเดส สาเหตุของโรคเบาหวานได้อีกด้วย
ทั้งนี้สามารถรับประทานผลมะระขี้นกจิ้มน้ำพริก หรือกินเป็นผักเคียงกับกับข้าวชนิดอื่น ๆ หรือจะหั่นเนื้อมะระขี้นกเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปตากแห้ง เอาไว้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ ทว่าการรับประทานมะระขี้นกก็มีข้อจำกัดในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะมะระขี้นกมีฤทธิ์เย็น และมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปในคนบางกลุ่ม และอาจเป็นอันตรายได้
ทั้งนี้สามารถรับประทานผลมะระขี้นกจิ้มน้ำพริก หรือกินเป็นผักเคียงกับกับข้าวชนิดอื่น ๆ หรือจะหั่นเนื้อมะระขี้นกเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปตากแห้ง เอาไว้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ ทว่าการรับประทานมะระขี้นกก็มีข้อจำกัดในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะมะระขี้นกมีฤทธิ์เย็น และมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปในคนบางกลุ่ม และอาจเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้ก็ไม่ควรรับประทานมะระขี้นกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
เพราะอาจทำให้เสียสมดุลในร่างกาย
และก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลสุกของมะระขี้นก
เพราะในผลสุกของมะระขี้นกจะมีสารไซยาไนด์
รวมทั้งสารซาโปนินที่อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้อาเจียน ท้องร่วง
หรือหมดสติได้
มะระขี้นก สมุนไพรใกล้รั้ว แก้พิษร้อน ต้านเบาหวาน 2. ผักเชียงดา
ผักเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ
ที่แปลชื่อได้โหด ๆ ว่า ผักฆ่าน้ำตาล
เหตุก็เพราะว่าในผักเชียงดามีสารสำคัญในกลุ่มไตรเทอร์ปีนซาโปนิน
ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งน้ำตาล
ชะลอการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็ก
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในตับอ่อน
ทำให้ผักเชียงดาเป็นผักลดน้ำตาลในเลือดที่น่าสนใจมาก ๆ
ส่วนวิธีกินผักเชียงดาลดน้ำตาลในเลือด สามารถนำใบอ่อน ยอด และดอกผักเชียงดามาลวกพอสุก จิ้มน้ำพริกกิน หรือใส่ไปกับตำมะม่วง แกงปลาแห้ง แกงแค หรือจะนำผักเชียงดามาผัดน้ำมันหอยหรือผัดใส่ไข่ก็ได้
ผักเชียงดา สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ส่วนวิธีกินผักเชียงดาลดน้ำตาลในเลือด สามารถนำใบอ่อน ยอด และดอกผักเชียงดามาลวกพอสุก จิ้มน้ำพริกกิน หรือใส่ไปกับตำมะม่วง แกงปลาแห้ง แกงแค หรือจะนำผักเชียงดามาผัดน้ำมันหอยหรือผัดใส่ไข่ก็ได้
3. ป่าช้าหมอง (หนานเฉาเหว่ย)
หลายคนอาจรู้จักกันในชื่อหนานเฉาเหว่ย
หรือป่าช้าหมอง หรือขันทองพยาบาท
แต่ไม่ว่าจะชื่อไหนผักพื้นบ้านชนิดนี้ก็มีดีที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
โดยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองและผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า
ป่าช้าหมองมีฤทธิ์ลดความเข้มข้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและในคนปกติ
โดยสามารถเคี้ยวใบสด ๆ ของหนานเฉาเหว่ยกินได้เลย
แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกกินใบป่าช้าหมองที่มีขนาดประมาณฝ่ามือ โดยกินไม่เกิน 3 ใบต่อวัน หรือหากเป็นใบใหญ่กว่านั้นก็กินเพียงใบเดียวต่อวัน เพราะฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนานเฉาเหว่ยค่อนข้างแรง หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ โดยเฉพาะในคนที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว รวมทั้งคนที่มีน้ำตาลในเลือดไม่ได้สูงมากนัก ไม่ควรกิน เพราะอาจมีอาการหน้ามืด ใจสั่น จนช็อกได้
หนานเฉาเหว่ย ป่าช้าหมอง สมุนไพรมีของ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกกินใบป่าช้าหมองที่มีขนาดประมาณฝ่ามือ โดยกินไม่เกิน 3 ใบต่อวัน หรือหากเป็นใบใหญ่กว่านั้นก็กินเพียงใบเดียวต่อวัน เพราะฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนานเฉาเหว่ยค่อนข้างแรง หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ โดยเฉพาะในคนที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว รวมทั้งคนที่มีน้ำตาลในเลือดไม่ได้สูงมากนัก ไม่ควรกิน เพราะอาจมีอาการหน้ามืด ใจสั่น จนช็อกได้
4. ใบชะพลู
ใบชะพลูที่เราคุ้นเคยกันดี
โดยเฉพาะคนที่ชอบกินเมี่ยงคำ หรือในห่อหมกก็อาจจะเจอใบชะพลูได้เหมือนกัน
โดยใบชะพลูก็เป็นผักลดน้ำตาลในเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
และช่วยกระตุ้นการนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้อีกด้วย
ทั้งนี้การรับประทานใบชะพลูลดน้ำตาลในเลือด ตำรับแพทย์แผนโบราณแนะนำให้ใช้ชะพลูทั้งต้น (ถอนทั้งราก) จำนวน 7 ต้น มาล้างให้สะอาด จากนั้นนำไปต้มกับน้ำเดือดสักพัก แล้วกรองแต่น้ำมาดื่มเป็นชาชะพลูลดน้ำตาลในเลือด ทว่าก็ควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังดื่มชาใบชะพลูทุกครั้ง เพราะชะพลูมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้เร็วมาก จึงต้องป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสำหรับคนที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่ก่อนแล้ว
ทั้งนี้การรับประทานใบชะพลูลดน้ำตาลในเลือด ตำรับแพทย์แผนโบราณแนะนำให้ใช้ชะพลูทั้งต้น (ถอนทั้งราก) จำนวน 7 ต้น มาล้างให้สะอาด จากนั้นนำไปต้มกับน้ำเดือดสักพัก แล้วกรองแต่น้ำมาดื่มเป็นชาชะพลูลดน้ำตาลในเลือด ทว่าก็ควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังดื่มชาใบชะพลูทุกครั้ง เพราะชะพลูมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้เร็วมาก จึงต้องป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสำหรับคนที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่ก่อนแล้ว
5. ตำลึง
ผักริมรั้วอย่างตำลึงก็ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้นะจ๊ะ
โดยในตำลึงไม่เพียงแต่มีวิตามินเอ แคลเซียมสูง เท่านั้น แต่ยังมีสารเพกติน
(Pectin) คอยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
นอกจากนี้ใบตำลึงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ๆ ด้วยนะคะ
โดยวิธีกินตำลึงลดน้ำตาลในเลือดให้ใช้เถาแก่ของตำลึงประมาณ 1 กำมือ หรือครึ่งถ้วยตวง ล้างให้สะอาดแล้วต้มกับน้ำประมาณ 200 ซี.ซี. หรือจะคั้นน้ำจากผลตำลึงมาดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็ได้เช่นกัน
ตำลึง สรรพคุณไม่ไก่กา แม้เป็นผักริมรั้วธรรมดา แต่สรรพคุณทางยาอย่างเยอะ !โดยวิธีกินตำลึงลดน้ำตาลในเลือดให้ใช้เถาแก่ของตำลึงประมาณ 1 กำมือ หรือครึ่งถ้วยตวง ล้างให้สะอาดแล้วต้มกับน้ำประมาณ 200 ซี.ซี. หรือจะคั้นน้ำจากผลตำลึงมาดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็ได้เช่นกัน
6. กะเพรา
กะเพราเป็นผักให้กลิ่นหอมที่เราคุ้นเคยกันดี
โดยกะเพรามีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจากการทดลองกับหนูทดลองและคน
พบว่า
สารในกะเพรามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในระดับสูงเล็กน้อยจนถึงระดับปานกลางได้
โดยสามารถนำใบกะเพราตากแห้ง 2-5 กรัม มาต้มกับน้ำสะอาด 1 แก้วกาแฟ
และดื่มเป็นประจำทุกวัน
7. ฟักข้าว
ผลการทดลองของประเทศบังกลาเทศ พบว่า
ในผลอ่อนฟักข้าวและใบอ่อนมีสารไกลโคไซด์ (Glycoides)
ซึ่งมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
โดยวิธีกินฟักข้าวลดน้ำตาลในเลือดสามารถดื่มน้ำฟักข้าว
หรือจะนำใบยอดอ่อนของฟักข้าวมาลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย
หรือใส่ในแกงแคก็ได้
ฟักข้าว ประโยชน์ของพืชพื้นบ้านลูกจิ๋ว สรรพคุณแจ๋ว 8. มะเขือพวง
มีงานวิจัยพบว่า
น้ำสมุนไพรมะเขือพวงจากผลมะเขือพวงแห้ง
มีคุณสมบัติลดระดับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์
หรืออนุมูลอิสระไนทริกออกไซด์ในเลือดหนูที่เป็นเบาหวานได้
โดยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานลดลง
แต่ในคนอาจยังไม่มีงานวิจัยชี้ชัดในเรื่องนี้มากนัก
ทว่ามะเขือพวงก็เป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง
ส่วนวิธีกินมะเขือพวงลดน้ำตาลในเลือดให้นำผลมะเขือพวงตากแห้งประมาณ 10 ผล
มาต้มกับน้ำสะอาด 1 แก้ว แล้วดื่มเป็นชามะเขือพวง
9. กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียวที่นิยมนำมากินคู่กับน้ำพริกเป็นผักที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำค่อนข้างสูง
และไฟเบอร์ที่อยู่ในกระเจี๊ยบเขียวนี่แหละค่ะที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด
ทำให้กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักลดน้ำตาลในเลือดอีกทางเลือกหนึ่งที่หากินได้ไม่ยากเลย
แค่นำกระเจี๊ยบเขียวมาหั่นซอย ผสมน้ำเล็กน้อยแล้วคนให้เหนียวไว้รับประทาน
ซึ่งการกินกระเจี๊ยบเขียวที่ไม่ผ่านความร้อนจะได้รับประโยชน์จากไฟเบอร์ในกระเจี๊ยบเขียวอย่างเต็มที่
แต่ถ้ากินสดไม่ได้ แค่นำมาลวกพอสุกแล้วกินแกล้มอาหารชนิดต่าง ๆ
ก็อร่อยและได้ประโยชน์ในการลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน
10. ตดหมู ตดหมา
ใบของตดหมู ตดหมา
มีสารที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินของร่างกาย
จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองลดลงได้ และนอกจากนี้ตดหมู ตดหมา
ยังมีสรรพคุณทางยาอีกหลายขนาน
ตดหมู ตดหมา (กระพังโหม) สรรพคุณน่าฮือฮา ช่วยรักษาเบาหวานได้11. เตยหอม
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ตามตำรับยาไทย รากเตยหอม
(ซึ่งไม่ใช่ใบเตยธรรมดา) ถูกใช้ในตำรับยาลดน้ำตาลในเลือดมานาน
โดยให้ใช้รากเตยหอม 1-2 รากต่อวัน ต้มกับน้ำประมาณ 1-2 ลิตร แล้วดื่ม
แต่ไม่แนะนำให้ดื่มต่างน้ำ ทั้งนี้ควรใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
และควรหมั่นเช็กระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำว่าได้ผลหรือไม่
ที่สำคัญคือหมั่นเช็กอาการตัวเองอยู่เสมอ
เพราะรากเตยหอมอาจไปเสริมฤทธิ์ยาลดน้ำตาลในเลือดจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดจากภาวะน้ำตาลตกได้
12. ใบหม่อน
ใบหม่อนหรือมัลเบอร์รี
มีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดที่ชื่อว่า สาร 1-deoxynojirimsyn
(DNJ) และสารโพลีแซคคาไรด์
ที่ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ซึ่งสารชนิดนี้จะออกมาได้ดีเมื่อนำไปชงแบบชา
โดยเก็บยอดใบหม่อนที่
3-4 มาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที
แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นนำใบหม่อนไปผึ่งให้พอหมาด
ก่อนนำมาคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนกว่าใบชาจะแห้ง
และหากจะดื่มชาใบหม่อนก็นำใบหม่อนแห้งที่ทำไว้ประมาณ 80 กรัม (2-3
ช้อนโต๊ะ) ใส่ในแก้วกาแฟแล้วเติมน้ำร้อนเกือบเต็มแก้ว
รอจนอุ่นแล้วจึงดื่มตามปกติ
5 สรรพคุณของชาใบหม่อน ลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด 13. ใบย่านาง
ใบย่านางมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำอยู่มาก
และยังมีโพลีแซคคาไรด์ ที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือด
จึงมีผลดีต่อการลดน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งยังมีผลการทดลองในหนูที่พบว่า
สารสกัดจากใบย่านางมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในหนูทดลอง
และสามารถลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้
ส่วนการกินใบย่านางสามารถกินใบย่านางในอาหารชนิดต่าง
ๆ หรือจะทำน้ำใบย่านางดื่มก็แล้วแต่สะดวก โดยนำใบย่านาง 10-20 ใบ
มาคั้นกับน้ำประมาณ 1-3 แก้ว
จากนั้นนำน้ำคั้นจากใบย่านางไปต้มแล้วกรองเอากากออกก่อนดื่ม
ใบย่านาง ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน, หมอชาวบ้าน, สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, GotoKnow, ชัวร์ก่อนแชร์, กองการแพทย์ทางเลือก, สสส., คมชัดลึก