“บ้านหมุน หน้ามืด” อาจเป็นสาเหตุโรค “น้ำในหูไม่เท่ากัน” อย่าละเลยจนหูหนวก!!

ใครที่เคยมีอาการหน้ามืด ตื่นนอนมาแล้วเวียนหัว มีอาการหูอื้อ หรือยืนๆ อยู่แล้วบ้านหมุนจนล้มพับ ทรงตัวไม่ได้ นี่ไม่ใช่อาการของคนนพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่คุณอาจจะเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หากคุณเคยมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา หากปล่อยไว้นานคุณอาจสูญเสียการได้ยินไปตลอดกาล เราไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อทำความรู้จักและป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ

สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าทำไมน้ำในหูถึงเกิดการไหลเวียนอย่างผิดปกติ มีแต่ข้อสันนิษฐาน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ การกินอาหารรสเค็มจัด การดูดซึมของน้ำในหูผิดปกติ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ความเครียด เสียงดัง ภูมิแพ้ หรือแม้แต่โรคภัยบางชนิด เช่น ไทรอยด์ ซิฟิลิส เบาหวาน ก็อาจเป็นสาเหตุได้ หรืออาจเกิดจากของเหลวในท่อหูมีปัญหา เช่น น้ำในหูชั้นในคั่ง ทำให้เซลล์ประสาทควบคุมการทรงตัวและการได้ยินทำงำานผิดปกติ จึงเกิดอาการ หูอื้อ บ้านหมุน เวียนหัว

อาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

บางคนหน้ามืดเหมือนยืนอยู่บนเรือที่โคลงเคลง หูอื้อ หูแว่ว อึดอัดในรูหู คลื่นไส้ ปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร อาจเจียน เหงื่อออกมากผิดปกติ สายตาพร่า นอนไม่หลับ บางรายยืนอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกบ้านหมุนทรุดลงฉับพลัน

อาการเวียนหัว บ้านหมุน อาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น

-เวียนหัวแต่ไม่มีอาการหูอื้อ 2-3 วินาที อาจหมายถึง หินปูนชั้นในหลุด

-หูอื้อ บ้านหมุนนานประมาณ 1 นาที อาจหมายถึง สมองขาดเลือดชั่วขณะ

-มีเสียงในหู เวียนหัวบ้าน หูอื้อ นานมากกว่า 1 นาทีหรือเป็นชั่วโมง แปลว่า น้ำในหูไม่เท่ากัน

-ถ้ามีอาการเหล่านี้เป็นวันถึงสัปดาห์ อาจหมายถึง เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ ควรพบพทย์โดยด่วน

รักษาอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาจหายได้เพียงแค่อาการ เวียนหัว มึนหัว อาเจียน แต่ถ้าคนที่เป็นหนักถึงขั้นสูญเสียการได้ยินไปแล้วนั้น จะไม่สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติได้อีก การรักษาทางการแพทย์ส่วนมากจึงทำได้เพียงรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น

เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน นอกจากรักษาทางการแพทย์แล้วต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณร่วมด้วย

-หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง อากาศร้อนอบอ้าว หรือที่ที่มีแสงแดดรุนแรง

-กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ชา กาแฟ บุหรี่ แอลกอฮอล์

-งดอาหารรสเค็มจัด เพื่อปรับระดับโซเดียมและน้ำในร่างกายในสมดุล

-งดอาหารหวาน ไขมันสูง คอเลสตอรอลสูง พวกขนมขบเคี้ยวหรือเนื้อติดมัน

-ห้ามอดนอน อย่าทำงานหรือออกกำลังกายแบบหักโหม

-ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อให้เลือดลมสูบฉีด ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

-ห้ามเครียด หาเวลาผ่อนคลาย ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง แจ่มใส

ขอบคุณข้อมูล : หนังสือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เขียนโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข, goodlifeupdate