โรคพิษสุนัขบ้า
ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไว้ตั้งแต่ก่อนถูกกัด
แถมยังไม่ต้องฉีดเซรุ่มให้เจ็บตัวเหมือนกับกรณีโดนกัดแล้วค่อยมาฉีดวัคซีน
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เราต้องเฝ้าระวังไว้ให้มาก เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษา เป็นขึ้นมาแล้วก็แทบจะเสียชีวิตทุกรายในเวลาเพียงไม่กี่วัน และแม้จะมีชื่อเรียกว่า "พิษสุนัขบ้า" แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเลย ไม่ว่าจะเป็นคน สุนัข แมว หนู ลิง กระรอก ฯลฯ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ตัวเราแทบทั้งนั้นค่ะ บางคนอาจไม่ได้ถูกสัตว์เหล่านี้กัดโดยตรง แต่เพียงแค่ถูกข่วน เลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก หรือน้ำลายมาสัมผัสกับบาดแผลของเรา ก็สุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อเข้าไปแล้ว
ฉะนั้น หากใครคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย ๆ แนะนำให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้าก่อนดีกว่า แต่จะต้องฉีดแบบไหน อย่างไร เรานำข้อมูลมาบอกแล้ว
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ใครควรฉีดล่วงหน้า ?
ในคนบางกลุ่มจะสุ่มเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ง่ายกว่าคนอื่น ดังนั้นถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรคไว้ ก็ช่วยให้อุ่นใจกว่า อย่างเช่น
- เด็กหรือคนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมภายในบ้าน เช่น สุนัข แมว กระรอก
- คนที่อาศัยหรือต้องเดินผ่านบริเวณที่มีสุนัขจรจัด หรือไม่มีเจ้าของอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
- คนที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
- บุคลากรทางการแพทย์ สัตวแพทย์
- เกษตรกรที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์
- คนที่ทำงานกับสัตว์ เช่น ครูฝึกสอนสัตว์เลี้ยง ผู้ดูแลสัตว์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดสัตว์ป่า
- บุรุษไปรษณีย์ พนักงานส่งของ
- นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
นอกจากนี้คนทั่วไปอย่างเรา ๆ หากรู้สึกกังวลก็สามารถไปฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าได้เช่นกันค่ะ
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าต้องฉีดกี่เข็ม ?
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าสามารถฉีดได้ทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อและฉีดเข้าผิวหนัง โดยหากเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้าจะฉีดเพียง 3 เข็ม คือ ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีดวัคซีน), วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และวันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) และเมื่อถูกสุนัขกัด ก็จะฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น
ฉีดวัคซีนล่วงหน้าดีกว่ามาฉีดหลังถูกกัดอย่างไร ?
หากเราถูกกัดขึ้นมาแล้วไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไว้ เราจะต้องมาฉีดวัคซีน 5 เข็ม ในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีดวัคซีน) วันที่ 3, 7, 14 และ 28 และในบางคนที่แผลมีเลือดออกก็จำเป็นต้องฉีดเซรุ่ม (อิมมูโนโกลบูลิน) รอบ ๆ แผลทุกแผลด้วย ซึ่งการฉีดเซรุ่มจะรู้สึกเจ็บปวดกว่าการฉีดวัคซีนทั่วไปมาก และอาจมีอาการแพ้ด้วยนะคะ
แต่ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าไว้แล้ว ก็จะเป็นการเตรียมร่างกายไว้ให้พร้อมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้น ถ้าวันไหนถูกสัตว์กัดขึ้นมา เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1-2 ครั้ง ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มอีก จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการแพ้เซรุ่มและเจ็บปวดจากการถูกฉีดด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการฉีดเซรุ่ม
นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้ายังอาจป้องกันการเกิดโรคได้ในกรณีที่สัมผัสหรือรับเชื้อพิษสุนัขบ้าโดยไม่รู้ตัว เช่น กรณีเด็ก ๆ เล่นกับสัตว์แล้วถูกข่วน ถูกเลีย ถูกกัดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ไม่ได้บอกผู้ปกครอง
ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า มีผลข้างเคียงอันตรายไหม ?
ต้องบอกว่าวัคซีนแบบนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ ค่ะ เพราะทำจากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นวัคซีนตัวเดียวกับที่ฉีดหลังถูกกัด อาการแพ้วัคซีนพบได้น้อยมากและไม่ได้รุนแรงอะไร บางคนอาจเพียงแค่มีอาการเหมือนฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นตุ่มบวมแดง คันบริเวณที่ฉีด ซึ่งกินยาลดไข้ก็ช่วยบรรเทาอาการได้
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 เดือนเป็นต้นไป เมื่อฉีดครบ 3 เข็มแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นเพิ่มเติมใด ๆ อีกหากไม่ได้ถูกสัตว์กัดหรือข่วน
จะไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ที่ไหน ?
สถานพยาบาลหลายแห่งทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน คลินิก อนามัย สถานเสาวภา มักสำรองวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้อยู่แล้ว แต่เพื่อความมั่นใจ แนะนำให้สอบถามก่อนไปรับบริการค่ะ และควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบด้วยว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หากบ้านใครมีสัตว์เลี้ยง อยากแนะนำให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ รวมทั้งนำสัตว์เลี้ยงของตัวเองไปฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน เพื่อที่ทั้งคนและสัตว์จะได้ปลอดภัยจากโรคอันตราย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถานเสาวภา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เราต้องเฝ้าระวังไว้ให้มาก เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษา เป็นขึ้นมาแล้วก็แทบจะเสียชีวิตทุกรายในเวลาเพียงไม่กี่วัน และแม้จะมีชื่อเรียกว่า "พิษสุนัขบ้า" แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเลย ไม่ว่าจะเป็นคน สุนัข แมว หนู ลิง กระรอก ฯลฯ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ตัวเราแทบทั้งนั้นค่ะ บางคนอาจไม่ได้ถูกสัตว์เหล่านี้กัดโดยตรง แต่เพียงแค่ถูกข่วน เลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก หรือน้ำลายมาสัมผัสกับบาดแผลของเรา ก็สุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อเข้าไปแล้ว
ฉะนั้น หากใครคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย ๆ แนะนำให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้าก่อนดีกว่า แต่จะต้องฉีดแบบไหน อย่างไร เรานำข้อมูลมาบอกแล้ว
ในคนบางกลุ่มจะสุ่มเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ง่ายกว่าคนอื่น ดังนั้นถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรคไว้ ก็ช่วยให้อุ่นใจกว่า อย่างเช่น
- เด็กหรือคนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมภายในบ้าน เช่น สุนัข แมว กระรอก
- คนที่อาศัยหรือต้องเดินผ่านบริเวณที่มีสุนัขจรจัด หรือไม่มีเจ้าของอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
- คนที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
- บุคลากรทางการแพทย์ สัตวแพทย์
- เกษตรกรที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์
- คนที่ทำงานกับสัตว์ เช่น ครูฝึกสอนสัตว์เลี้ยง ผู้ดูแลสัตว์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดสัตว์ป่า
- บุรุษไปรษณีย์ พนักงานส่งของ
- นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
นอกจากนี้คนทั่วไปอย่างเรา ๆ หากรู้สึกกังวลก็สามารถไปฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าได้เช่นกันค่ะ
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าสามารถฉีดได้ทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อและฉีดเข้าผิวหนัง โดยหากเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้าจะฉีดเพียง 3 เข็ม คือ ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีดวัคซีน), วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และวันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) และเมื่อถูกสุนัขกัด ก็จะฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น
ฉีดวัคซีนล่วงหน้าดีกว่ามาฉีดหลังถูกกัดอย่างไร ?
หากเราถูกกัดขึ้นมาแล้วไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไว้ เราจะต้องมาฉีดวัคซีน 5 เข็ม ในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีดวัคซีน) วันที่ 3, 7, 14 และ 28 และในบางคนที่แผลมีเลือดออกก็จำเป็นต้องฉีดเซรุ่ม (อิมมูโนโกลบูลิน) รอบ ๆ แผลทุกแผลด้วย ซึ่งการฉีดเซรุ่มจะรู้สึกเจ็บปวดกว่าการฉีดวัคซีนทั่วไปมาก และอาจมีอาการแพ้ด้วยนะคะ
แต่ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าไว้แล้ว ก็จะเป็นการเตรียมร่างกายไว้ให้พร้อมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้น ถ้าวันไหนถูกสัตว์กัดขึ้นมา เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1-2 ครั้ง ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มอีก จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการแพ้เซรุ่มและเจ็บปวดจากการถูกฉีดด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการฉีดเซรุ่ม
นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้ายังอาจป้องกันการเกิดโรคได้ในกรณีที่สัมผัสหรือรับเชื้อพิษสุนัขบ้าโดยไม่รู้ตัว เช่น กรณีเด็ก ๆ เล่นกับสัตว์แล้วถูกข่วน ถูกเลีย ถูกกัดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ไม่ได้บอกผู้ปกครอง
ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า มีผลข้างเคียงอันตรายไหม ?
ต้องบอกว่าวัคซีนแบบนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ ค่ะ เพราะทำจากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นวัคซีนตัวเดียวกับที่ฉีดหลังถูกกัด อาการแพ้วัคซีนพบได้น้อยมากและไม่ได้รุนแรงอะไร บางคนอาจเพียงแค่มีอาการเหมือนฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นตุ่มบวมแดง คันบริเวณที่ฉีด ซึ่งกินยาลดไข้ก็ช่วยบรรเทาอาการได้
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 เดือนเป็นต้นไป เมื่อฉีดครบ 3 เข็มแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นเพิ่มเติมใด ๆ อีกหากไม่ได้ถูกสัตว์กัดหรือข่วน
จะไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ที่ไหน ?
สถานพยาบาลหลายแห่งทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน คลินิก อนามัย สถานเสาวภา มักสำรองวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้อยู่แล้ว แต่เพื่อความมั่นใจ แนะนำให้สอบถามก่อนไปรับบริการค่ะ และควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบด้วยว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หากบ้านใครมีสัตว์เลี้ยง อยากแนะนำให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ รวมทั้งนำสัตว์เลี้ยงของตัวเองไปฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน เพื่อที่ทั้งคนและสัตว์จะได้ปลอดภัยจากโรคอันตราย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถานเสาวภา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์