กลิ่นหอมในวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน อันตรายที่มากับความหอม

โดยส่วนใหญ่แล้วผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายมักมีกลิ่นฉุนหรือมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งกลิ่นเหล่านั้นอาจจะมาจากตัวสารออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์เอง หรือสารเคมีที่ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นตัวทําละลาย จึงเป็นเหตุให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลงและสัตว์อื่น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค และผลิตภัณฑ์ ทําความสะอาดและผลิตภัณฑ์อุปโภคทั่วไป พยายามพัฒนากลิ่นของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ซึ่งอาจแบ่งวิธีการจัดการกับกลิ่นในผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ

    1. การเติมสารแต่งกลิ่นในผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เพื่อกลบกลิ่นสารออกฤทธิ์หรือกลิ่นของสารเคมี ซึ่งมีกลิ่นฉุนหรือกลิ่นรุนแรง หรือกลบกลิ่นจากคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น กลิ่นไหม้จากการเผาไหม้ของยาจุดกันยุง โดยสารแต่งกลิ่นที่นิยมใช้มักเป็นน้ํามันหอมระเหยสกัดจากพืชธรรมชาติ หรือสารสกัดที่เกิดจากการปรุงแต่งเพื่อเลียนแบบธรรมชาติหรือกลิ่นน้ําหอมสังเคราะห์อื่น ๆ ได้แก่ กลิ่นดอกไม้ เช่น กลิ่นกุหลาบ กลิ่นซากุระ หรือ กลิ่นของพืชหอม เช่นกลิ่นตะไคร้หอม เป็นต้น ทั้งนี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่อนุญาตให้แต่งกลิ่นผลไม้ในผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงและผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคที่มีกรดเป็นสารสําคัญหรือในผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรดหรือด่างรุนแรง

    2. การเลือกใช้สารเคมีที่มีกลิ่นอ่อน เพื่อลดความรุนแรงของกลิ่นผลิตภัณฑ์ให้น้อยลง โดยเฉพาะสารเคมีที่ทําหน้าที่เป็นตัวทําละลาย เช่น การผลิตสเปรย์กระป๋องฉีดยุงหรือแมลง ซึ่งมีการพัฒนาสูตรให้เป็นสูตรที่มีตัวทําละลายเป็นน้ํา

    ปัจจุบันผู้ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายมีความคิดผิด ๆ ในเรื่องของความเป็นอันตรายว่า ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุน หรือมีกลิ่นอ่อนมีความเป็นอันตรายน้อย หรือไม่อันตรายเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นเหม็นฉุนหรือกลิ่นรุนแรง ส่วนหนึ่งเกิดจากรูปแบบของการโฆษณาผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในปัจจุบัน ทําให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่องของความปลอดภัย เช่น การแสดงท่าทางการสูดดมพร้อมกับกล่าวคําที่สื่อให้ ผู้ชมรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์หอมน่าดม หรือการแสดงข้อความที่สื่อให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ทําจากสารธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงสูตรเติมกลิ่น ซึ่งเป็นน้ํามันหอมระเหยสกัดจากพืชธรรมชาติเท่านั้น กลิ่นหอมต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะจูงใจให้ผู้บริโภคมีการใช้ผลิตภัณฑ์หรือสูดดมกลิ่นของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายมากกว่าปกติ จนละเลยที่จะทําตามคําแนะนําที่ปรากฏอยู่บนฉลากจนอาจทําให้เกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เพราะในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุน หรือมีกลิ่นอ่อน ไม่ได้มีความเป็นอันตรายน้อยกว่า ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงกลิ่นเลย ที่สําคัญที่สุดในการป้องกันอันตรายจากการใช้งาน ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน คือ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช์ในบ้านเรือน ควรเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. และปฏิบัติตามวิธีการใช้ที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด และพึงระลึกไว้เสมอว่าผลิตภัณฑ์ที่กําลังใช้อยู่นั้นเป็นวัตถุอันตราย กลิ่นหอมที่สูดดมเข้าไปนั้นก็เป็นอันตรายเช่นกัน จึงต้องอ่านฉลากให้ละเอียดและศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจก่อน เพื่อจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนั้น ๆ ได้อย่างปลอดภัย




สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา.