เป็นโรคกระเพาะไม่ควรกินอะไรบ้าง
คนเป็นโรคกระเพาะที่ไม่อยากใช้ชีวิตร่วมกับโรคนี้นาน ๆ ต้องรู้ว่า
ถ้าเป็นโรคกระเพาะควรกินอาหารยังไงดี
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคยอดฮิตของคนในยุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนักศึกษาและวัยทำงาน ที่บางครั้งชีวิตอันเร่งรีบอาจทำให้เราดูแลตัวเองได้ไม่ดีนัก เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา หรือเก็บเรื่องเรียนเรื่องงานไปเครียด จนทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารแล้ว ในเวลาที่อาการของโรคสำแดงฤทธิ์เดชออกมา มันก็ทรมานใช่ย่อยจริงไหมคะ ดังนั้นคนเป็นโรคกระเพาะควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้ดี อย่างวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรกิน รวมไปถึงเป็นโรคกระเพาะกินอะไรได้บ้าง อาการจะได้ไม่กำเริบ มาบอกกัน แถมเผลอ ๆ หายไวไปอีก
เป็นโรคกระเพาะห้ามกินอะไรบ้าง
1. อาหารรสจัด
อาหารรสจัดอันได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด รสเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด อาหารรสจัดเหล่านี้จะกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดท้องข้างซ้าย จุกเสียดท้องได้
2. ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
เป็นข้อสงสัยอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ในประเด็นคนเป็นโรคกระเพาะกินกาแฟได้ไหม เป็นโรคกระเพาะกินชาได้หรือเปล่า คำตอบคือถ้าไม่อยากให้อาการโรคกระเพาะกำเริบ หรือกลับมาเป็นโรคกระเพาะซ้ำแล้วซ้ำเล่า ควรห่างจากชากาแฟสักพักใหญ่ ๆ เลยค่ะ เนื่องจากกาแฟและชาชนิดต่าง ๆ เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งเจ้าคาเฟอีนนี่แหละตัวกระตุ้นให้กระเพาะผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น กัดกระเพาะเราจนรู้สึกแสบท้องไปอีก รวมทั้งช็อกโกแลตร้อน ๆ และอาหารที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลตก็ต้องงดไปก่อน
3. น้ำอัดลม
น้ำอัดลมทุกชนิดก็มีคาเฟอีนผสมอยู่ในจำนวนไม่น้อย อีกทั้งในน้ำอัดลมยังมีแก๊สที่ส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องเนื่องจากแก๊สในกระเพาะเยอะ สรุปง่าย ๆ ว่านอกจากคาเฟอีนในน้ำอัดลมจะเป็นตัวเร่งให้เซลล์ผลิตน้ำย่อยแล้ว ในน้ำอัดลมยังอุดมไปด้วยแก๊ส ต้นเหตุของอาหารท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย โดยเฉพาะคนที่ดื่มน้ำอัดลมในขณะท้องว่าง อาการแสบท้อง แน่นท้อง อันเป็นหนึ่งในอาการของโรคกระเพาะก็จะถามหาอย่างทันควันเลยล่ะ
4. เครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มชูกำลังทุกชนิดมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่เช่นกันค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคกระเพาะอยู่แล้วก็ควรงดเครื่องดื่มชูกำลังไปด้วยนะจ๊ะ
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุรา เบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทลชนิดต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ท้องว่าง เคสนี้อันตรายมากสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเลยนะคะ อาจเกิดอาการแสบท้องหนักมาก ดังนั้นถ้าไม่อยากทรมาน คนเป็นโรคกระเพาะอาหารก็ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลยจะดีกว่า
6. อาหารไขมันสูง ของทอด
อาหารไขมันสูงเป็นอาหารที่ย่อยยาก กระเพาะจึงจำเป็นต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมันในปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบให้กับคนที่เป็นโรคกระเพาะรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด และแสบท้องเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้นของทอด อาหารมัน ๆ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ จึงควรเลี่ยงไว้เป็นดี
7. ของหมักดอง
อาหารประเภทหมักดองทุกชนิดมักจะมีรสเปรี้ยว รวมทั้งมีความเป็นกรดซ่อนอยู่ในนั้น คนเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากของรสจัด อาหารหมักดองจะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ทำให้กระเพาะอาหารเกิดความระคายเคืองขึ้นได้
8. ผลิตภัณฑ์จากถั่ว
ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วอย่างน้ำเต้าหู้ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ก็เป็นอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและอยากหาย แนะนำให้เลี่ยงผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกชนิด ทุกรูปแบบไปก่อนเลยค่ะ
9. ผักดิบ
ผักเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ระบบลำไส้และการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นก็จริง ทว่าในกรณีที่กินผักดิบ ผักบางชนิดอาจเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ปั่นอาการโรคกระเพาะให้กำเริบขึ้นมาได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะผักดิบอย่างถั่วฝักยาว บรอกโคลี กะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง มันเทศ และหัวหอม คนเป็นโรคกระเพาะกินผักเหล่านี้แบบดิบ ๆ อาจไม่ค่อยสบายท้องสักเท่าไรนะคะ
10. ผลไม้รสเปรี้ยว
โดยเฉพาะในตอนท้องว่าง ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะควรงดการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวอย่างสับปะรด ส้ม หรือมะนาว เพราะความเป็นกรดในผลไม้เหล่านี้อาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้
11. เนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ
เนื้อสัตว์อย่างเนื้อหมู เนื้อวัว เป็นอาหารที่ย่อยยากอยู่แล้ว และหากกินเนื้อสัตว์แบบสุกไม่พอ กินแบบสุก ๆ ดิบ ๆ กระเพาะอาหารก็จะย่อยเนื้อสัตว์เหล่านี้ได้ยากขึ้น น้ำย่อยก็จะหลั่งออกมาย่อยอาหารเหล่านี้มากกว่าปกติ และใช้เวลาย่อยอาหารประเภทนี้นาน เสี่ยงทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้เช่นกัน
ใครที่เป็นโรคกระเพาะอยู่ และไม่อยากทรมานจากอาการโรคกระเพาะมากไปกว่านี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหาร 10 ชนิดที่เราได้ลิสต์ไว้เบื้องต้น หรือหากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ อย่างน้อยก็ควรลดปริมาณการกินลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็แล้วกันนะคะ
เป็นโรคกระเพาะ ควรกินอะไรดี
เมื่อมีอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรกิน ก็ย่อมต้องมีอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะควรกิน เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะเช่นกัน ซึ่งอาหารสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะก็มีดังต่อไปนี้เลยค่ะ
1. อาหารย่อยง่าย
คนเป็นโรคกระเพาะควรกินอาหารย่อยง่ายอย่างเนื้อปลา เนื้อไก่ กุ้ง ซึ่งจะย่อยได้ง่ายกว่าเนื้อวัวและเนื้อหมู อีกทั้งเวลากินเนื้อสัตว์หรืออาหารทุกชนิดก็ควรเคี้ยวให้ละเอียด เพื่อช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมาไม่มากจนก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
2. โยเกิร์ต
มีประเด็นสงสัยกันอยู่พอสมควรว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารกินโยเกิร์ตได้หรือไม่ ซึ่งก็มีงานวิจัยที่เผยว่า คนเป็นโรคกระเพาะสามารถกินโยเกิร์ตได้ โดยจากการศึกษาพบว่า ในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ชนิดดีซึ่งช่วยลดแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะเชื้อแบคทัเรียนี้มีฤทธิ์ทำให้ผนังกระเพาะอาหารอ่อนแอลง หรือสามารถทำให้แผลที่หายแล้วเกิดเป็นแผลซ้ำอีกได้ ดังนั้นการรับประทานโยเกิร์ตจึงช่วยลดปริมาณแบคทีเรียชนิดที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดี ส่งผลให้กระเพาะอาหารและการทำงานของระบบลำไส้ดีขึ้นได้ด้วย
ทว่าสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะอาหารก็ควรรับประทานผลิตภัณฑ์ประเภทนมอย่างเหมาะสม คือกินในปริมาณปกติ คือกินโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วย ดื่มนมวันละ 1 แก้ว เท่านั้นก็พอ ไม่จำเป็นต้องดื่มนมหรือกินโยเกิร์ตให้มากขึ้น เพราะในผลิตภัณฑ์นมก็มีโปรตีนค่อนข้างสูง ซึ่งอาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมามากขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมอย่างเหมาะสมนั่นตามที่บอกไปนั่นเอง
3. กล้วย
ในเนื้อและเปลือกกล้วยมีเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้ลำไส้เล็กบีบตัวมากขึ้น จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยวิธีใช้ก็แค่นำกล้วยน้ำว้าดิบที่แก่จัดทั้งลูก (ทั้งเปลือก) นำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นขวางลูกเป็นชิ้นบาง ๆ เหมือนหั่นแตงกวาใส่ข้าวผัด เสร็จแล้วนำไปเกลี่ยใส่ถาด อย่าให้ชิ้นกล้วยซ้อนกันมากนัก ตากแดดจัด ๆ สักสามแดด แล้วจึงนำมาใส่ครกตำให้ละเอียด โดยนำมาตำในขณะเก็บจากแดดใหม่ ๆ เพราะกล้วยยังกรอบอยู่จะทำให้ตำละเอียดง่าย จากนั้นเก็บใส่ขวดปากกว้างที่มีฝาปิดได้สนิท ใช้ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำค่อนแก้วกินหลังอาหารทุกมื้อ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรใกล้ตัวอีกหลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความด้านล่างนี้เลยค่ะ
- 10 สมุนไพรใกล้ตัว บรรเทาโรคกระเพาะได้ชัวร์ไม่ต้องทนกินยา
ทั้งนี้คนเป็นโรคกระเพาะอาหารควรต้องดูแลตัวเองให้ดี และควรมีวินัยในการรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลา กินผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มากขึ้น งดสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังกาย อีกทั้งไม่ควรกินยาโดยซื้อมากินเอง โดยเฉพาะยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน ซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
healthline
niddk.nih.gov
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคยอดฮิตของคนในยุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนักศึกษาและวัยทำงาน ที่บางครั้งชีวิตอันเร่งรีบอาจทำให้เราดูแลตัวเองได้ไม่ดีนัก เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา หรือเก็บเรื่องเรียนเรื่องงานไปเครียด จนทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารแล้ว ในเวลาที่อาการของโรคสำแดงฤทธิ์เดชออกมา มันก็ทรมานใช่ย่อยจริงไหมคะ ดังนั้นคนเป็นโรคกระเพาะควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้ดี อย่างวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรกิน รวมไปถึงเป็นโรคกระเพาะกินอะไรได้บ้าง อาการจะได้ไม่กำเริบ มาบอกกัน แถมเผลอ ๆ หายไวไปอีก
เป็นโรคกระเพาะห้ามกินอะไรบ้าง
1. อาหารรสจัด
อาหารรสจัดอันได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด รสเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด อาหารรสจัดเหล่านี้จะกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดท้องข้างซ้าย จุกเสียดท้องได้
2. ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
เป็นข้อสงสัยอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ในประเด็นคนเป็นโรคกระเพาะกินกาแฟได้ไหม เป็นโรคกระเพาะกินชาได้หรือเปล่า คำตอบคือถ้าไม่อยากให้อาการโรคกระเพาะกำเริบ หรือกลับมาเป็นโรคกระเพาะซ้ำแล้วซ้ำเล่า ควรห่างจากชากาแฟสักพักใหญ่ ๆ เลยค่ะ เนื่องจากกาแฟและชาชนิดต่าง ๆ เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งเจ้าคาเฟอีนนี่แหละตัวกระตุ้นให้กระเพาะผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น กัดกระเพาะเราจนรู้สึกแสบท้องไปอีก รวมทั้งช็อกโกแลตร้อน ๆ และอาหารที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลตก็ต้องงดไปก่อน
3. น้ำอัดลม
น้ำอัดลมทุกชนิดก็มีคาเฟอีนผสมอยู่ในจำนวนไม่น้อย อีกทั้งในน้ำอัดลมยังมีแก๊สที่ส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องเนื่องจากแก๊สในกระเพาะเยอะ สรุปง่าย ๆ ว่านอกจากคาเฟอีนในน้ำอัดลมจะเป็นตัวเร่งให้เซลล์ผลิตน้ำย่อยแล้ว ในน้ำอัดลมยังอุดมไปด้วยแก๊ส ต้นเหตุของอาหารท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย โดยเฉพาะคนที่ดื่มน้ำอัดลมในขณะท้องว่าง อาการแสบท้อง แน่นท้อง อันเป็นหนึ่งในอาการของโรคกระเพาะก็จะถามหาอย่างทันควันเลยล่ะ
4. เครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มชูกำลังทุกชนิดมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่เช่นกันค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคกระเพาะอยู่แล้วก็ควรงดเครื่องดื่มชูกำลังไปด้วยนะจ๊ะ
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุรา เบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทลชนิดต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ท้องว่าง เคสนี้อันตรายมากสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเลยนะคะ อาจเกิดอาการแสบท้องหนักมาก ดังนั้นถ้าไม่อยากทรมาน คนเป็นโรคกระเพาะอาหารก็ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลยจะดีกว่า
อาหารไขมันสูงเป็นอาหารที่ย่อยยาก กระเพาะจึงจำเป็นต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมันในปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบให้กับคนที่เป็นโรคกระเพาะรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด และแสบท้องเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้นของทอด อาหารมัน ๆ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ จึงควรเลี่ยงไว้เป็นดี
7. ของหมักดอง
อาหารประเภทหมักดองทุกชนิดมักจะมีรสเปรี้ยว รวมทั้งมีความเป็นกรดซ่อนอยู่ในนั้น คนเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากของรสจัด อาหารหมักดองจะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ทำให้กระเพาะอาหารเกิดความระคายเคืองขึ้นได้
8. ผลิตภัณฑ์จากถั่ว
ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วอย่างน้ำเต้าหู้ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ก็เป็นอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและอยากหาย แนะนำให้เลี่ยงผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกชนิด ทุกรูปแบบไปก่อนเลยค่ะ
9. ผักดิบ
ผักเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ระบบลำไส้และการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นก็จริง ทว่าในกรณีที่กินผักดิบ ผักบางชนิดอาจเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ปั่นอาการโรคกระเพาะให้กำเริบขึ้นมาได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะผักดิบอย่างถั่วฝักยาว บรอกโคลี กะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง มันเทศ และหัวหอม คนเป็นโรคกระเพาะกินผักเหล่านี้แบบดิบ ๆ อาจไม่ค่อยสบายท้องสักเท่าไรนะคะ
10. ผลไม้รสเปรี้ยว
โดยเฉพาะในตอนท้องว่าง ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะควรงดการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวอย่างสับปะรด ส้ม หรือมะนาว เพราะความเป็นกรดในผลไม้เหล่านี้อาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้
11. เนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ
เนื้อสัตว์อย่างเนื้อหมู เนื้อวัว เป็นอาหารที่ย่อยยากอยู่แล้ว และหากกินเนื้อสัตว์แบบสุกไม่พอ กินแบบสุก ๆ ดิบ ๆ กระเพาะอาหารก็จะย่อยเนื้อสัตว์เหล่านี้ได้ยากขึ้น น้ำย่อยก็จะหลั่งออกมาย่อยอาหารเหล่านี้มากกว่าปกติ และใช้เวลาย่อยอาหารประเภทนี้นาน เสี่ยงทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้เช่นกัน
ใครที่เป็นโรคกระเพาะอยู่ และไม่อยากทรมานจากอาการโรคกระเพาะมากไปกว่านี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหาร 10 ชนิดที่เราได้ลิสต์ไว้เบื้องต้น หรือหากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ อย่างน้อยก็ควรลดปริมาณการกินลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็แล้วกันนะคะ
เป็นโรคกระเพาะ ควรกินอะไรดี
เมื่อมีอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรกิน ก็ย่อมต้องมีอาหารที่คนเป็นโรคกระเพาะควรกิน เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะเช่นกัน ซึ่งอาหารสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะก็มีดังต่อไปนี้เลยค่ะ
1. อาหารย่อยง่าย
คนเป็นโรคกระเพาะควรกินอาหารย่อยง่ายอย่างเนื้อปลา เนื้อไก่ กุ้ง ซึ่งจะย่อยได้ง่ายกว่าเนื้อวัวและเนื้อหมู อีกทั้งเวลากินเนื้อสัตว์หรืออาหารทุกชนิดก็ควรเคี้ยวให้ละเอียด เพื่อช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมาไม่มากจนก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
2. โยเกิร์ต
มีประเด็นสงสัยกันอยู่พอสมควรว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารกินโยเกิร์ตได้หรือไม่ ซึ่งก็มีงานวิจัยที่เผยว่า คนเป็นโรคกระเพาะสามารถกินโยเกิร์ตได้ โดยจากการศึกษาพบว่า ในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ชนิดดีซึ่งช่วยลดแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะเชื้อแบคทัเรียนี้มีฤทธิ์ทำให้ผนังกระเพาะอาหารอ่อนแอลง หรือสามารถทำให้แผลที่หายแล้วเกิดเป็นแผลซ้ำอีกได้ ดังนั้นการรับประทานโยเกิร์ตจึงช่วยลดปริมาณแบคทีเรียชนิดที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดี ส่งผลให้กระเพาะอาหารและการทำงานของระบบลำไส้ดีขึ้นได้ด้วย
ทว่าสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะอาหารก็ควรรับประทานผลิตภัณฑ์ประเภทนมอย่างเหมาะสม คือกินในปริมาณปกติ คือกินโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วย ดื่มนมวันละ 1 แก้ว เท่านั้นก็พอ ไม่จำเป็นต้องดื่มนมหรือกินโยเกิร์ตให้มากขึ้น เพราะในผลิตภัณฑ์นมก็มีโปรตีนค่อนข้างสูง ซึ่งอาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมามากขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมอย่างเหมาะสมนั่นตามที่บอกไปนั่นเอง
3. กล้วย
ในเนื้อและเปลือกกล้วยมีเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้ลำไส้เล็กบีบตัวมากขึ้น จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยวิธีใช้ก็แค่นำกล้วยน้ำว้าดิบที่แก่จัดทั้งลูก (ทั้งเปลือก) นำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นขวางลูกเป็นชิ้นบาง ๆ เหมือนหั่นแตงกวาใส่ข้าวผัด เสร็จแล้วนำไปเกลี่ยใส่ถาด อย่าให้ชิ้นกล้วยซ้อนกันมากนัก ตากแดดจัด ๆ สักสามแดด แล้วจึงนำมาใส่ครกตำให้ละเอียด โดยนำมาตำในขณะเก็บจากแดดใหม่ ๆ เพราะกล้วยยังกรอบอยู่จะทำให้ตำละเอียดง่าย จากนั้นเก็บใส่ขวดปากกว้างที่มีฝาปิดได้สนิท ใช้ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำค่อนแก้วกินหลังอาหารทุกมื้อ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรใกล้ตัวอีกหลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความด้านล่างนี้เลยค่ะ
- 10 สมุนไพรใกล้ตัว บรรเทาโรคกระเพาะได้ชัวร์ไม่ต้องทนกินยา
ทั้งนี้คนเป็นโรคกระเพาะอาหารควรต้องดูแลตัวเองให้ดี และควรมีวินัยในการรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลา กินผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มากขึ้น งดสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังกาย อีกทั้งไม่ควรกินยาโดยซื้อมากินเอง โดยเฉพาะยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน ซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
healthline
niddk.nih.gov