กว่าจะมาเป็นผ้าอนามัยแถบกาวอย่างทุกวันนี้
หญิงไทยสมัยก่อนลองผิดลองถูกกับผ้าอนามัยมาหลากหลายแบบ ตั้งแต่การ
ขี่ม้า...โกเต๊ก จนมาถึงผ้าอนามัยแถบกาวในยุคปัจจุบัน
ถ้าสงสัยว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ผ้าอนามัยแบบไหนกัน วันนี้กระปุกดอทคอมจะขอพาทุกท่านย้อนไปดูวิวัฒนาการผ้าอนามัยในแต่ละยุคสมัย พร้อมศึกษาประวัติผ้าอนามัยตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่มีในไทย ไล่มาจนถึงผ้าอนามัยในยุคนี้เลยค่ะ
ผ้าขี่ม้า
ผ้าขี่ม้า จริง ๆ แล้วก็คือผ้าอนามัยทำมือ ที่หญิงไทยสมัยโบราณจะทำผ้าขี่ม้าขึ้นมาใส่ในช่วงมีระดู โดยผ้าขี่ม้าจะมีลักษณะเป็นผ้าหลาย ๆ ชั้นพับทบกัน ด้านในจะใส่ใยมะพร้าวที่แช่น้ำจนนุ่ม หรือใยนุ่น แกลบ กระดาษฟาง หรือขี้เถ้าผสมแกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการซึมซับประจำเดือนให้ผ้าขี่ม้านั่นเอง
ส่วนชื่อ "ผ้าขี่ม้า" มีที่มาจากลักษณะการสวมใส่ ซึ่งจะต้องนำผ้ามาผูกไว้ตรงหว่างขา แล้วใช้เชือกฟางหรือเชือกกล้วยผูกกับเอวให้แน่น เสร็จแล้วจึงจะนุ่งโจงกระเบนทับอีกชั้น เสมือนการขี่ม้านั่นเอง
ผ้าซับระดู
ต่อมาการใช้กาบมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ๆ มาช่วยซึมซับก็ดูจะยุ่งยากเกินไป หญิงไทยในยุคหลัง ๆ จึงเลิกใช้ผ้าขี่ม้า แล้วประยุกต์ใช้ผ้าหลาย ๆ ผืนซ้อนทับกัน แล้วสวมผ้าในลักษณะคล้าย ๆ การขี่ม้า และเรียกสิ่งนี้ว่า ผ้าซับระดู ซึ่งจะมีข้อดีคือสามารถซักและนำมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งวัสดุอย่างผ้ายังช่วยซึมซับเลือดประจำเดือนได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือไม่สามารถดับกลิ่นคาวเลือดได้
ผ้าซับระดูสำเร็จรูป
ภาพจาก The Original Museum of Menstruation in Harry Finley's House Basement
ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยมีผ้าซับระดูสำเร็จรูปวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากผ้าซับระดูสำเร็จรูปมีราคาสูง ดังนั้นจึงนิยมใช้กันในกลุ่มหญิงมีฐานะเท่านั้น
โกเต๊ก ผ้าอนามัยแบบมีห่วงคล้องเอว
ภาพจาก medicaldaily
โกเต๊ก เป็นผ้าอนามัยยี่ห้อแรกที่เข้ามาในไทย ในช่วงปลาย ๆ รัชกาลที่ 6 ย่างเข้าสมัยรัชกาลที่ 7 ทำให้หลายคนติดปากเรียกแทนผ้าอนามัยทุกยี่ห้อว่า โกเต๊ก ซึ่งโกเต๊กเป็นผ้าอนามัยแบบมีห่วงคล้องเอว และมีตะขอเกี่ยวสองด้านกับตัวผ้าอนามัย เพิ่มความสะดวกสบายให้กับสาว ๆ ในการสวมใส่ ซึ่งในปัจุบันโกเต๊กก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังคงมีโกเต๊ก หรือผ้าอนามัยแบบห่วงให้ใช้กันอยู่ถึงวันนี้
ภาพจาก owlcation.com
ผ้าอนามัยแถบกาว
วิวัฒนาการผ้าอนามัยเริ่มมีมาเรื่อย ๆ
จากผ้าอนามัยที่ค่อนข้างหนา เนื่องจากใช้ผ้าสำลีหรือใยฝ้ายช่วยซึมซับ
อีกทั้งยังเป็นแบบห่วงรัดเอวที่อาจไม่คล่องตัวเท่าไร ในช่วงราว ๆ ปี พ.ศ.
2523 สาวไทยก็เริ่มมีโอกาสได้ใช้ผ้าอนามัยแถบกาวครั้งแรก
และก็ได้พัฒนาแผ่นซึมซับเป็นแผ่นเจล
ทำให้ผ้าอนามัยมีความบางแต่ยังคงซึมซับได้ดี
จนกระทั่งทุกวันนี้ที่มีผ้าอนามัยบางเฉียบแถมมีปีกให้สาว ๆ
ได้เลือกใช้อย่างสะดวกสบายหลายยี่ห้อ
ผ้าอนามัยแบบสอด
ผ้าอนามัยแบบสอดหรือ แทมปอน (Tampon) เป็นผ้าอนามัยชนิดแท่ง วิธีใช้ก็สอดใส่เข้าไปในช่องคลอด ข้อดีคือสามารถใส่ว่ายน้ำได้ หรือสำหรับสาว ๆ ที่ชอบใส่เสื้อผ้าแนบเนื้อ การใส่ผ้าอนามัยแบบสอดก็จะสะดวกและเพิ่มความมั่นใจให้ได้มากกว่า ทว่าผ้าอนามัยแบบสอดก็มีข้อแนะนำในการใช้อย่างปลอดภัยและถูกวิธีด้วยนะคะ
- ผ้าอนามัยแบบสอด เรื่องน่ารู้สำหรับคุณสาว ๆ
ผ้าอนามัยแบบถ้วย
ถ้วยอนามัย (Menstrual Cup) หรือ ถ้วยประจำเดือน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรองรับเลือดประจำเดือนในช่วงเป็นประจำเดือน ทำจากซิลิโคนหรือยางชนิดนิ่ม มีลักษณะเป็นเหมือนถ้วยทรงกรวย มีหลายขนาด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วขนาดของถ้วยประจำเดือนจะขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือนของผู้ใช้ หากผู้ใช้มีประจำเดือนมามากก็เลือกขนาดใหญ่เพื่อให้ถ้วยสามารถรองรับปริมาณเลือดประจำเดือนได้พอดี แต่ถ้าหากประจำเดือนมาน้อยก็สามารถใช้ขนาดเล็กได้
อีกทั้งถ้วยอนามัยยังมีทั้งแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้แล้วล้างทำความสะอาด นำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือถ้วยอนามัยชนิดที่มีอายุการใช้งานยาวถึง 10 ปีก็มีเช่นกัน
วิวัฒนาการของผ้าอนามัยก็ต้องเรียกว่ามาไกลจริง ๆ นะคะ ซึ่งจุดนี้ก็ต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยให้เรามีผ้าอนามัยสะดวกใช้ สะอาด และปลอดภัยต่อสุขภาพกันถ้วนหน้า แต่อย่างไรก็ดี สาว ๆ หลายคนอาจยังรู้วิธีใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้องไม่ครบถ้วน กระปุกดอทคอมเลยขอแนบบทความน่ารู้สำหรับสาว ๆ ที่ต้องใช้ผ้าอนามัยเป็นประจำทุกเดือนมาให้อ่านค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ทวิตเตอร์ i_winnn
exteen
medicaldaily
owlcation
ถ้าสงสัยว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ผ้าอนามัยแบบไหนกัน วันนี้กระปุกดอทคอมจะขอพาทุกท่านย้อนไปดูวิวัฒนาการผ้าอนามัยในแต่ละยุคสมัย พร้อมศึกษาประวัติผ้าอนามัยตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่มีในไทย ไล่มาจนถึงผ้าอนามัยในยุคนี้เลยค่ะ
ผ้าขี่ม้า
ผ้าขี่ม้า จริง ๆ แล้วก็คือผ้าอนามัยทำมือ ที่หญิงไทยสมัยโบราณจะทำผ้าขี่ม้าขึ้นมาใส่ในช่วงมีระดู โดยผ้าขี่ม้าจะมีลักษณะเป็นผ้าหลาย ๆ ชั้นพับทบกัน ด้านในจะใส่ใยมะพร้าวที่แช่น้ำจนนุ่ม หรือใยนุ่น แกลบ กระดาษฟาง หรือขี้เถ้าผสมแกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการซึมซับประจำเดือนให้ผ้าขี่ม้านั่นเอง
ส่วนชื่อ "ผ้าขี่ม้า" มีที่มาจากลักษณะการสวมใส่ ซึ่งจะต้องนำผ้ามาผูกไว้ตรงหว่างขา แล้วใช้เชือกฟางหรือเชือกกล้วยผูกกับเอวให้แน่น เสร็จแล้วจึงจะนุ่งโจงกระเบนทับอีกชั้น เสมือนการขี่ม้านั่นเอง
ต่อมาการใช้กาบมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ๆ มาช่วยซึมซับก็ดูจะยุ่งยากเกินไป หญิงไทยในยุคหลัง ๆ จึงเลิกใช้ผ้าขี่ม้า แล้วประยุกต์ใช้ผ้าหลาย ๆ ผืนซ้อนทับกัน แล้วสวมผ้าในลักษณะคล้าย ๆ การขี่ม้า และเรียกสิ่งนี้ว่า ผ้าซับระดู ซึ่งจะมีข้อดีคือสามารถซักและนำมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งวัสดุอย่างผ้ายังช่วยซึมซับเลือดประจำเดือนได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือไม่สามารถดับกลิ่นคาวเลือดได้
ผ้าซับระดูสำเร็จรูป
ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยมีผ้าซับระดูสำเร็จรูปวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากผ้าซับระดูสำเร็จรูปมีราคาสูง ดังนั้นจึงนิยมใช้กันในกลุ่มหญิงมีฐานะเท่านั้น
โกเต๊ก ผ้าอนามัยแบบมีห่วงคล้องเอว
ภาพจาก medicaldaily
โกเต๊ก เป็นผ้าอนามัยยี่ห้อแรกที่เข้ามาในไทย ในช่วงปลาย ๆ รัชกาลที่ 6 ย่างเข้าสมัยรัชกาลที่ 7 ทำให้หลายคนติดปากเรียกแทนผ้าอนามัยทุกยี่ห้อว่า โกเต๊ก ซึ่งโกเต๊กเป็นผ้าอนามัยแบบมีห่วงคล้องเอว และมีตะขอเกี่ยวสองด้านกับตัวผ้าอนามัย เพิ่มความสะดวกสบายให้กับสาว ๆ ในการสวมใส่ ซึ่งในปัจุบันโกเต๊กก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังคงมีโกเต๊ก หรือผ้าอนามัยแบบห่วงให้ใช้กันอยู่ถึงวันนี้
ภาพจาก owlcation.com
ผ้าอนามัยแบบสอด
ผ้าอนามัยแบบสอดหรือ แทมปอน (Tampon) เป็นผ้าอนามัยชนิดแท่ง วิธีใช้ก็สอดใส่เข้าไปในช่องคลอด ข้อดีคือสามารถใส่ว่ายน้ำได้ หรือสำหรับสาว ๆ ที่ชอบใส่เสื้อผ้าแนบเนื้อ การใส่ผ้าอนามัยแบบสอดก็จะสะดวกและเพิ่มความมั่นใจให้ได้มากกว่า ทว่าผ้าอนามัยแบบสอดก็มีข้อแนะนำในการใช้อย่างปลอดภัยและถูกวิธีด้วยนะคะ
- ผ้าอนามัยแบบสอด เรื่องน่ารู้สำหรับคุณสาว ๆ
ผ้าอนามัยแบบถ้วย
ถ้วยอนามัย (Menstrual Cup) หรือ ถ้วยประจำเดือน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรองรับเลือดประจำเดือนในช่วงเป็นประจำเดือน ทำจากซิลิโคนหรือยางชนิดนิ่ม มีลักษณะเป็นเหมือนถ้วยทรงกรวย มีหลายขนาด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วขนาดของถ้วยประจำเดือนจะขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือนของผู้ใช้ หากผู้ใช้มีประจำเดือนมามากก็เลือกขนาดใหญ่เพื่อให้ถ้วยสามารถรองรับปริมาณเลือดประจำเดือนได้พอดี แต่ถ้าหากประจำเดือนมาน้อยก็สามารถใช้ขนาดเล็กได้
อีกทั้งถ้วยอนามัยยังมีทั้งแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้แล้วล้างทำความสะอาด นำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือถ้วยอนามัยชนิดที่มีอายุการใช้งานยาวถึง 10 ปีก็มีเช่นกัน
วิวัฒนาการของผ้าอนามัยก็ต้องเรียกว่ามาไกลจริง ๆ นะคะ ซึ่งจุดนี้ก็ต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยให้เรามีผ้าอนามัยสะดวกใช้ สะอาด และปลอดภัยต่อสุขภาพกันถ้วนหน้า แต่อย่างไรก็ดี สาว ๆ หลายคนอาจยังรู้วิธีใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้องไม่ครบถ้วน กระปุกดอทคอมเลยขอแนบบทความน่ารู้สำหรับสาว ๆ ที่ต้องใช้ผ้าอนามัยเป็นประจำทุกเดือนมาให้อ่านค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ทวิตเตอร์ i_winnn
exteen
medicaldaily
owlcation