กระทรวงสาธารณสุข ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดูแลมาตรฐานความสะอาดตลาดสด โรงผลิตน้ำแข็ง
เฝ้าระวังโรคติดต่อที่มาจากอาหารและน้ำ
หากพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนมากผิดปกติ
ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค
ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศที่ร้อนเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อยหรือไข้ไทฟอยด์ ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานในปี 2560 พบผู้ป่วย 5 โรคนี้รวม 1,120,372 ราย เสียชีวิต 7 ราย ในรอบ 2 เดือนปี 2561 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษแล้ว 262,572 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใย ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรค ดูแลตรวจมาตรฐานความสะอาดตลาดสด โรงผลิตน้ำแข็ง และติดตามเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา หากพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน จำนวนมากผิดปกติ ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคโดยเร็ว
อากาศที่ร้อนจัดทำให้อาหารบูดเสียได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากเชื้อโรคเจริญเติบโตเร็ว จึงขอให้ประชาชนสังเกตอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง ว่ายังมีลักษณะ กลิ่น รสเหมือนเดิมหรือไม่ หากผิดปกติไม่ควรรับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ หากบูดจะมีฟอง และน้ำแกงเป็นยางเหนียวข้น อย่าเสียดาย ห้ามนำไปอุ่นรับประทานต่อ อาหารที่เก็บไว้นาน 2-4 ชม.ให้อุ่นใหม่ อาหารประเภทยำควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ รับประทานทันที อาหารที่ค้างมื้อต้องนำมาอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน แยกอาหารดิบและอาหารสุก ให้ระมัดระวังการปนเปื้อน ล้างมือก่อนจับต้องอาหารเข้าสู่ปาก ดูแลความสะอาดของห้องครัว เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ ใช้น้ำสะอาดในการล้างวัตถุดิบและภาชนะใส่อาหาร รวมทั้งดื่มน้ำที่สะอาด และน้ำแข็งอนามัย
ผู้ป่วยจากโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องเกร็ง และถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ การรักษาเบื้องต้น โดยกินน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ ห้ามกินยาหยุดถ่าย หากอาการไม่ดีขึ้น คลื่นไส้อาเจียนมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
กระทรวงสาธารณสุข
ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศที่ร้อนเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อยหรือไข้ไทฟอยด์ ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานในปี 2560 พบผู้ป่วย 5 โรคนี้รวม 1,120,372 ราย เสียชีวิต 7 ราย ในรอบ 2 เดือนปี 2561 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษแล้ว 262,572 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใย ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรค ดูแลตรวจมาตรฐานความสะอาดตลาดสด โรงผลิตน้ำแข็ง และติดตามเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา หากพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน จำนวนมากผิดปกติ ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคโดยเร็ว
อากาศที่ร้อนจัดทำให้อาหารบูดเสียได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากเชื้อโรคเจริญเติบโตเร็ว จึงขอให้ประชาชนสังเกตอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง ว่ายังมีลักษณะ กลิ่น รสเหมือนเดิมหรือไม่ หากผิดปกติไม่ควรรับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ หากบูดจะมีฟอง และน้ำแกงเป็นยางเหนียวข้น อย่าเสียดาย ห้ามนำไปอุ่นรับประทานต่อ อาหารที่เก็บไว้นาน 2-4 ชม.ให้อุ่นใหม่ อาหารประเภทยำควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ รับประทานทันที อาหารที่ค้างมื้อต้องนำมาอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน แยกอาหารดิบและอาหารสุก ให้ระมัดระวังการปนเปื้อน ล้างมือก่อนจับต้องอาหารเข้าสู่ปาก ดูแลความสะอาดของห้องครัว เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ ใช้น้ำสะอาดในการล้างวัตถุดิบและภาชนะใส่อาหาร รวมทั้งดื่มน้ำที่สะอาด และน้ำแข็งอนามัย
ผู้ป่วยจากโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องเกร็ง และถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ การรักษาเบื้องต้น โดยกินน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ ห้ามกินยาหยุดถ่าย หากอาการไม่ดีขึ้น คลื่นไส้อาเจียนมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
กระทรวงสาธารณสุข