เทคนิคการปลูก และดูแล คะน้า ให้ปลอดสารพิษ

คะน้า เป็นพืชที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอ และ สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หากเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ที่ย่อยสลายดีแล้ว โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกมากสุดในปัจจุบันจะเป็นพันธุ์ดอกขาวซึ่งเป็นพันธุ์คะน้าจีน ที่มีการสั่งเมล็ดเข้ามาปรับปรุงเป็นพันธุ์การค้าที่แพร่หลายในปัจจุบัน โดยปกติทั่วไปอายุการเพาะปลูกของคะน้า จะอยู่ที่ 45-55 ปี และแม้จะเป็นพืชผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีก็ตาม แต่จะได้ผลผลิตดีสุดในเดือนตุลาคม-เมษายน

ชื่อสามัญ : Chinese kale ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. Var. alboglabra Bail. พันธุ์:แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. คะน้าใบ มีพันธุ์ใบกลม-ลักษณะ ใบกว้าง ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อยอีกชนิดเป็นพันธุ์ใบแหลม ใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ 2.คะน้ายอด หรือ คะน้าก้าน มีลักษณะลำต้นอวบใหญ่ ใบแหลม ก้านใหญ่ แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยหว่า ปล้องยาวกว่า รสชาติดี ต้านทานโรคดี ให้น้ำหนักผลผลิตสูง การเตรียมดิน : ดินที่ปลูกได้ผลดี ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.6-6.8 ความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ ต้องการแสงแดดเต็มที่ เจริญเติบโตดี ที่อุณฆภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส เนื่องจากมีระบบรากตื้รน การเตรียมดินให้มีหน้าดินลึก 15-20 ซม. ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบดต ตากดินไว้ 7-10 วัน แล้วนำปุ๋ยอินทรีย์ สูตร พด.1 มาใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปู่นขาว

เนื่องจากคะน้ามีเมล็ดมาก สามารถกลิ้งหมุนได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมดินปลูกจึงต้องพิถีพิถัน เป็นพิเศษ คือ ดินแปลงปลูกจะต้องร่วนละเอียด มิฉะนั้นเมื่อหว่านเมล็ดลงบนผิวดินหาแล้วเมล็ดจะรอดช่องว่างระหว่างก้อนดินลงไปลึกมากเกินไป ทำให้ไม่เอื้อต่อการงอก และชูยอดตั้งต้นไม่ได้ ส่งผลให้ได้จำนวนต้นน้อยไปหรือได้ต้นกล้าที่อ่อนแอ เนื่องจากใช้อาหารในเมล็ดจนหมดแล้ว ยังไม่สามารถชูต้นขึ้นมารับแสงปรุงอาหารเองได้ ทำให้เติบโตไม่ดี

วิธีปลูกคะน้า : เนื่องจากคะน้ามีทรงพุ่มไม่ใหญ่ การปลูกจึงหว่านลงแปลงวปลูกได้เลย โดยหว่านแบบให้กระจายทั่วแปลง และ หว่านแบบโรยเมล็ดเรียงเป็นแถว โดยทั่วไปแล้วนิยมปลูกแบบหว่านเมล็ดกระจายทั่วแปลงมากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะแปลงยกร่องแบบภาคกลางจะนิยมปลูกกันด้วยวิธีนี้ โดยใช้แรงงานเครื่องจักรและมีการให้น้ำแบบเรือลากพ่น เทคนิคการหว่าน : เทคนิคการหว่านเมล็ดแบบให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์และทำให้เมล็ดพันธุ์กระจายทั่แปลง ควรนำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทรายแห้งที่สะอาดก่อน จะทำการหว่านบางๆ ให้ทั่วแปลง ซ้ำไป-มา จนกว่าเมล็ดพันธุ์จะหมด วีนี้จะทำให้เมล็ดกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วๆ แปลง ไม่ขึ้นเป็นกระจุก ลดการแก่งแย่งอาหาร ทำให้สามารถจัดการต้นกล้าคะน้าได้ง่ายขึ้น

เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้ว ใช้ดินปลูกที่เตรียมไว้โรยกลบทับอีกครั้งหนึ่ง โดยก่ะให้มีความหนาของชั้นดินประมาณ 1 ซม. แล้วใช้คราด เกลี่ยดินเบาๆ กลับไป กลับมาตามความกว้างของแปลง จากนั้นคลุมหน้าแปลงปลูกด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง รดน้ำตามให้ทั่วจนชื้นสม่ำเสมอ โดยอย่าให้เมล็ดขาดความชื้น ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเห็นว่าเมล็ดเริ่มงอกจนหมด การหว่านแบบโรยเป็นแถวเหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กที่มีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร โดยหลังเตรียมดินเสร็จแล้ว ให้ตีดินเป้นแถวยาวตื้นๆ ก่อนจะโรยหว่านเมล็ดลงไปกลบดินบางๆ ทับเมล็ดพันธุ์คะน้า การปลูกแบบนี้ควรใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 20 ซม. จากนั้นคลุมฟาง รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลคะน้า:หลังหว่านเมล็ดจนกระทั่งเมล็ดงอกได้ประมาณ 20 วัน หรือ ต้นสูงประมาณ 10 ซม. ให้เริ่มทำการถอนแยกต้นกล้าที่ขึ้นเบียดกัน กระจุกตัว อ่อนแอ ต้นเล็ก เพื่อลดจำนวนต้นต่อแปลงออก ให้เหลือระยะระหว่างต้น 10 ซม. แล้วนำต้นที่ถอนแยกออกนี้ไปทำการตัดแต่งและส่งขายเป็นคะน้ายอดผักได้ เมื่ออายุครบ 30 วัน ให้ทำการถอนแยกครั้งที่ 2 ครั้งนี้ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 ซม. คะน้ารุ่นนี้เมื่อตัดแต่งเสร็จ สามารถส่งขายเป็นยอดผักได้เช่นกัน ในการถอนแยกแต่ละครั้งควรทำการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย

การให้น้ำ:คะน้าเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เพราะต้นคะน้าเจริญเติบโตเร็ว การปลูก คะน้าจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำสำรองใช้เพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก หากขาดน้ำจะทำให้ต้นหยุดชะงัก และมีคุณภาพดี โดยระยะที่ไม่ควรขาดน้ำเด็ดขาดคือระยะที่เมล็อเริ่มงอก การให้น้ำควรใช้วิธีฉีดพ่นฝอย วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น

การใส่ปุ๋ย:ควรบำรุงด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ่ยหมัก พด.1 รองพื้นก่อนหว่านเมล็ดทุกครั้งก่อนการปลูกคะน้า จะทำให้ได้ผลผลิตดีมาก ต้นแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี โดยแทบจะไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี หรือ ลดการใช้สารเคมีลงไปได้มาก ** สำหรับปุ๋ยที่เหมาะสมต่อคะน้า ควรเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง สูตรที่ควรเลือกใช้ คือ 12-8-8 หรือ 21-11-11 อัตรา 11 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ไปก่อนหน้านี้

ปุ๋ยเคมีแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละเท่าๆ กัน คือ ใส่หลังการถอนแยก ครั้งแรก และ หลังการถอนแยกครั้งที่ 2แต่ถ้าสังเกตเห็นสว้าต้นไม่ค่อยโตเท่าที่ควร อาจใส่ปุ๋ยบำรุงเพิ่ม เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียมไนเตรท อัตรา 3-4 ช้อนแกวง/น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทางใบ การเก็บเกี่ยวคะน้า : คะน้ามีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 50 วัน แต่หลังปลูก 45 วัน เป็นระยะที่ตลาดต้องการมากที่สุด แต่คะน้าอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวแล้วได้น้ำหนักมากกว่า แต่ไม่ควรปล่อยให้แก่เกินไปกว่านี้ การเก็บเกี่ยวควรเก็บในเวลาเช้า โดยใช้มีดคมๆ เล็กๆ ตัดต้นออก อย่าใช้มือเด็ดขาดเพราะจะทำให้ช้ำ การตัดควรตัดชิดโคนต้น แล้งควรรีบนำเข้าที่ร่ม อากาศพัดผ่าน ก่อนบรรจุในภาชนะรอจำหน่าย