Home »
ทั่วไป
»
ผู้ใช้รถควรรู้ ‘ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี’ สามารถเบิกเงินได้ 3 แสน โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ผู้ใช้รถควรรู้ ‘ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี’ สามารถเบิกเงินได้ 3 แสน โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนนั้นจะต้องรู้จักกับพ.ร.บ.รถยนต์ กันอย่างแน่นอน
และหลายคนก็เคยสงสัยใช่ไหมว่าเจ้า พ.ร.บ.รถยนต์
นั้นจะทำไปทำไมและทำไปเพื่ออะไรโดยในวันนี้เราก็จะมารู้จัก 10 ประโยชน์ของ
พ.ร.บ.รถยนต์นี้กันให้มากขึ้นเลยวันนี้ทางทีมงานก็จะรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ
พ.ร.บ.รถยนต์
มาให้ทุกคนนะได้ลองอ่านกันดูรับรองว่าจะมีสิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนอย่างแน่นอน
ซึ่งเจ้าพ.ร.บ.รถยนต์
หรือกันประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์พี่ไม่ได้มีการบังคับว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ทุกคันนั้นจะต้องทำประกันนี้ไว้และทุกครั้งก็จะต้องเสียภาษีต่อทะเบียนและจะต้องซื้อพ.ร.บ.นี้ควบคุมไปด้วยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหลักนั่นเอง
โดยสำหรับการดูแลคุ้มครองนั้นมีดังนี้
1.ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บซึ่งจะมีการจ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
2.การเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะหรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร จะได้รับเงิน 35,000 บาท/คน
และถ้าหากเสียหายจากข้อ 1 ข้อ 2 นั้นและจะต้องได้ไม่เกิน 65,000 บาท/คน
โดยสิ่งเหล่านี้ก็คือการจ่ายค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้ค้ำประกันนั้นจะได้รับภายหลังจากที่มีการพิสูจน์แล้วว่าผู้ประกันไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมายแต่อย่างใดและจะมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้….
กรณีเป็นฝ่ายถูก
1.สำหรับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บนั้นจะได้สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
2.การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาท/คน
3.สำหรับการสูญเสียอวัยวะ
3.1ซึ่งถ้าหากมีการสูญเสียตั้งแต่ข้อมือหรือแขนหรือเท้าหรือตั้งแต่ข้อเท้าหรือขาวหรือตาบอดอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันเป็น
2 กรณีขึ้นไปจะได้รับเงินประมาณ 300,000 บาท
3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา
หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้
หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด
จะได้รับเงิน 250,000 บาท
3.3 สำหรับผู้สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นนิ้วได้หรือหลากหลายนิ้วก็จะได้รับเงินประมาณ200,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้เวลาในการเครมพรบก็จะมีดังนี้
1. ในกรณีบาดเจ็บ
-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับกรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน
-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
2.ในกรณีทุพพลภาพ
-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
-สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
3.ในกรณีเสียชีวิต
-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-ใบมรณะบัตร
-สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน
-สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
หลังจากที่ได้มีการเตรียมเอกสารเสร็จแล้วสามารถทำเรื่องขอเบิกเงินจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์จำกัดได้ทุกสาขาทั่วประเทศและจะมีการจ่ายเงินภายใน
7 วัน
โดยพรบคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้นและในส่วนของทรัพย์สินเชื่อรถยนต์นั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างไร
ฉะนั้นผู้ขับขี่รถยนต์ควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจหรือเราเรียกกันง่ายๆว่าประกันรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นชั้น
1 หรือชั้น 3 ก็ตามเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้นั่นเอง