กระทรวงแรงงานเปิด 3 สาขาปริญญาตรี จบออกมาแล้ว โอกาสตกงาน สูงสุดในประเทศ

ช่วงนี้ได้ข่าวการลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้นบ่อยมาก เหตุเพราะตกงานและยังหางานไม่ได้เลยไม่มีทางเลือกแม้จะเรียนจบมาสูงมากก็ตาม ซึ่งวันนี้ทีมงานก็มีข้อมูลดีๆสำหรับคนที่กำลังศึกษาต่อให้ได้อ่านกัน อนาคตข้างหน้าหากเลือกเรียนผิด ชีวิตอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยนางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า อัตราการว่างงานปี 2561 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา มีแนวโน้มต่ำกว่าปี 2559 – 2560 โดยเฉพาะอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีคนว่างงานประมาณ 3.73 แสนคน แสดงให้เห็นว่า ปัญหาการว่างงานไม่ได้รุนแรงและน่ากังวล เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการว่างงานในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2560 พบว่ามีคนว่างงานลดลงประมาณ 7 หมื่นคน คน

ขณะที่ช่วงต้นปี 2561 มีอัตราการว่างงานสูงอยู่ที่ 1.3 – 1.2% ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาทรงตัวอยู่ที่ 1.0% ซึ่งเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคบริการและภาคเกษตร โดยเหตุผลของการว่างงาน พบว่า เป็นการลาออกจากงานมากที่สุด ประมาณ 1 แสนคน รองลงมาเป็นนายจ้างปิดกิจการ ประมาณ 3 หมื่นคน และหมดสัญญาจ้างประมาณ 2 หมื่นคน สำหรับช่วงอายุที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 20 – 24 ปี แสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่พึ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้น มีอัตราว่างงานสูง ซึ่งสาขาวิชาปริญญาตรีที่จบออกมาแล้วว่างงานมากที่สุด ได้แก่

1. พาณิชยศาสตร์ คิดเป็นอัตราว่างงาน 20.2% 2. ศึกษาศาสตร์ คิดเป็นอัตราว่างงาน 17.1% 3. สังคมศาสตร์ คิดเป็นอัตราว่างงาน 11.7% ทั้งนี้ พบว่าเด็กจบใหม่ส่วนใหญ่พร้อมที่จะทำงานแล้ว แต่หางานไม่ได้ หรือไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้จบการศึกษาปริญญาตรีจำนวนมากยังขาดคุณสมบัติที่ตลาดแรงงานต้องการ และก็มีส่วนหนึ่งที่ว่างงานเพราะเลือกงานด้วย

ขอบคุณข้อมูล : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ที่มา siamnews.com