‘พระราชินีฯ’ ทรงแนะให้คนไทย ‘เพาะเลี้ยงปลา’ ปัจจุบัน ขายได้ กก. ละ 50,000 บาท

หากพูดถึงไข่ปลาคาเวียร์นั้น ทุกคนก็จะนึกว่าการที่จะได้ไข่ปลาคาเวียร์นั้นจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งบอกเลยว่าไม่ใช่เพราะในประเทศไทยนั้นก็สามารถเลี้ยงสายพันธุ์ปลาสเตอร์เจี้ยนได้แล้ว โดยปลาสเตอร์เจี้ยนนั้นเป็นปลาที่ออกไข่มาเป็นไข่ปลาคาเวียร์ที่ขายถึงกิโลกรัมละ 50,000 บาท เลยทีเดียว

โดยในประเทศไทยได้มีการนำปลาสเตอร์เจี้ยนทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ซึ่งตั้งที่เลี้ยงอยู่ในอำเภอบ้านนามน หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเมื่อย้อนกลับไปในปี 2548 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้แก่กรมการประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินหาทางแนวการพัฒนาในการเลี้ยงปลาสเตอร์เจี้ยนบนพื้นที่สูงเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนั้นกลายเป็นอาชีพให้กับประชาชนหรือชาวเขาเผ่าต่างๆเพิ่มเติม

คุณสมพร กันธิยะวงศ์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 1 ก็ได้มีการพูดถึงโครงการนี้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้กรมการประมงจัดหาพันธุ์ปลาที่สามารถเลี้ยงได้ในบนดอยหรือในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมาเพาะเลี้ยง เพื่อสร้างเสริมอาชีพและสร้างช่องทางให้กับชาวบ้านชาวเขาที่อยู่บนนี้ เพราะในบริเวณพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวตลอดปีจะไม่มีใครเลี้ยงปลาได้เพราะนอกจากน้ำเย็น ซึ่งทำให้ทางศูนย์วิจัยและกรมการประมงนั้นได้มีการศึกษาหาข้อมูลรอบด้านเพื่อหาพันธุ์ปลาที่เหมาะสมกับภูมิภาคอากาศอันหนาวเย็นของที่นี่และก็พบว่าปลาสเตอร์เจี้ยนนั้นสามารถตอบโจทย์และเหมาะสมมากที่สุด

เพราะปลาชนิดนี้จะชื่นชอบน้ำเย็นเป็นอย่างมากจึงได้มีโอกาสได้นำเข้าปลาชนิดนี้มาจากต่างประเทศน่าจะคือประเทศเยอรมันนีและรัสเซียซึ่งเป็นสายพันธุ์สเตอร์เจี้ยนไซบีเรียนั่นเอง

การเพาะพันธุ์
สำหรับปลาสายพันธุ์นี้นับว่าเป็นปลาที่ใหม่มากสำหรับประเทศไทยเพราะยังไม่เคยมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายนอกจากโครงการหลวงเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำที่ใช้เลี้ยงกันเรียกว่าหากไม่ได้มีบ้านอยู่บนดอยหรือมีอากาศหนาวเย็นก็หมดสิทธิ์เรียงกันไปเลยก็ได้เพราะว่ามีข้อจำกัดที่ยากอยู่พอสมควรเพราะเป็นปลาสายพันธุ์จากต่างประเทศ

แต่เมื่อได้ทดลองเลี้ยงแล้ว ก็พบว่าการเลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิดอาจจะต้องใช้เวลาในการเลี้ยงยาวนานถึง 8 ปีถึงจะให้ไข่โดยจะเริ่มกลับจากการเพาะพันธุ์ในช่วงเวลาคือช่วงหมดฤดูหนาวและเข้าฤดูร้อน หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน มีนาคม โดยช่วงนี้ถือเป็นฤดูพันธุ์เพาะพันธุ์ที่เหมาะสมมากที่สุดโดยการเพาะพันธุ์นั้นก็จะใช้วิธีฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและวิธีผสมเทียม

และวิธีขั้นตอนการเลี้ยงมีเรื่องจำกัดอย่างเดียวนั่นก็คือเรื่องของอุณหภูมิน้ำเพราะปลาสายพันธุ์นี้จะชอบน้ำที่เย็น ดังนั้นการเลี้ยงควรมีอุณหภูมินั้นอยู่ที่ประมาณ 12 ถึง 20 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิเกินนี้จะส่งผลให้ปลาเครียดไม่กินอาหาร เพราะว่าเป็นปลาเมืองหนาวอาหารที่ต้องเลี้ยงมันก็เป็นอาหารเม็ดลอยน้ำโปรตีน 15% กิโลกรัมละ 50 บาทให้ได้ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาในวันละ 1 ครั้ง

ซึ่งสำหรับบ่อเลี้ยงนั้นทางศูนย์ก็มีเบาะเลี้ยงเป็นจำนวน 10 บ่อซึ่งเป็นบ่อปูนซีเมนต์ขนาด 120 ตารางเมตรและมีการปล่อยปลาได้ประมาณ 1000 ตัวและ ใช้วิธีเปลี่ยนน้ำจากลำห้วยเข้าบ่อ เพื่อทำให้น้ำมีการไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา และความสะอาดนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นถึงพิเศษ เพราะว่าจะต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อ ให้ได้มากที่สุดระบายน้ำออกท่อระบายน้ำบางส่วนออกไปแล้วเติมน้ำใหม่เข้ามา

สำหรับระบบน้ำนั้นก็จะเน้นระบบน้ำจากธรรมชาติเพราะจะต้องใช้น้ำที่มีความหนาวเย็นจากบนพื้นที่สูงซึ่งก็จะให้ความเย็นแบบนี้ต้องไปที่เขตป่าอุทยานเท่านั้นโดยเอกชนทั่วไปในไม่สามารถเข้าไปทำได้โดยในระยะเวลาในการเลี้ยงนั้นจะอยู่ที่ 8 ปีถึงจึงจะสมบูรณ์และมีไข่ปลาคาเวียร์และสามารถเพาะพันธุ์ได้ต่อใน 1 รุ่นและไม่มีการออกไข่ตลอดอีกในระยะ 8 ปีเท่ากันทุกตัวซึ่งบางตัวอาจใช้ระยะเวลาถึง 9 ปีคละกันไป

โดยปลา 1 ตัวนะจะให้ขายประมาณ 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวอย่างเช่นเมื่ออายุ 18 ปีมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัมก็จะได้ขายประมาณ 1 ถึง 1.5 กิโลกรัมและจะมีใครออกใครจริงๆคืนนี้ช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนเมษายนของทุกปีโดยจะมามีราคาสูงต่อกิโลกรัมละ 50000 บาทเลยทีเดียว

ผลผลิตที่ได้จากป่าสำคัญนี้ก็จะมีการแปรรูปไข่ปลาคาเวียร์โดยทางส่วนนั้นมีกระบวนการแปรรูปเองโดยนำไข่ปลามาผสมกับเกลือซึ่งเกลือที่นำผสมน้อยก็จะเป็นดอกเกลือคุณภาพสูงจากฟาร์มทะเลตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดําริเพชรบุรีโดยมีการจัดจำหน่ายใจภายใต้ชื่อศิลปาชีพอีกส่วนหนึ่งก็รับผลิตตามออเดอร์ของลูกค้าเพราะว่าไข่ปลาคาเวียร์นั้นยังสดใหม่สำหรับคนไทยและบางส่วนนั้นก็ยังไม่เชื่อมั่นในรสชาติของไข่ที่ผลิตอยู่ในประเทศไทยนี้

“ยังติดรับประทานของนอกอยู่ ลูกค้าของเราส่วนใหญ่เป็นโรงแรม นำไปรังสรรค์เมนูและใช้ประดับอาหารราคาแพง” และมีความเชื่อว่าไข่ปลาคาเวียร์เป็นอาหารของชนชั้นสูง บ่งบอกถึงฐานะ บางตำราเล่าว่าผู้ดีมีเงินมักนำไข่ปลาคาเวียร์ให้ลูกน้อยรับประทานตอนไม่สบาย เพราะถือว่าเป็นของดีสุดยอดอาหาร” คุณสมพรกล่าวไว้

สำหรับการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนเป็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจเพราะในประเทศไทยนั้นยังมีคนที่มีฐานะเป็นจำนวนมากและยังมีคนรวยที่นิยมรับประทานไข่ปลาคาเวียร์กันแต่สิ่งที่คำนึงถึงที่สุดมันก็คือการลงทุนที่จำเป็นจะต้องใช้มากพอสมควรในเรื่องของพื้นที่และคำนึงในเรื่องของการตลาดทางภาคเอกชน และ นอกจากนี้ถ้าหากชาวเกษตรตรงไหนนั้นต้องการที่จะมีลู่ทางการเลี้ยงก็อยากจะมีลู่ทางการตลาดด้วยเช่นกัน

ไข่ปลาคาเวียร์นั้นถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงจึงจำเป็นต้องหาช่องทางขายสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายให้ได้ถ้าหากไม่มีการตลาดก็ถือว่าจบไปและไม่สามารถได้เงินทุนได้อีกทั้งการเพาะเลี้ยงนั้นจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงต้องมีระบบน้ำควบคุมอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีและมีความรู้เลยต้องหมั่นศึกษาหาความรู้หรือเข้ามาเรียนรู้งานที่ศูนย์ตลอดได้เวลา และไข่ปลาคาเวียร์นั้นมาจาก ต่างประเทศเป็นซะส่วนใหญ่จึงไม่แปลกมากที่คนไทยส่วนใหญ่นั้นจะไม่รู้จักว่ามีใครไปไข่ปลาคาเวียร์ขายในประเทศไทย ซึ่งถ้าหากคนไทยหันมาสนใจสิ่งที่คนไทยทำจะถือว่าถูกกว่าและได้ช่วยเหลือคนไทยด้วยกันให้มีอาชีพที่ยั่งยืนอีกด้วย

และสำหรับชาวเกษตรคนไหนสนใจที่อยากจะเพาะเลี้ยงปลาสายพันธุ์นี้หรือศึกษาหาความรู้ก็สามารถมาศึกษาเยี่ยมชมงานได้ที่ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่หรือ โทรสอบภามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร (081) 724-4516 ได้เลยคะ