Home »
รู้ทันโรค
»
สมุนไพร 9 ชนิด รักษาโรคกรดไหลย้อน ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
สมุนไพร 9 ชนิด รักษาโรคกรดไหลย้อน ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
สมุนไพร 9 ชนิด รักษาโรคกรดไหลย้อน ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
กรดไหลย้อนโรคที่ใครก็เป็นได้
อันตรายมากหากเป็นแล้วชะล่าใจจะส่งผลให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
อันตรายมาก มาดูสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน อาการ
และวิธีรักษาด้วยสมุนไพรกันเลยค่ะ
โรคกรดไหลย้อน, โรคน้ำย่อยไหลกลับ, โรคกรดไหลกลับ หรือ โรคเกิร์ด (Gastroesophageal reflux disease – GERD)
หมายถึง
ภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนกลับขึ้นไประคายเคืองในหลอดอาหารและลำคอ
ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก ลำคอ และกล่องเสียงอักเสบ
กรดไหลย้อน เป็นโรคที่พบได้ประมาณ 10-15%
ของผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (Syspepsia) เป็นโรคที่พบได้ในคนทุกอายุ
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ
โดยจะพบอัตราการเกิดสูงขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
(พบสูงสุดในคนอายุ 60-70 ปีขึ้นไป)
แต่ก็อาจพบได้ในเด็กเล็กและคนวัยหนุ่มสาวได้ด้วยเช่นกัน
ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ใกล้เคียงกัน
มีรายงานว่า ในคนตะวันตกจะพบโรคนี้ได้ประมาณ 10-20% ของประชากร
ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบคนที่มีอาการของโรคนี้ประมาณ 25-40%
โดยคาดว่าเมื่อคนมีอายุยืนยาวมากขึ้นก็จะพบโรคนี้ได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารเสื่อมตามอายุหรือหูรูดยังเจริญได้ไม่เต็มที่ (ในทารก)
ในผู้สูงอายุ เซลล์ต่าง ๆ
ทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ เสื่อมลง
ดังนั้นจึงทำให้หูรูดนี้หย่อนสมรรถภาพลง
อาหารและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจึงดันย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่าย
ส่วนในเด็กทารกจะเกิดจากหูรูดส่วนนี้ยังเจริญไม่เต็มที่
การทำงานจึงหย่อนยาน เด็กทารกจึงมีการขย้อนนมและอาหารออกมาได้ แต่อาการต่าง
ๆ มักจะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น
เพราะกล้ามเนื้อหูรูดจะเริ่มแข็งแรงมากขึ้นแล้ว
มีปริมาณกรดค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
เนื่องจากกลไกในการกำจัดกรดในหลอดอาหารผิดปกติ เช่น มีน้ำลายน้อย
หรือการบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ
(ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนกลับขึ้นมาจากเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ)
กระเพาะอาหารบีบตัวลดลงเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
จากอายุที่สูงมากขึ้น (เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่าง ๆ
ทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ เสื่อมลง),
จากการอักเสบของกระเพาะอาหารหรือของเส้นประสาทกระเพาะอาหาร
จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด (เช่น ยาทางจิตประสาท),
จากการได้รับสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารคลายตัว (เช่น
แอลกอฮอล์, สะระแหน่) จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของอาหารและน้ำย่อยนานกว่าปกติ
ซึ่งจะเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารดันให้หูรูดนี้เปิดออก
อาหารหรือน้ำย่อยจึงไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร
การมีแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
จึงดันให้หูรูดเปิดหรือปิดไม่สนิท
ทำให้อาหารหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร เช่น
อาการไอ โดยเฉพาะการไอเรื้อรัง, การตั้งครรภ์, โรคอ้วน,
การรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก,
หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้วนอนเลย,
การรับประทานอาหารประเภทที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน (เช่น อาหารมัน)
เป็นต้น
มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ภาวะกรดไหลย้อนเกิดบ่อยและนานขึ้น
เช่น การมีไส้เลื่อนกะบังลมขนาดใหญ่, การมีปริมาตรของกระเพาะเพิ่มมากขึ้น,
กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น, กระเพาะมีกรดหรือสิ่งคัดหลั่งมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคกรดไหลย้อนกำเริบ
อายุ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เมื่อมีอายุสูงมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคนี้ก็ยิ่งสูงมากขึ้นตามไปด้วย
การรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก (อิ่มมากเกินไป) ซึ่งจะกระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก
การนอนราบ การนั่งงอตัว หรือโค้งตัวลงต่ำ เพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารและน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารและลำคอได้ง่าย
การรัดเข็มขัดแน่นหรือใส่กางเกงคับเอว เพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปได้ง่าย
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารคลายตัว เช่น แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต สะระแหน่ เปปเปอร์มินต์
อาหารประเภทที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารผัดหรืออาหารทอดที่อมน้ำมัน
อาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มและอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้เปรี้ยว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (น้ำส้มคั้น) น้ำมะเขือเทศ
อาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สมาก เช่น กระเทียม
หัวหอม น้ำอัดลม เครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า
ยาชูกำลังที่มีสารกาเฟอีน ฯลฯ เพราะจะกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากขึ้น
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม
ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาทางจิตประสาท
ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นบีตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
เป็นต้น เพราะจะเสริมให้หูรูดหย่อนคลายตัวหรือน้ำย่อยหลั่งออกมามากขึ้น
การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารและอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
ความเครียด เพราะความเครียดมีส่วนทำให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
เบาหวาน เมื่อเป็นโรคนี้นาน ๆ จะมีการเสื่อมของประสาทกระเพาะ ทำให้กระเพาะอาหารขับเคลื่อนช้า จึงทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้
โรคอ้วน เพราะจะทำให้มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้นตามไปด้วย
การตั้งครรภ์ เพราะจะเป็นการเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารจากครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น
โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอและหอบ
ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องจึงเกิดภาวะกรดไหลย้อน
รวมทั้งการใช้ยาขยายหลอดลมก็มีส่วนทำให้หูรูดหย่อนด้วย
โรคถุงลมโป่งพอง เพราะเป็นโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง
การมีไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal hernia, Diaphragmatic hernia ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วนไหลเลื่อนลงไปที่กะบังลม) ขนาดใหญ่ ทำให้หูรูดอ่อนแอมากขึ้น
แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer)
แผลหรือรอยแผลที่เป็นปลายกระเพาะอาหารหรือการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น
ทำให้อาหารขับเคลื่อนสู่ลำไส้ได้ช้าลง จึงทำให้มีกรดไหลย้อนได้
โรคกล้ามเนื้อและ/หรือของเนื้อเยื่อต่าง ๆ (พบได้น้อย) ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อและ/หรือเนื้อเยื่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหารมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง
อาการของโรคกรดไหลย้อน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก เรียกว่า อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn)
ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคนี้ แต่พบในคนปกติเป็นครั้งคราวได้
โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารเข้าไปในปริมาณมาก ประมาณ 30-60
นาที หรือหลังรับประทานอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ นั่งงอตัว
หรือโค้งตัวลงต่ำ มีการรัดเข็มขัดแน่นหรือใส่กางเกงคับเอว
โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
ซึ่งแต่ละครั้งมักจะมีอาการปวดนานประมาณ 2 ชั่วโมง
ในบางรายอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย
คล้ายโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
หรือมีอาการจุกแน่นยอดอกคล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ หรือเรอบ่อย
บางรายอาจมีอาการขย้อนอาหารหรือเรอเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวขึ้นไปที่คอหอย
หรือรู้สึกมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในปากหรือคอ หรือหายใจมีกลิ่น
บางรายตอนตื่นนอนอาจรู้สึกขมคอ เปรี้ยวปาก อาจมีเสียงแหบ
(เนื่องจากน้ำย่อยระคายเคืองจนกล่องเสียงอักเสบ) เจ็บคอ แสบลิ้น
หรือไอเรื้อรัง (เนื่องจากน้ำย่อยระคายเคืองคอหอยและหลอดลม) เรอบ่อย
(เนื่องจากภาวะมีน้ำย่อยและอาหารบางส่วนค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร)
ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เนื่องจากอาการเหล่านี้แบบเรื้อรัง
ในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนรุนแรง (ไหลขึ้นไปถึงปากและคอหอย)
อาจมีอาการกระแอมไอบ่อย หรือรู้สึกมีเสมหะอยู่ในคอหรือระคายคอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรับประทานอาหารหรืออยู่ในท่านอนราบ
บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น มีอาการกลืนอาหารแข็งลำบาก เนื่องจากปล่อยให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังจนตีบตัน
ในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นก็ได้
ส่วนในทารกอาจเป็นโรคกรดไหลย้อนตั้งแต่แรกเกิดได้
เนื่องจากหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารยังเจริญไม่เต็มที่
ทารกจึงมักมีอาการงอแง ร้องกวน อาเจียนบ่อย ไอบ่อยตอนกลางคืน เสียงแหบ
หรือหายใจมีเสียงวี้ด เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวไม่ขึ้น
ทารกบางรายอาจสำลักน้ำย่อยเข้าปอดทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งอาจกำเริบได้บ่อย
แต่อาการมักจะหายไปเมื่ออายุได้ประมาณ 6-12 เดือน
แต่บางรายก็อาจรอจนถึงเข้าสู่วัยรุ่นอาการจึงจะดีขึ้น
ส่วนในเด็กโตมักจะมีอาการคล้ายกับผู้ใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน
แม้ว่าโรคกรดไหลย้อนจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่ก็จัดเป็นโรคเรื้อรังที่น่ารำคาญและสร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก
รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
เนื่องจากผู้ป่วยที่รู้จักปฏิบัติตัวและคอยใช้ยาควบคุมอาการอยู่เสมอ
มักจะไม่ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
แต่ถ้าปล่อยปละละเลยก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น
หากปล่อยไว้ให้เป็นเรื้อรังนาน ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยก็คือ หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกในขณะกลืนอาหาร
หากไม่ได้รับการรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นแผลหลอดอาหาร (Esophageal ulcer)
ได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ เป็นต้น
และในที่สุดอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบ (Esophageal stricture) ซึ่งจะทำให้
ผู้ป่วยมีอาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย
จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือถ่างหลอดอาหารเป็นครั้งคราว
และถ้าเป็นมากอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารจนกลายเป็นหลอดอาหารบาร์เรตต์
(Barrett’s esophagus)
ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการส่องกล้องลงไปที่หลอดอาหารและนำชิ้นเนื้อไปพิสูจน์
ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ประมาณ 2-5%
ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร อาเจียนบ่อย
น้ำหนักตัวลดลง
ในรายที่มีกรดไหลย้อนถึงคอหอยและหลอดลม
น้ำย่อยไหลจะเข้าไประคายเคืองต่อหลอดลม อาจทำให้กลายเป็นคออักเสบ
หลอดลมอักเสบ (เจ็บคอไอเรื้อรัง) กล่องเสียงอักเสบ (เสียงแหบ
ตรวจพบสายเสียงบวมแดง) โรคหืดกำเริบ
อาจทำให้โรคทางปอดแย่ลง เช่น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบจากการสำลักน้ำย่อยเข้าไปในปอด (Aspiration pneumonia) ซึ่งพบได้บ่อยในทารกอายุ 1-4 เดือน
นอกจากนี้โรคกรดไหลย้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง
มะเร็งกล่องเสียง และผิวฟันผุกร่อนจากการกัดของน้ำย่อยเป็นเวลานาน
ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (แต่ถ้ายังมีอาการกำเริบขึ้นมาอีก ให้รับประทานยาเป็นครั้งคราวไปเรื่อย ๆ)
1. โรคนี้มักมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ควรใช้ยาช่วยควบคุมอาการเป็นระยะ ๆ
และควรรับประทานทันทีที่อาการเริ่มกำเริบ
2.
หมั่นสังเกตตนเองว่าเมื่อบริโภคอาหารชนิดใดและปริมาณเท่าใดแล้วทำให้อาการกำเริบหรือก่อให้เกิดอาการมากขึ้น
(เป็นเพราะแต่ละคนจะไวต่ออาหารได้แตกต่างกันไป)
แล้วพยายามหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคสิ่งนั้น โดยเฉพาะกับอาหารมัน
อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม
เป็นต้น
3. กรดไหลย้อนห้ามกินอะไร ?
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว
ซอสมะเขือเทศ ช็อกโกแลต กระเทียม หัวหอม สะระแหน่ การสูบบุหรี่
และการรับประทานยาบางชนิด (เช่น ยาขยายหลอดลม ยาทางจิตประสาท
ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาต้านแคลเซียม)
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในปริมาณครั้งละมาก ๆ และดื่มน้ำมาก ๆ
ในระหว่างรับประทานอาหาร
แต่ควรเปลี่ยนมารับประทานอาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งแทน
รับประทานอาหารให้ช้าและเคี้ยวให้ละเอียด
ส่วนอาหารมื้อเย็นควรรับประทานในปริมาณน้อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหารเสี่ยง
และทิ้งช่วงห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
5. หลังรับประทานอาหารเสร็จ ไม่ควรนอนราบ นั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ
หรือก้มหยิบของ (ให้นั่งตัวตรงหรือยืนแทน) ควรนอนในท่าเอนตัวเสมอ
ปลดเข็มขัดและตะขอกางเกงให้หลวม และไม่ควรยกของหนักและออกกำลังกาย
แต่ต้องรอให้อาหารย่อยผ่านกระเพาะอาหารไปก่อนประมาณ 2-3
ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหาร
6. เคี้ยวหมากฝรั่งหลังอาหาร
เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งจะทำให้มีน้ำลายมากซึ่งจะไปช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและหลอดอาหารได้
(ควรหลีกเลี่ยงหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์)
7. สวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบายตัว ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดจนแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มความดันต่อกระเพาะอาหาร
8. ในรายที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ควรหาทางลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม
9. ถ้ามีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนศีรษะให้สูง 6-10 นิ้ว
โดยการหนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษสอดใต้ที่นอนให้เอียงลาดจากศีรษะลงมาถึงระดับเอว
หรือใช้เตียงนอนที่มีกลไกปรับหัวเตียงให้สูงได้
ส่วนวิธีการหนุนหมอนให้สูงนั้นไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจจะทำให้ท้องโค้งงอ
ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นได้
10. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พักผ่อนให้เพียงพอและผ่อนคลายความเครียด
เพราะความเครียดมีส่วนทำให้หลั่งกรดมากขึ้น
ซึ่งอาจทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้
11.
รักษาและควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
เช่น โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โรคอ้วน โรคของกะบังลม
โรคกล้ามเนื้อหรือของเนื้อเยื่อต่าง ๆ แผลเพ็ปติก โรคหืด
12. ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่าง ๆ เลวร้ายลงหรือผิดไปจากเดิม
13. รีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่ออาเจียนเป็นเลือดหรือไอเป็นเลือด,
ไอมากหรือสำลักบ่อย, เจ็บคอมาก, เจ็บเวลากลืนหรือกลืนแล้วติด,
เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง, อาเจียนหรือขย้อนอาหารบ่อยมาก, ปวดท้องอย่างรุนแรง,
อุจจาระดำ (ลักษณะเหมือนยางมะตอย
เพราะเป็นอาการมีเลือดออกในหลอดอาหารและ/หรือในกระเพาะอาหาร), อ่อนเพลีย
ซีด และน้ำหนักตัวลดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสาเหตุ
สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน มีหลายชนิด เช่น
1. กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) ให้ใช้กะเพรา 1 กำ
(ทั้งต้นและใบ ถ้าเป็นกะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า) หรือประมาณ 1 ขีด
นำมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้ใส่น้ำ 2-3
ลิตรลงในหม้อต้มแล้วนำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด ปิดฝาหม้อ
ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มนานประมาณ 20 นาที
(ควรกะปริมาณไฟที่ต้มให้น้ำเดือดภายใน 15-20 นาที) พอน้ำเดือดให้ปิดแก๊ส
ใช้น้ำที่ได้มาดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร)
ส่วนที่เหลือไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ แต่ให้ใช้วิธีแช่เย็นไว้ดื่มแทน
(รอให้หายเย็นแล้วจึงค่อยดื่ม) ถ้าอาการหนักให้ดื่มประมาณ 6-8 แก้ว
และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง
ดื่มเฉพาะหลังอาหารมื้อละ 1-2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน
2. กระเจี๊ยบเขียว (Abelmoschus esculentus (L.) Moench) ใช้ฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้รับประทานแก้อาการ
3. ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.)
เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาอาการท้องอืดและช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน
จึงทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กนานเกินไป
อีกทั้งยังช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยให้รับประทานครั้งละ 1
ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือครั้งละ 3 แคปซูล (แคปซูลละ 500 มิลลิกรัม)
ก่อนอาหารประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
และก่อนนอน
4. ขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกายและช่วยลดอาการของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ซึ่งรวมถึงโรคกรดไหลย้อน
5. โทะ (Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.) ในประเทศมาเลเซียจะใช้รากและใบโทะ ต้มเป็นยารักษาอาการแสบยอดอกจากกรดไหลย้อน
6. ลูกยอ (Morinda citrifolia L.)
นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม
นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ
(ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง
ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน
(การย่างนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย
จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู
นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม
เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน
ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา
ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน
ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน
ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ (งานวิจัยระบุว่า
สมุนไพรชนิดนี้มีสารสโคโปเลติน (Scopoletin) เป็นส่วนประกอบ
สารชนิดนี้สามารถช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดีพอ ๆ
กับยามาตรฐาน คือ รานิทิดีน (Ranitidine) และยาแลนโซพราโซล (Lansoprazole)
เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล
และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น
โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง
อีกทั้งยังสามารถเพิ่มการดูดซึมของยารานิทิดีนได้ด้วย
ลูกยอจึงเหมาะแก่การนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง)
7. หญ้าลิ้นงู (Oldenlandia corymbosa L.)
ชาวอินเดียจะใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้นนำมาต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน
8. ว่านกาบหอย (Tradescantia spathacea Sw.)
ให้ใช้ใบว่านกาบหอยแครงและใบเตยสด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำจนเดือด
ใช้ดื่มต่างน้ำทั้งวัน วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว
โดยให้ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และเกลือป่นอีกเล็กน้อย
แล้วอาการของกรดไหลย้อนจะค่อย ๆ ดีขึ้น
9. ย่านาง (Limacia triandra Miers) น้ำใบย่านางคั้นสดมีสรรพคุณหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือรักษาอาการกรดไหลย้อน
วิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน
พยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงได้)
ดังที่กล่าวมา ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต
และปฏิบัติตนตามคำแนะนำในหัวข้อวิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน
ขอขอบคุณ : haamor.com, childrensgimd.com