ตรวจพบ! สารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิดนี้ อันตรายมาก!!!
ตรวจพบ! สารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิดนี้ อันตรายมาก!!!
การรับประทานอาหารทุกวันนี้คุณมั่นใจแค่ไหน?
ว่าอาหารเหล่านั้นสะอาดปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน
ทานแล้วแทนที่จะได้สุขภาพดีกลับได้สารเคมีสะสมในร่างกายไปเรื่อย ๆ ทุกวัน
จะมีอาหารชนิดใดบ้างที่ตรวจพบมาดูกันค่ะ
สารปนเปื้อนในอาหาร หากคุณคิดว่า…การทานอาหารให้ครบทุกมื้อให้ถูกหลักโภชนาการ
แค่นี้ก็เพียงพอในการดูแลสุขภาพแล้ว…คุณคิดถูก
แต่ไม่ครบถ้วนทั้งหมด…เพราะในยุคปัจจุบันที่แม้จะมีอาหารให้เลือกซื้อ
เลือกทานมากมาย…แต่คุณรู้หรือไม่ว่า
อาหารเหล่านั้นปลอดภัยต่อสารปนเปื้อนหรือไม่?
คุณกำลังเสี่ยงกับอันตรายแบบตายผ่อนส่งกันอยู่หรือเปล่า? รับรองว่า
หลังจากคุณได้รู้จักกับ สารปนเปื้อนในอาหารทั้ง 6
ชนิดที่นำมาเตือนกันในวันนี้…คุณจะได้คำตอบว่า…อันตรายแบบตายผ่อนส่งนั้นเป็นอย่างไร
และน่ากลัวแค่ไหน…
รู้ป้องกันภัยจาก “สารปนเปื้อนในอาหาร”
สารฟอร์มาลีน (Formalin)
ทางเคมีเรียกว่าสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ คือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
หรือน้ำยาดองศพนั่นเอง โดยมีลักษณะเป็นของเหลวใสๆ ไม่มีสี มีแต่กลิ่นฉุนๆ
ซึ่งนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก เคมีภัณฑ์
และสิ่งทอเพื่อไม่ให้ผ้าย่นหรือยับ
ฟอร์มาลิน-สารปนเปื้อนในอาหารจริงๆ
แล้วฟอร์มาลินไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับอาหารเพื่อการบริโภค
แต่ด้วยความเห็นแก่ตัว มักง่ายของผู้ประกอบการที่ต้องการให้อาหารคงความสด
ไม่เน่าเสียง่าย ลดความเสี่ยงในการขาดทุน จึงนำฟอร์มาลินมาใช้กับอาหาร
ซึ่งมักพบในอาหารจำพวก อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ รวมถึงผักสดหลายๆ ชนิด
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารอย่าง :
“ฟอร์มาลีน” หากเกิดการตกค้างในร่างกาย
จะให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
และเป็นสารที่ก่อมะเร็งได้อีกด้วย
ไม่เพียงเฉพาะผู้ที่บริโภคสารปนเปื้อนนี้เข้าไปเท่านั้น
ผู้สัมผัสสารนี้บ่อยๆ
ก็มีความเสี่ยงเกิดการสะสมจนเป็นมะเร็งร้ายในระยะยาวได้เช่นกัน
วิธีป้องกัน : ดมกลิ่นวัตถุดิบ
อาหารที่ต้องการซื้อว่ามีกลิ่นฉุนๆ ของสารฟอร์มาลีนหรือไม่?
หลีกเลี่ยงแหล่งจำหน่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย
สารบอแรกซ์ (Borax)
โดยมีชื่อทางการค้าว่า “น้ำประสานทอง” มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต
(Sodium borate) โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate)
ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกละเอียด หรือผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ดี
นิยมนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรม
แต่มีผู้ลักลอบนำเอาสารบอแรกซ์ผสมในอาหารเพื่อให้เกิดความหยุ่น กรุบกรอบ
อยู่ได้นาน ไม่เสียง่าย อาหารที่เสี่ยงมีสารบอแรกซ์คือ ลูกชิ้น หมูบด
หมูเด้ง ทอดมัน ไส้กรอก ทับทิมกรอบ ผัก-ผลไม้ดอง
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารชนิดนี้คือ : ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร อุจจาระร่วง และอาจส่งผลเป็นพิษต่อตับ ไต สมองได้
วิธีป้องกัน : หลีกเลี่ยงการซื้อหมูบดสำเร็จรูป
ควรนำเนื้อหมูมาบดสับเอง หลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูที่ดูผิดปกติจากธรรมชาติ
ไม่ทานอาหารที่กรอบเด้ง อยู่ได้นาน
สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้ง
โดยทางเคมีเรียกว่า สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium Hydrosulfite)
เป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยไม่ให้อาหารเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล
เมื่อถูกหั่น/ตัด แล้ววางทิ้งไว้
และเป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ยีสต์
ซึ่งนิยมใช้สารนี้ในการฟอกแหวน ฟอกแห อวน แต่มีผู้ประกอบการหัวใส
ไร้จรรยาบรรณหลายคนนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารดูขาวสะอาด
น่ารับประทาน และยืดอายุอาหารให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น
สำหรับอาหารที่เสี่ยงสารปนเปื้อนในอาหารอย่าง :
“สารฟอกขาว” ได้แก่ กระท้อน ยอดมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว ขิงฝอย ตีนไก่
ถั่วงอก หน่อไม้ดอง และอันตรายของสารชนิดนี้คือ ทำให้ผิวหนังอักเสบ
เป็นผื่นแดงในบริเวณที่สัมผัสกับสาร
หากสารเข้าสู่ร่างกายจะเกิดอาการหายใจขัด ปวดท้อง อุจจาระร่วง
ความดันโลหิตต่ำ บางรายแพ้จนอาจช็อค หมดสติ
หรือเสียชีวิตได้สำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด
วิธีป้องกัน : ควรเลือกซื้ออาหารที่ดูมีสีปกติธรรมชาติ เน้นความปลอดภัยมากกว่าความสวยงามของหน้าตาอาหาร-วัตถุดิบ
สารกันรา หรือกรดซาลิซิลิค
ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายมาก จึงมีข้อกำหนดห้ามไม่ให้นำมาเจือปนในอาหาร
แต่ด้วยคุณสมบัติของสารกันราที่ช่วยให้อาหารอยู่ได้นาน ไม่เสียง่าย
จึงถูกลักลอบนำมาใช้กับอาหารจำพวก อาหารแห้ง พริกแกง น้ำดองผัก-ผลไม้
ขนมปัง
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารอย่าง : “สารกันรา”
คือเมื่อสารนี้เข้าไปอยู่ในร่างกายจะไปทำลายเซลล์
และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
หากได้รับสารกันราในปริมาณมาก เยื่อบุในกระเพาะอาหารและลำไส้อาจถูกทำลาย
ถึงขั้นอาเจียน หูอื้อ มีไข้ ความดันโลหิตต่ำ ช็อคและอาจเสียชีวิตได้
วิธีป้องกัน : เลือกทานอาหารที่สดใหม่
หลีกเลี่ยงของหมัก-ดอง
เลือกซื้อวัตถุดิบ-อาหารจากแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีเครื่องหมาย อย.
รับประกันความปลอดภัย
สารเร่งเนื้อแดง
หรือ “สารซาลบูตามอล” ซึ่งใช้เป็นยารักษาหอบหืดในคนและสัตว์
ช่วยขยายหลอดลม กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
แต่ถูกลักลอบมาฉีดให้กับสุกรเพื่อเพิ่มเนื้อแดง
ลดไขมันตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค
ผลที่ตามมาคือสารตกค้างในเนื้อหมูมาสู่ผู้บริโภค
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารอย่าง :
“สารเร่งเนื้อแดง” คือทำให้กล้ามเนื้อกระตุก มือสั่น ปวดศีรษะ
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว
และอาจส่งผลกระทบแก่ระบบประสาทหากได้รับสารในปริมาณมากๆ
วิธีป้องกัน : เลือกซื้อเนื้อหมูที่มีสีปกติธรรมชาติ สีไม่แดงมาก และมีชั้นมันหนา
ยาฆ่าแมลง
หรือ “สารเคมีสำหรับกำจัดศัตรูพืช” ซึ่งคุณสมบัติของสารชนิดนี้คือ
ป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชมาทำลายผลผลิต ป้องกันการสูญเสียผลผลิต
ผลที่ตามมาคือยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในพืช-ผัก อาหาร
หลังการเก็บเกี่ยวมาจำหน่ายให้ผู้บริโภค
อันตรายของยาฆ่าแมลงเมื่อเข้าสู่ร่างกายคือ : ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ปวดศีรษะ มึนงง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดท้อง อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก จนอาจถึงขั้นชัก หมดสติได้
วิธีป้องกัน : เลือกทานผัก-ผลไม้ตามฤดูกาล
ผักพื้นบ้านเติบโตง่าย ไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง
และควรเลือกผักที่มีรูพรุนเจาะบ้าง
อย่าเน้นแต่ความสวยงามจนลืมเรื่องของความปลอดภัย
อีกทั้งควรล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุง หรือไปรับประทานสด
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับ สารปนเปื้อนในอาหารทั้ง 6
ชนิด…เรียกว่าอยู่ใกล้ตัวเรามาก
มีโอกาสพบเห็นในทุกมื้ออาหารของเราเลยก็ว่าได้…แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่า…อันตรายแบบตายผ่อนส่งได้อย่างไรกัน…เมื่อรู้ถึงอันตราย
และวิธีการป้องกันตนเองจากสารปนเปื้อนในอาหารกันไปแล้ว
ก็อย่าลืมนำไปฝึกสังเกต เลือกอาหารที่ปลอดภัย มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี
และชีวิตที่ยืนยาว ห่างไกลโรคภัยกันนะคะ
ขอขอบคุณ : www.sukkaphap-d.com