นี่คือ 3 อันดับ ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับน้ำมันมะกอกและอาหารไทย

ความสนใจในด้านสุขภาพทำให้เชฟและนักชิมทั่วโลกต่างหันมาสนใจและนิยมเลือกปรุงอาหารด้วยน้ำมันมะกอก แต่สำหรับในเมืองไทย ที่มักจะครองตำแหน่งผู้นำเทรนด์สายกินอยู่เป็นประจำ กลับยังก้าวไม่ค่อยทันเทรนด์นี้สักเท่าไหร่ เพราะอาจยังมีข้อกังวลบางอย่างเกี่ยวกับการใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารอยู่ บ้างก็ว่าน้ำมันมะกอกทำให้รสชาติอาหารไทยเปลี่ยน หรือมีผลเสียเมื่อนำมาปรุงอาหารร้อน เป็นต้น

เบอร์ทอลลี่? ในฐานะแบรนด์น้ำมันมะกอกอันดับหนึ่งในประเทศไทย ได้เชิญเชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ เชฟหนุ่มไฟแรง จากรายการทีวี Cook it Yourself ออกอากาศทางช่อง New TV มาร่วมไขข้อข้องใจของใครหลายคนด้วยกันใน 3 ประเด็นร้อนๆ

ข้อที่ 1 – น้ำมันมะกอกทำให้รสชาติของอาหารไทยเปลี่ยนไป

มนุษย์เราเริ่มใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารกันในสมัย 8 ปีก่อนคริสตกาล หรือ พ.ศ. 535 โดยนับจากนั้นเป็นต้นมา ผู้คนทั่วโลกได้บริโภคน้ำมันมะกอกสีทองอร่ามนี้ไปมากกว่า 2,904 ตันแล้ว ตลอดช่วงเวลาหลายพันปีนี้ น้ำมันมะกอกได้เป็นส่วนหนึ่งของการปรุงอาหารจานเด็ดมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเมนูผัด ทอด หรือแม้แต่การทำขนม และด้วยคุณสมบัติในการปรุงอาหารที่หลากหลายเช่นนี้เอง ทำให้น้ำมันมะกอกเหมาะสำหรับการปรุงอาหารไทยที่คุณชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง

เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ เผยว่า “โดยส่วนตัว ผมใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารไทยมานาน 7 ปีแล้ว เพราะผมรู้ว่าน้ำมันมะกอกไม่เพียงทำให้อาหารอร่อยเท่านั้น แต่ยังใช้ปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย และมีผลดีต่อสุขภาพด้วย ผมได้ทดลองใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารในรายการของผมมาหลายอย่างแล้ว ตั้งแต่มัสมั่น ไปจนถึงไข่เจียว หมูปิ้งและกะเพรา โดยที่น้ำมันมะกอกไม่ได้เปลี่ยนรสชาติอาหารของผมเลย แต่กลับทำให้รสชาติอาหารดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ”

ข้อที่ 2 – น้ำมันมะกอกไม่สามารถใช้ในการปรุงอาหารที่มีความร้อนสูงได้

ที่จริงแล้ว น้ำมันมะกอกทนความร้อนสูงได้แน่นอน แม้แต่การปรุงเมนูอาหารไทยที่ต้องใช้ความร้อนสูงมากอย่างหอยทอดและผัดซีอิ๊ว

น้ำมันมะกอกแบบเอ็กซ์ตร้า ไลท์ มีจุดเกิดควันที่ 242 องศาเซลเซียส โดยเมื่อมีความร้อนถึงจุดนี้ ไขมันในน้ำมันจะเริ่มแตกตัวและกลายเป็นควัน แต่น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารทั่วไปนั้นจะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 191 องศาเซลเซียส และหากลองไป

พิจารณาจุดเกิดควันของน้ำมันชนิดอื่นๆ คุณจะพบว่าจุดเกิดควันของน้ำมันมะกอกนั้นสูงกว่าน้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าวด้วยซ้ำ

ข้อที่ 3 – น้ำมันมะกอกไม่ดีต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับความร้อน

หลายคนมักบอกว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกที่ผ่านความร้อนมาแล้วจะมีผลเสียต่อสุขภาพ นี่เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับน้ำมันมะกอก เพราะกรดไขมันที่พบในน้ำมันมะกอกนั้น จะเป็นประเภทไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้สามารถทนความร้อนได้ดี ต่างจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่แตกตัวง่ายเมื่อสัมผัสความร้อนและอาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้

นอกจากนี้ น้ำมันมะกอกยังอุดมไปด้วยวิตามินอี ปราศจากคอเลสเตอรอล และมีไขมันไม่อิ่มตัวมากถึง 77% จึงสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ และลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี

แน่นอนว่าอาหารไทยมีรสชาติที่อร่อยและหลากหลายไม่แพ้ชาติไหนในโลก และเบอร์ทอลลี่ก็มุ่งมั่นที่จะได้เห็นครัวไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยเทคนิคการทำอาหารที่ครบเครื่องทั้งในด้านคุณค่าและรสชาติ เราหวังว่าน้ำมันมะกอกจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของคนไทยในการทำอาหารจานเด็ดที่ไม่ว่าใครก็ต้องหลงรักเมื่อได้ชิม มาร่วมกันทำลายความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับน้ำมันมะกอก แล้วอร่อยไปด้วยกันเถอะ!