ฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา โรคหายากที่ไม่ใช่แค่โรคผิวหนัง และถึงแม้มักจะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็ต้องระวัง !
อาการผิวหนังอักเสบมีผื่นจ้ำแดง ๆ ม่วง ๆ ขึ้นตามลำตัวอาจไม่ใช่แค่ผื่นธรรมดา และไม่ใช่โรคผิวหนัง ยิ่งถ้ามีอาการปวดท้อง ปวดเข่า ปวดตามข้อร่วมด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch-Schonlein Purpura : HSP) ที่หาพบได้ยากก็เป็นได้
ลองมาสังเกตอาการและหาคำตอบว่า โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา คือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุใด และหากเป็นแล้วจะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนกัน
ภาพจาก medicinenet.com
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา คืออะไร
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch-Schonlein Purpura) มีชื่อภาษาไทยว่า "โรคหลอดเลือดอักเสบ" หรือ "โรคเส้นเลือดอักเสบ" เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลัน โดยตั้งชื่อโรคตามนายแพทย์ชาวเยอรมัน 2 คน ที่ค้นพบอาการ คือ นายแพทย์ Johann Lukas Schönlein ซึ่งอธิบายอาการผิวหนังเป็นผื่นจ้ำที่เกิดเฉียบพลันร่วมกับข้ออักเสบเมื่อปี ค.ศ. 1837 และนายแพทย์ Eduard Heinrich Henoch ซึ่งอธิบายอาการปวดท้องและไตอักเสบเมื่อปี ค.ศ. 1874
ภาพจาก unckidneycenter.org
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา มักพบใครป่วย ?
จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยจะพบในเด็กอายุ 6 ขวบ และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง พบในเด็กผิวขาวหรือชาวเอเชียมากกว่าผิวสี โดยในประเทศไทยพบโรคนี้ในอัตรา 22 คน ต่อประชากร 100,000 คน จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคหายาก
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา เกิดจากอะไร และยังไม่พบหลักฐานว่าถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่สันนิษฐานกันว่า โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบางชนิด ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาทางส่วนต่าง ๆ เช่น ตา ผิวหนัง ทางเดินอาหาร กระดูก และข้อ รวมทั้งไต
นอกจากนี้อาจมาจากปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่ไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติ, ถูกแมลงบางชนิดกัดต่อย, การรับประทานอาหารบางชนิด รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด หรือได้รับสารเคมีบางชนิด
ภาพจาก nhs.uk
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา อาการไหนบอกชัด !
เมื่อหลอดเลือดเกิดการอักเสบจากภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดการบวมขึ้น และทำให้โครงสร้างของหลอดเลือดเสียสภาพไป ทำให้มีการรั่วไหลของน้ำออกสู่เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง นำมาซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ แต่จะเป็นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย คือ
- มีผื่น เป็นลักษณะจ้ำแดง ๆ ม่วง ๆ ขึ้นตามผิวหนัง ขา เท้า แขน และก้น แต่ไม่มีอาการคัน
- ปวดตามข้อ ข้ออักเสบ โดยเฉพาะที่ข้อเท้า หัวเข่า (พบในผู้ป่วยร้อยละ 75-80) มักเป็นเฉียบพลัน และหายเองได้เป็นปกติ
- ปวดท้อง ซึ่งจะปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยบางคนอาจมีอาการอาเจียน มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือภาวะลำไส้กลืนกันร่วมด้วย (พบในผู้ป่วยร้อยละ 30-40)
- มีอาการทางไต เช่น ไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด หากเป็นหนักอาจถึงขั้นไตวายเสียชีวิต แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก
- ในบางเคสอาจมีอาการหลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดฉีกขาด ซึ่งหากเกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น สมอง ไต ปอด หรือหัวใจ ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนมาก่อน 1-3 สัปดาห์ เช่น มีไข้ต่ำ (ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส) อาจเป็นหวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากนั้นจึงแสดงอาการผื่นตามมา
วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเป็นโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา ?
นอกจากสังเกตอาการดังที่กล่าวมาแล้ว แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดขาว ตรวจปัสสาวะเพื่อสังเกตการทำงานของไต ตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจชิ้นเนื้อ ฯลฯ
ภาพจาก rch.org.au
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา รักษาได้ไหม ?
สำหรับการรักษาโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา นั้น แพทย์จะรักษาตามอาการที่ปรากฏ พร้อมกับให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อควบคุมอาการหลักของโรคให้ทุเลาลง เช่น หากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเลือดจาง ซีด แพทย์ก็จะให้เลือด หากมีอาการทางไต แพทย์จะให้สเตียรอยด์ในการรักษา และแพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการปวดท้องและอาการทางไต ซึ่งหากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ลำไส้อุดตัน หรือไตเสียหายอย่างหนัก แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา อันตรายไหม ?
โรคนี้ไม่ใช่โรคระบาด หรือโรคติดต่อ ดังนั้น หากรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา ผู้ป่วยก็สามารถหายจากโรคนี้ได้ภายในเวลาไม่นาน คือประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่หากมีอาการแทรกซ้อน แพทย์ก็จะต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ต้องบอกว่า มีผู้ป่วยน้อยรายมากที่จะเสียชีวิตจากโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะอาการทางไต
อย่างไรก็ดี การเป็นโรคนี้ครั้งแรกอาจเป็นอยู่หลายเดือน และเมื่อรักษาหายดีแล้วก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองไว้ เพราะโรคนี้อาจกลับมาเป็นได้อีก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไทยพีบีเอส
มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
printo.it
อาการผิวหนังอักเสบมีผื่นจ้ำแดง ๆ ม่วง ๆ ขึ้นตามลำตัวอาจไม่ใช่แค่ผื่นธรรมดา และไม่ใช่โรคผิวหนัง ยิ่งถ้ามีอาการปวดท้อง ปวดเข่า ปวดตามข้อร่วมด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch-Schonlein Purpura : HSP) ที่หาพบได้ยากก็เป็นได้
ลองมาสังเกตอาการและหาคำตอบว่า โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา คือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุใด และหากเป็นแล้วจะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนกัน
ภาพจาก medicinenet.com
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา คืออะไร
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch-Schonlein Purpura) มีชื่อภาษาไทยว่า "โรคหลอดเลือดอักเสบ" หรือ "โรคเส้นเลือดอักเสบ" เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลัน โดยตั้งชื่อโรคตามนายแพทย์ชาวเยอรมัน 2 คน ที่ค้นพบอาการ คือ นายแพทย์ Johann Lukas Schönlein ซึ่งอธิบายอาการผิวหนังเป็นผื่นจ้ำที่เกิดเฉียบพลันร่วมกับข้ออักเสบเมื่อปี ค.ศ. 1837 และนายแพทย์ Eduard Heinrich Henoch ซึ่งอธิบายอาการปวดท้องและไตอักเสบเมื่อปี ค.ศ. 1874
ภาพจาก unckidneycenter.org
จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยจะพบในเด็กอายุ 6 ขวบ และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง พบในเด็กผิวขาวหรือชาวเอเชียมากกว่าผิวสี โดยในประเทศไทยพบโรคนี้ในอัตรา 22 คน ต่อประชากร 100,000 คน จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคหายาก
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา เกิดจากอะไร และยังไม่พบหลักฐานว่าถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่สันนิษฐานกันว่า โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบางชนิด ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาทางส่วนต่าง ๆ เช่น ตา ผิวหนัง ทางเดินอาหาร กระดูก และข้อ รวมทั้งไต
นอกจากนี้อาจมาจากปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่ไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติ, ถูกแมลงบางชนิดกัดต่อย, การรับประทานอาหารบางชนิด รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด หรือได้รับสารเคมีบางชนิด
ภาพจาก nhs.uk
เมื่อหลอดเลือดเกิดการอักเสบจากภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดการบวมขึ้น และทำให้โครงสร้างของหลอดเลือดเสียสภาพไป ทำให้มีการรั่วไหลของน้ำออกสู่เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง นำมาซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ แต่จะเป็นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย คือ
- มีผื่น เป็นลักษณะจ้ำแดง ๆ ม่วง ๆ ขึ้นตามผิวหนัง ขา เท้า แขน และก้น แต่ไม่มีอาการคัน
- ปวดตามข้อ ข้ออักเสบ โดยเฉพาะที่ข้อเท้า หัวเข่า (พบในผู้ป่วยร้อยละ 75-80) มักเป็นเฉียบพลัน และหายเองได้เป็นปกติ
- ปวดท้อง ซึ่งจะปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยบางคนอาจมีอาการอาเจียน มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือภาวะลำไส้กลืนกันร่วมด้วย (พบในผู้ป่วยร้อยละ 30-40)
- มีอาการทางไต เช่น ไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด หากเป็นหนักอาจถึงขั้นไตวายเสียชีวิต แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก
- ในบางเคสอาจมีอาการหลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดฉีกขาด ซึ่งหากเกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น สมอง ไต ปอด หรือหัวใจ ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนมาก่อน 1-3 สัปดาห์ เช่น มีไข้ต่ำ (ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส) อาจเป็นหวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากนั้นจึงแสดงอาการผื่นตามมา
วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเป็นโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา ?
นอกจากสังเกตอาการดังที่กล่าวมาแล้ว แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดขาว ตรวจปัสสาวะเพื่อสังเกตการทำงานของไต ตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจชิ้นเนื้อ ฯลฯ
ภาพจาก rch.org.au
สำหรับการรักษาโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา นั้น แพทย์จะรักษาตามอาการที่ปรากฏ พร้อมกับให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อควบคุมอาการหลักของโรคให้ทุเลาลง เช่น หากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเลือดจาง ซีด แพทย์ก็จะให้เลือด หากมีอาการทางไต แพทย์จะให้สเตียรอยด์ในการรักษา และแพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการปวดท้องและอาการทางไต ซึ่งหากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ลำไส้อุดตัน หรือไตเสียหายอย่างหนัก แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา อันตรายไหม ?
โรคนี้ไม่ใช่โรคระบาด หรือโรคติดต่อ ดังนั้น หากรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา ผู้ป่วยก็สามารถหายจากโรคนี้ได้ภายในเวลาไม่นาน คือประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่หากมีอาการแทรกซ้อน แพทย์ก็จะต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ต้องบอกว่า มีผู้ป่วยน้อยรายมากที่จะเสียชีวิตจากโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะอาการทางไต
อย่างไรก็ดี การเป็นโรคนี้ครั้งแรกอาจเป็นอยู่หลายเดือน และเมื่อรักษาหายดีแล้วก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองไว้ เพราะโรคนี้อาจกลับมาเป็นได้อีก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไทยพีบีเอส
มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
printo.it