โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย ภาวะอันตรายที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ แต่มักมีสัญญาณเตือนที่หากคนใกล้ชิดช่วยสังเกตก็ป้องกันได้
ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การจบชีวิตตัวเองอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่ต้องระแวดระวังไม่แพ้กันนั่นก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกรมสุขภาพจิตเคยระบุว่า ในจำนวนคนไทยที่ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 26.5% เนื่องจากเป็นวัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ จึงส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงวัยที่อาจคิดว่าตัวเองเป็นคนด้อยค่า เป็นภาระให้ลูกหลาน ขาดความมั่นใจในตัวเอง
กระปุกดอทคอม จึงอยากให้ผู้สูงอายุ รวมทั้งลูก ๆ หลาน ๆ หรือคนที่ต้องอยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ หมั่นสังเกตอาการเพื่อที่เราจะได้เฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้านั้นคุกคามจิตใจผู้สูงวัยจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สาเหตุมักเกิดจากอะไร
โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ก็อย่างเช่น ความเครียด พัฒนาการของจิตใจและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว และกรรมพันธุ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน แต่สำหรับผู้สูงอายุอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองบางชนิด ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
- ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย ใช้ชีวิตไม่ได้เหมือนเดิม จึงเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้น
- ความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
- การเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อสมองโดยตรงแต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด เป็นเรื้อรัง เช่น ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคไต ปวดข้อ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด เป็นต้น
- มีเหตุร้ายแรงสร้างความกระทบกระเทือนให้จิตใจ เช่น ต้องสูญเสียคู่ชีวิต สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การต้องเปลี่ยนบทบาทจากหัวหน้าผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม การสูญเสียสถานะ การเกษียณอายุราชการต้องออกจากงาน ทำให้ต้องปรับตัวกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ไม่มีเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งการที่ไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลานเนื่องจากเห็นว่าอายุมากแล้ว การไม่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในขีวิตได้ เป็นต้น
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาการเป็นอย่างไร
หากผู้สูงอายุรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้า หรือมีทั้งสองอาการ จนมีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น พฤติกรรมการนอน การกิน ฯลฯ ในระยะเวลาไม่นานมาก อาจเข้าข่ายแค่ "ภาวะซึมเศร้า" แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานาน ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็อาจพัฒนาเป็น "โรคซึมเศร้า" ได้ ดังนั้น ลูกหลานจึงควรสังเกตอาการของผู้ใหญ่ในบ้านว่ามีภาวะดังนี้ด้วยหรือไม่
- รู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่าง ๆ น้อยลง ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบ หรือหมดความสนใจไปเลย
- รู้สึกเศร้า หรือเสียใจอย่างไม่มีเหตุผล เสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ
- นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรือบางคนอาจนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน นอนขี้เซา
- รู้สึกหมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบาน ห่อเหี่ยว หดหู่ หรือเซ็ง
- เบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว ของที่เคยชอบกินกลับไม่อยากกิน น้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน เช่น ของหวาน ๆ แต่บางรายอาจมีอาการกินจุขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง กําลังวังชาลดน้อยถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม
- บางรายอาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือมีอาการมากกว่าอาการปกติของโรคนั้น ๆ
- เคลื่อนไหวช้าลง หรือในบางคนอาจเคลื่อนไหวมากขึ้น รู้สึกกระวนกระวาย
- รู้สึกตัวเองไร้ค่า รู้สึกผิด รู้สึกแย่กับตัวเอง คอยกล่าวโทษตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนที่เคยเป็น
- ไม่มีสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องใหม่ ๆ คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
- ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ความภาคภูมิใจในตนเองลดลง
- หากมีอาการมาก ๆ อาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บางรายจะคิดหรือพูดถึงความตายบ่อย ๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนทําร้ายร่างกาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย เช่น ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ยอมกินยาประจําตัว เพื่อปล่อยให้อาการทรุดลงจนเสียชีวิต
ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจว่าอาการนั้นเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ สามารถลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าข้างล่างนี้ดูได้ค่ะ
- เช็ก ! แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย รักษาได้อย่างไร
การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถทำได้หลายวิธี คือ
- รักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา โดยจะต้องกินยาต้านเศร้าต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใสขึ้น และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ยาจึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะกลับเป็นคนเดิม และแพทย์จะให้ยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน แต่ในรายที่เป็นบ่อยแพทย์อาจพิจารณาให้ยานานกว่านั้น
- รักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า
ในรายที่เป็นมากหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมาก ๆ แพทย์จะให้การรักษาด้วยไฟฟ้า เครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสมองทำให้ผู้ป่วยเกิดการชัก (convulsion) ภาวะซึมเศร้าจะหายได้อย่างรวดเร็ว (ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์) แต่แพทย์มักจะใช้ในรายที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
- รักษาด้วยการกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก
เป็นนวัตกรรมการรักษาทางจิตเวชและจิตประสาทที่กำลังได้รับความสนใจ โดยสนามแม่เหล็กที่เข้าสู่ร่างกายจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่ดีพอประมาณในภาวะซึมเศร้า
- รักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยา
ด้วยการเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วย และเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการบำบัดทางจิต เช่น หากเบื่อ ก็ให้หาอะไรทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จะช่วยให้ความคิดฟุ้งซ่านลดลง และอารมณ์จะดีขึ้น
ทั้งนี้เราสามารถเอาชนะอาการซึมเศร้าได้ด้วยการทำกิจกรรมอย่างเช่น...
- 13 วิธีเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้า ทำได้ง่ายจนคุณคาดไม่ถึง
ต้องทำอย่างไรถ้าผู้สูงอายุในบ้าน มีอาการโรคซึมเศร้า
หากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะซึมเศร้านาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ และบางรายอาจมีปัญหาความจำเสื่อม ซึ่งพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรดูแลตัวเอง ขณะที่ลูก ๆ หลาน ๆ ควรรู้แนวทางการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ ด้วยการ...
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้า
- หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้น
- ควรหาวิธีการผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนหรือครอบครัวบ่อย ๆ เพื่อระบายความเศร้าหรือเรื่องราวต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ
- พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถและบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
- ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
- เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปออกกำลังกายเป็นประจำ
- ไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
- กินของหวานให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลที่พอเหมาะ จะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยปรับอารมณ์ให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีขึ้น เพราะหากระดับน้ำตาลต่ำลง ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่น
ข้อปฏิบัติสำหรับลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
- สังเกตและติดตามอาการของผู้สูงอายุว่ามีภาวะซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน
- เปิดใจคุยกับผู้สูงอายุ และพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
- พยายามทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าว่าเกิดจากอะไร จะช่วยผู้ป่วยโรคนี้ได้อย่างไร
- ลูกหลานควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่คิดว่าตัวเองเป็นภาระ เช่น กิจกรรมดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน (ให้กินข้าว เดิน เลือกเสื้อผ้าที่อยากใส่เอง), กิจกรรมเพื่อการทำงาน (เลี้ยงลูกหลาน ทำงานเพื่อสังคม ไปวัด), กิจกรรมยามว่าง (ฟังเพลง อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย)
- ชวนผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกัน
- ผู้ดูแลต้องมีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุอาจมีอารมณ์กลับมาเป็นเด็กหรือหงุดหงิดง่าย ผู้ดูแลจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และพูดคุยด้วยความอ่อนโยน ไม่โวยวาย ไม่โต้เถียง แต่ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ
- เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขัดจังหวะเมื่อท่านอยากเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ลูกหลานควรใส่ใจ รับฟัง พูดคุยเป็นเพื่อน
- หากมีการพูดทำนองสั่งเสีย ไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรให้ท่านระบายความรู้สึกออกมา แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบจิตแพทย์ทันที เพราะท่านอาจทำร้ายตัวเองและมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูง
อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า เป็นอาการป่วยที่รักษาให้หายขาดได้ และการได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิดจะช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ดังนั้นลูกหลาน คนใกล้ตัว จึงต้องทำความเข้าใจโรคนี้ให้มาก แพทย์จึงมักจะให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมบำบัดด้วย โดยเข้ามาช่วยดูแล รับฟังปัญหา และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คอยให้กำลังใจผู้ป่วย คอยช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อที่อาการซึมเศร้าจะหายได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษา สามารถโทร. ไปที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 โทร. ฟรีได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- วารสารพยาบาลทหารบก
ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การจบชีวิตตัวเองอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่ต้องระแวดระวังไม่แพ้กันนั่นก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกรมสุขภาพจิตเคยระบุว่า ในจำนวนคนไทยที่ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 26.5% เนื่องจากเป็นวัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ จึงส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงวัยที่อาจคิดว่าตัวเองเป็นคนด้อยค่า เป็นภาระให้ลูกหลาน ขาดความมั่นใจในตัวเอง
กระปุกดอทคอม จึงอยากให้ผู้สูงอายุ รวมทั้งลูก ๆ หลาน ๆ หรือคนที่ต้องอยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ หมั่นสังเกตอาการเพื่อที่เราจะได้เฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้านั้นคุกคามจิตใจผู้สูงวัยจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ก็อย่างเช่น ความเครียด พัฒนาการของจิตใจและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว และกรรมพันธุ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน แต่สำหรับผู้สูงอายุอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองบางชนิด ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
- ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย ใช้ชีวิตไม่ได้เหมือนเดิม จึงเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้น
- ความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
- การเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อสมองโดยตรงแต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด เป็นเรื้อรัง เช่น ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคไต ปวดข้อ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด เป็นต้น
- มีเหตุร้ายแรงสร้างความกระทบกระเทือนให้จิตใจ เช่น ต้องสูญเสียคู่ชีวิต สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การต้องเปลี่ยนบทบาทจากหัวหน้าผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม การสูญเสียสถานะ การเกษียณอายุราชการต้องออกจากงาน ทำให้ต้องปรับตัวกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ไม่มีเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งการที่ไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลานเนื่องจากเห็นว่าอายุมากแล้ว การไม่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในขีวิตได้ เป็นต้น
หากผู้สูงอายุรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้า หรือมีทั้งสองอาการ จนมีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น พฤติกรรมการนอน การกิน ฯลฯ ในระยะเวลาไม่นานมาก อาจเข้าข่ายแค่ "ภาวะซึมเศร้า" แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานาน ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็อาจพัฒนาเป็น "โรคซึมเศร้า" ได้ ดังนั้น ลูกหลานจึงควรสังเกตอาการของผู้ใหญ่ในบ้านว่ามีภาวะดังนี้ด้วยหรือไม่
- รู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่าง ๆ น้อยลง ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบ หรือหมดความสนใจไปเลย
- รู้สึกเศร้า หรือเสียใจอย่างไม่มีเหตุผล เสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ
- นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรือบางคนอาจนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน นอนขี้เซา
- รู้สึกหมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบาน ห่อเหี่ยว หดหู่ หรือเซ็ง
- เบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว ของที่เคยชอบกินกลับไม่อยากกิน น้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน เช่น ของหวาน ๆ แต่บางรายอาจมีอาการกินจุขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง กําลังวังชาลดน้อยถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม
- บางรายอาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือมีอาการมากกว่าอาการปกติของโรคนั้น ๆ
- เคลื่อนไหวช้าลง หรือในบางคนอาจเคลื่อนไหวมากขึ้น รู้สึกกระวนกระวาย
- รู้สึกตัวเองไร้ค่า รู้สึกผิด รู้สึกแย่กับตัวเอง คอยกล่าวโทษตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนที่เคยเป็น
- ไม่มีสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องใหม่ ๆ คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
- ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ความภาคภูมิใจในตนเองลดลง
- หากมีอาการมาก ๆ อาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บางรายจะคิดหรือพูดถึงความตายบ่อย ๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนทําร้ายร่างกาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย เช่น ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ยอมกินยาประจําตัว เพื่อปล่อยให้อาการทรุดลงจนเสียชีวิต
ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจว่าอาการนั้นเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ สามารถลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าข้างล่างนี้ดูได้ค่ะ
- เช็ก ! แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถทำได้หลายวิธี คือ
- รักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา โดยจะต้องกินยาต้านเศร้าต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใสขึ้น และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ยาจึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะกลับเป็นคนเดิม และแพทย์จะให้ยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน แต่ในรายที่เป็นบ่อยแพทย์อาจพิจารณาให้ยานานกว่านั้น
- รักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า
ในรายที่เป็นมากหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมาก ๆ แพทย์จะให้การรักษาด้วยไฟฟ้า เครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสมองทำให้ผู้ป่วยเกิดการชัก (convulsion) ภาวะซึมเศร้าจะหายได้อย่างรวดเร็ว (ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์) แต่แพทย์มักจะใช้ในรายที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
- รักษาด้วยการกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก
เป็นนวัตกรรมการรักษาทางจิตเวชและจิตประสาทที่กำลังได้รับความสนใจ โดยสนามแม่เหล็กที่เข้าสู่ร่างกายจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่ดีพอประมาณในภาวะซึมเศร้า
- รักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยา
ด้วยการเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วย และเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการบำบัดทางจิต เช่น หากเบื่อ ก็ให้หาอะไรทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จะช่วยให้ความคิดฟุ้งซ่านลดลง และอารมณ์จะดีขึ้น
ทั้งนี้เราสามารถเอาชนะอาการซึมเศร้าได้ด้วยการทำกิจกรรมอย่างเช่น...
- 13 วิธีเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้า ทำได้ง่ายจนคุณคาดไม่ถึง
ต้องทำอย่างไรถ้าผู้สูงอายุในบ้าน มีอาการโรคซึมเศร้า
หากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะซึมเศร้านาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ และบางรายอาจมีปัญหาความจำเสื่อม ซึ่งพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรดูแลตัวเอง ขณะที่ลูก ๆ หลาน ๆ ควรรู้แนวทางการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ ด้วยการ...
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้า
- หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้น
- ควรหาวิธีการผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนหรือครอบครัวบ่อย ๆ เพื่อระบายความเศร้าหรือเรื่องราวต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ
- พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถและบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
- ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
- เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปออกกำลังกายเป็นประจำ
- ไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
- กินของหวานให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลที่พอเหมาะ จะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยปรับอารมณ์ให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีขึ้น เพราะหากระดับน้ำตาลต่ำลง ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่น
ข้อปฏิบัติสำหรับลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
- สังเกตและติดตามอาการของผู้สูงอายุว่ามีภาวะซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน
- เปิดใจคุยกับผู้สูงอายุ และพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
- พยายามทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าว่าเกิดจากอะไร จะช่วยผู้ป่วยโรคนี้ได้อย่างไร
- ลูกหลานควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่คิดว่าตัวเองเป็นภาระ เช่น กิจกรรมดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน (ให้กินข้าว เดิน เลือกเสื้อผ้าที่อยากใส่เอง), กิจกรรมเพื่อการทำงาน (เลี้ยงลูกหลาน ทำงานเพื่อสังคม ไปวัด), กิจกรรมยามว่าง (ฟังเพลง อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย)
- ชวนผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกัน
- ผู้ดูแลต้องมีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุอาจมีอารมณ์กลับมาเป็นเด็กหรือหงุดหงิดง่าย ผู้ดูแลจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และพูดคุยด้วยความอ่อนโยน ไม่โวยวาย ไม่โต้เถียง แต่ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ
- เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขัดจังหวะเมื่อท่านอยากเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ลูกหลานควรใส่ใจ รับฟัง พูดคุยเป็นเพื่อน
- หากมีการพูดทำนองสั่งเสีย ไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรให้ท่านระบายความรู้สึกออกมา แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบจิตแพทย์ทันที เพราะท่านอาจทำร้ายตัวเองและมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูง
อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า เป็นอาการป่วยที่รักษาให้หายขาดได้ และการได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิดจะช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ดังนั้นลูกหลาน คนใกล้ตัว จึงต้องทำความเข้าใจโรคนี้ให้มาก แพทย์จึงมักจะให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมบำบัดด้วย โดยเข้ามาช่วยดูแล รับฟังปัญหา และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คอยให้กำลังใจผู้ป่วย คอยช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อที่อาการซึมเศร้าจะหายได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษา สามารถโทร. ไปที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 โทร. ฟรีได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- วารสารพยาบาลทหารบก