ภาพจาก pixabay
โตแล้วจะกินกล้วยตอนไหนก็ได้ แต่บางคนกินกล้วยตอนท้องว่างไม่ได้ ! เพราะอะไรกันล่ะ แล้วเราควรกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด มาหาคำตอบกัน
กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หลายคนจึงเลือกกินกล้วยลดน้ำหนัก หรือกินกล้วยหลังออกกำลังกายเพื่อช่วยฟื้นฟูกำลังให้กลับมาสดชื่น แต่แหม...เห็นแชร์กันจังว่ากินกล้วยตอนท้องว่างอันตราย กินกล้วยตอนท้องว่างแล้วปวดท้อง เสี่ยงกรดไหลย้อนบ้างล่ะ กระปุกดอทคอมเลยต้องรีบมาเคลียร์ทุกข้อสงสัย เริ่มกันเลยดีกว่า...
ภาพจาก pixabay
กินกล้วยตอนท้องว่าง อันตราย ?
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคกระเพาะ ไม่ได้มีอาการของโรคกรดไหลย้อนมาก่อน การกินกล้วยตอนท้องว่างไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคุณ ๆ เลยค่ะ ที่สำคัญการกินกล้วยตอนท้องว่างก็ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคภัยใด ๆ กับร่างกาย อย่างข้อมูลที่แชร์กันว่า กินกล้วยตอนท้องว่างจะได้รับแมกนีเซียมสูง โพแทสเซียมสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคไต ข้อมูลนี้ก็ไม่จริง
โดย รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า แม้กล้วยจะมีแมกนีเซียมสูง แต่การกินกล้วยตอนท้องว่างก็ไม่ได้ไปเพิ่มระดับแมกนีเซียมในเลือดแบบปรู๊ดปร๊าดจนเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจอย่างที่กลัวกัน เพราะกล้วย 1 ลูกมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม จะประกอบด้วยแมกนีเซียมเพียง 43 มิลลิกรัมโดยประมาณ และลำไส้เล็กจะดูดซึมแมกนีเซียมเพียง 30% หรือประมาณ 12.3 มิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งก็ยังไม่เกินระดับแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ 700 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับการกินกล้วยตอนท้องว่างมากถึง 55 ลูกในครั้งเดียว (ซึ่งก็คงไม่มีใครกินกล้วยได้มากขนาดนั้นหรอกเนอะ)
ส่วนประเด็นที่แชร์กันว่ากินกล้วยตอนท้องว่างร่างกายจะได้รับโพแทสเซียมสูงจนเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือโรคไต รศ. ดร.เจษฎา ก็ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วไตของเราสามารถขับเกลือแร่ส่วนเกินต่าง ๆ ได้มากถึง 30,000 มิลลิกรัมต่อวัน และปริมาณโพแทสเซียมในกล้วย 1-2 ลูกก็ไม่ได้มีมากขนาดนั้น สรุปว่าการกินกล้วยตอนท้องว่างประมาณ 1-2 ลูกก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพแต่อย่างใดค่ะ
กินกล้วยตอนท้องว่าง ท้องอืด ?
แม้การกินกล้วยตอนท้องว่างจะไม่เกิดโทษกับบางคน แต่ในคนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคกรดไหลย้อนการกินกล้วยตอนท้องว่างก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง เสียด และจุกท้องเนื่องจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที
นอกจากนี้กล้วยยังมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายจำเป็นต้องย่อยเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล กระเพาะก็จะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก จึงทำให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารหรือโรคกรดไหลย้อนอาการกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นคนที่เป็นโรคกระเพาะ และโรคกรดไหลย้อนก็ไม่ควรกินกล้วยตอนท้องว่างนะคะ แต่สามารถกินกล้วยหลังรับประทานอาหารไปแล้วได้สบาย ๆ
กินกล้วยตอนไหนดีที่สุด
หลังจากมีประเด็นกินกล้วยตอนเช้า กินกล้วยตอนเย็น เต็มโชเซียลไปหมด ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นมาค่ะว่า วิธีกินกล้วยที่ถูกต้องมีข้อแนะนำบ้างไหม หรือเราควรกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด ?
จุดนี้เราเลยไปค้นหาคำตอบจาก ดร.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็ได้คำตอบมาว่า วิธีกินกล้วยให้ได้ประโยชน์มากที่สุดควรใส่ใจตั้งแต่การเลือกซื้อกล้วยกันเลยทีเดียวค่ะ โดย ดร.พรเทพ แนะนำว่า ควรจะเลือกซื้อกล้วยน้ำว้าลักษณะกึ่งสุกกึ่งห่าม (เปลือกกล้วยออกสีเขียวอ่อนปนเหลืองอ่อน ๆ) และควรเลือกหวีกล้วยที่มีกล้วยอยู่ 14-16 ลูกด้วยกัน ซึ่งจะเป็นกล้วยที่อยู่กึ่งกลางเครือ กล้วยแต่ละลูกจึงมีวิตามินและแร่ธาตุค่อนข้างเท่าเทียมกันทุกลูก ทว่าหากซื้อกล้วยต้นเครือ กล้วยหวีหนึ่งมีมากกว่า 16-19 ลูก วิตามินและแร่ธาตุในกล้วยแต่ละลูกอาจลดปริมาณลงตามสัดส่วนของกล้วยที่มีลูกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ ดร.พรเทพ ยังแนะนำว่า ควรกินกล้วยที่มีลักษณะสุกปานกลาง ไม่ห่ามเกินไปและไม่สุกมาก เนื่องจากกล้วยที่ห่ามเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องผูก และอาการท้องอืดได้ เพราะกล้วยห่ามจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมาก ส่งผลให้ร่างกายต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยไปเป็นน้ำตาลต่อไป เว้นเสียแต่ว่า กรณีนำกล้วยห่ามไปปิ้งจนสุกแล้วกิน กล้วยที่ถูกปิ้ง ผ่านความร้อน จะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กินไปแล้วร่างกายก็จะดูดซึมพลังงานจากกล้วยไปใช้ได้ทันที หมดปัญหาอาการท้องเสีย ท้องผูก และอาการท้องอืดไปได้
ที่สำคัญ การนำกล้วยห่าม ๆ ไปปิ้ง ยังจะช่วยให้กล้วยมีแคลเซียมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เหมาะกับสาววัย 40 ปีขึ้นไป ที่ร่างกายควรได้รับแคลเซียมเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนหลั่งลดน้อยลงนั่นเองค่ะ
ส่วนกล้วยที่งอมมากเกินไป ผิวเปลือกเหลืองจัดและเริ่มมีสีดำกระจายเป็นจุดเล็ก ๆ ดร.พรเทพ เตือนว่าไม่ควรกินแล้ว เนื่องจากกล้วยที่งอมเกินไป สุกเกินไป จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ และคนที่กำลังจะลดน้ำหนักจึงไม่ควรกินกล้วยสุกมาก ๆ นะคะ
คราวนี้มาถึงประเด็นกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด ดร.พรเทพ ก็แนะนำให้กินกล้วยน้ำว้าตอนเช้า 2 ลูกก่อนมื้ออาหาร ตอนเย็น 2 ลูกก่อนมื้ออาหาร ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเติมความสดชื่นโดยจะไม่รู้สึกอยากกินของหวาน ๆ เพิ่มสักเท่าไร และการกินกล้วย 2 ลูกก่อนมื้ออาหารยังจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มจนกินข้าวลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยกิน ได้ประโยชน์ในด้านลดความอ้วนไปอีกด้วย
แม้ว่ากล้วยจะเป็นผลไม้ที่เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีข้อควรระวังในการกินกล้วยด้วยเหมือนกัน ดังเช่นข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้นำเสนอไปนะคะ ดังนั้นรู้แล้วก็ควรกินกล้วยตามความเหมาะสมของตัวเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกล้วยได้อย่างเต็มที่ที่สุดเนอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการ Did you know
โตแล้วจะกินกล้วยตอนไหนก็ได้ แต่บางคนกินกล้วยตอนท้องว่างไม่ได้ ! เพราะอะไรกันล่ะ แล้วเราควรกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด มาหาคำตอบกัน
กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หลายคนจึงเลือกกินกล้วยลดน้ำหนัก หรือกินกล้วยหลังออกกำลังกายเพื่อช่วยฟื้นฟูกำลังให้กลับมาสดชื่น แต่แหม...เห็นแชร์กันจังว่ากินกล้วยตอนท้องว่างอันตราย กินกล้วยตอนท้องว่างแล้วปวดท้อง เสี่ยงกรดไหลย้อนบ้างล่ะ กระปุกดอทคอมเลยต้องรีบมาเคลียร์ทุกข้อสงสัย เริ่มกันเลยดีกว่า...
ภาพจาก pixabay
กินกล้วยตอนท้องว่าง อันตราย ?
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคกระเพาะ ไม่ได้มีอาการของโรคกรดไหลย้อนมาก่อน การกินกล้วยตอนท้องว่างไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคุณ ๆ เลยค่ะ ที่สำคัญการกินกล้วยตอนท้องว่างก็ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคภัยใด ๆ กับร่างกาย อย่างข้อมูลที่แชร์กันว่า กินกล้วยตอนท้องว่างจะได้รับแมกนีเซียมสูง โพแทสเซียมสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคไต ข้อมูลนี้ก็ไม่จริง
โดย รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า แม้กล้วยจะมีแมกนีเซียมสูง แต่การกินกล้วยตอนท้องว่างก็ไม่ได้ไปเพิ่มระดับแมกนีเซียมในเลือดแบบปรู๊ดปร๊าดจนเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจอย่างที่กลัวกัน เพราะกล้วย 1 ลูกมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม จะประกอบด้วยแมกนีเซียมเพียง 43 มิลลิกรัมโดยประมาณ และลำไส้เล็กจะดูดซึมแมกนีเซียมเพียง 30% หรือประมาณ 12.3 มิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งก็ยังไม่เกินระดับแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ 700 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับการกินกล้วยตอนท้องว่างมากถึง 55 ลูกในครั้งเดียว (ซึ่งก็คงไม่มีใครกินกล้วยได้มากขนาดนั้นหรอกเนอะ)
ส่วนประเด็นที่แชร์กันว่ากินกล้วยตอนท้องว่างร่างกายจะได้รับโพแทสเซียมสูงจนเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือโรคไต รศ. ดร.เจษฎา ก็ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วไตของเราสามารถขับเกลือแร่ส่วนเกินต่าง ๆ ได้มากถึง 30,000 มิลลิกรัมต่อวัน และปริมาณโพแทสเซียมในกล้วย 1-2 ลูกก็ไม่ได้มีมากขนาดนั้น สรุปว่าการกินกล้วยตอนท้องว่างประมาณ 1-2 ลูกก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพแต่อย่างใดค่ะ
แม้การกินกล้วยตอนท้องว่างจะไม่เกิดโทษกับบางคน แต่ในคนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคกรดไหลย้อนการกินกล้วยตอนท้องว่างก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง เสียด และจุกท้องเนื่องจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที
นอกจากนี้กล้วยยังมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายจำเป็นต้องย่อยเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล กระเพาะก็จะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก จึงทำให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารหรือโรคกรดไหลย้อนอาการกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นคนที่เป็นโรคกระเพาะ และโรคกรดไหลย้อนก็ไม่ควรกินกล้วยตอนท้องว่างนะคะ แต่สามารถกินกล้วยหลังรับประทานอาหารไปแล้วได้สบาย ๆ
กินกล้วยตอนไหนดีที่สุด
หลังจากมีประเด็นกินกล้วยตอนเช้า กินกล้วยตอนเย็น เต็มโชเซียลไปหมด ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นมาค่ะว่า วิธีกินกล้วยที่ถูกต้องมีข้อแนะนำบ้างไหม หรือเราควรกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด ?
จุดนี้เราเลยไปค้นหาคำตอบจาก ดร.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็ได้คำตอบมาว่า วิธีกินกล้วยให้ได้ประโยชน์มากที่สุดควรใส่ใจตั้งแต่การเลือกซื้อกล้วยกันเลยทีเดียวค่ะ โดย ดร.พรเทพ แนะนำว่า ควรจะเลือกซื้อกล้วยน้ำว้าลักษณะกึ่งสุกกึ่งห่าม (เปลือกกล้วยออกสีเขียวอ่อนปนเหลืองอ่อน ๆ) และควรเลือกหวีกล้วยที่มีกล้วยอยู่ 14-16 ลูกด้วยกัน ซึ่งจะเป็นกล้วยที่อยู่กึ่งกลางเครือ กล้วยแต่ละลูกจึงมีวิตามินและแร่ธาตุค่อนข้างเท่าเทียมกันทุกลูก ทว่าหากซื้อกล้วยต้นเครือ กล้วยหวีหนึ่งมีมากกว่า 16-19 ลูก วิตามินและแร่ธาตุในกล้วยแต่ละลูกอาจลดปริมาณลงตามสัดส่วนของกล้วยที่มีลูกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ ดร.พรเทพ ยังแนะนำว่า ควรกินกล้วยที่มีลักษณะสุกปานกลาง ไม่ห่ามเกินไปและไม่สุกมาก เนื่องจากกล้วยที่ห่ามเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องผูก และอาการท้องอืดได้ เพราะกล้วยห่ามจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมาก ส่งผลให้ร่างกายต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยไปเป็นน้ำตาลต่อไป เว้นเสียแต่ว่า กรณีนำกล้วยห่ามไปปิ้งจนสุกแล้วกิน กล้วยที่ถูกปิ้ง ผ่านความร้อน จะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กินไปแล้วร่างกายก็จะดูดซึมพลังงานจากกล้วยไปใช้ได้ทันที หมดปัญหาอาการท้องเสีย ท้องผูก และอาการท้องอืดไปได้
ที่สำคัญ การนำกล้วยห่าม ๆ ไปปิ้ง ยังจะช่วยให้กล้วยมีแคลเซียมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เหมาะกับสาววัย 40 ปีขึ้นไป ที่ร่างกายควรได้รับแคลเซียมเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนหลั่งลดน้อยลงนั่นเองค่ะ
ส่วนกล้วยที่งอมมากเกินไป ผิวเปลือกเหลืองจัดและเริ่มมีสีดำกระจายเป็นจุดเล็ก ๆ ดร.พรเทพ เตือนว่าไม่ควรกินแล้ว เนื่องจากกล้วยที่งอมเกินไป สุกเกินไป จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ และคนที่กำลังจะลดน้ำหนักจึงไม่ควรกินกล้วยสุกมาก ๆ นะคะ
คราวนี้มาถึงประเด็นกินกล้วยตอนไหนดีที่สุด ดร.พรเทพ ก็แนะนำให้กินกล้วยน้ำว้าตอนเช้า 2 ลูกก่อนมื้ออาหาร ตอนเย็น 2 ลูกก่อนมื้ออาหาร ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเติมความสดชื่นโดยจะไม่รู้สึกอยากกินของหวาน ๆ เพิ่มสักเท่าไร และการกินกล้วย 2 ลูกก่อนมื้ออาหารยังจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มจนกินข้าวลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยกิน ได้ประโยชน์ในด้านลดความอ้วนไปอีกด้วย
แม้ว่ากล้วยจะเป็นผลไม้ที่เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีข้อควรระวังในการกินกล้วยด้วยเหมือนกัน ดังเช่นข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้นำเสนอไปนะคะ ดังนั้นรู้แล้วก็ควรกินกล้วยตามความเหมาะสมของตัวเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกล้วยได้อย่างเต็มที่ที่สุดเนอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการ Did you know