กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย พ่อค้า แม่ค้า จำหน่ายอาหารปฏิบัติไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ฉีดยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในอาหาร
เป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
และอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ประชาชนผู้พบเห็นร้องเรียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโพสต์คลิปและข้อความว่ามีแม่ค้ากำลังฉีดยาฆ่าแมลงยี่ห้อหนึ่งเข้าไปในถาดตู้เก็บอาหารและบริเวณโดยรอบ จากนั้นเมื่อมีลูกค้ารายอื่นมาสั่งข้าวแม่ค้าจึงมาหั่นหมูและให้บริการลูกค้าโดยไม่ได้ล้างมือก่อนนั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสุขลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดท้องถิ่น หากไม่ปฎิบัติหรือปฎิบัติไม่ถูกต้องจะมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดท้องถิ่น มีโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ทั้งนี้ ประชาชนผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายการปลอมปนอาหารเพื่อจำหน่ายที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
การให้ความใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้จำหน่ายอาหารในตลาดสด ตลาดนัดร้านอาหารและแผงลอย ควรตระหนักถึงความสะอาดของสถานที่จำหน่าย การเลือกวัตถุดิบ การล้างทำความสะอาดอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ และสุขวิทยาส่วนบุคคลของพ่อค้า แม่ค้า ผู้ปรุงอาหารส่วนผู้บริโภคเองก็ควรเลือกซื้ออาหารจากสถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานราชการ เช่น ป้ายมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean Food Good Taste ป้ายตลาดสด น่าซื้อ เป็นต้นนอกจากนั้น ควรสังเกตร้านที่ผู้จำหน่ายอาหารแต่งกายสะอาด สวมหมวกคลุมผม ตัดเล็บสั้น ไม่ใส่เครื่องประดับที่มือ ล้างมือก่อนสัมผัสอาหารทุกครั้ง ภาชนะใส่อาหารสะอาดจัดเก็บเป็นระเบียบ และตู้จำหน่ายอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วต้องเป็นตู้ที่สามารถป้องกันฝุ่น แมลงวันได้ที่สำคัญควรเลือกซื้อและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือมีการอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนนำมาบริโภค
"พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปรุงอาหาร ตลอดจนผู้เสิร์ฟอาหารนั้น ต้องมีความตระหนักในเรื่องสุขลักษณะที่ดีในการปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนจากอันตรายต่าง ๆ เช่น กรณียาฆ่าแมลงดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ทุกคนควรได้รับการอบรมตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารเพื่อให้มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารสุขวิทยาส่วนบุคคล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถขอเข้ารับการอบรมได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
กรมอนามัย
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโพสต์คลิปและข้อความว่ามีแม่ค้ากำลังฉีดยาฆ่าแมลงยี่ห้อหนึ่งเข้าไปในถาดตู้เก็บอาหารและบริเวณโดยรอบ จากนั้นเมื่อมีลูกค้ารายอื่นมาสั่งข้าวแม่ค้าจึงมาหั่นหมูและให้บริการลูกค้าโดยไม่ได้ล้างมือก่อนนั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสุขลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดท้องถิ่น หากไม่ปฎิบัติหรือปฎิบัติไม่ถูกต้องจะมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดท้องถิ่น มีโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ทั้งนี้ ประชาชนผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายการปลอมปนอาหารเพื่อจำหน่ายที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
การให้ความใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้จำหน่ายอาหารในตลาดสด ตลาดนัดร้านอาหารและแผงลอย ควรตระหนักถึงความสะอาดของสถานที่จำหน่าย การเลือกวัตถุดิบ การล้างทำความสะอาดอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ และสุขวิทยาส่วนบุคคลของพ่อค้า แม่ค้า ผู้ปรุงอาหารส่วนผู้บริโภคเองก็ควรเลือกซื้ออาหารจากสถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานราชการ เช่น ป้ายมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean Food Good Taste ป้ายตลาดสด น่าซื้อ เป็นต้นนอกจากนั้น ควรสังเกตร้านที่ผู้จำหน่ายอาหารแต่งกายสะอาด สวมหมวกคลุมผม ตัดเล็บสั้น ไม่ใส่เครื่องประดับที่มือ ล้างมือก่อนสัมผัสอาหารทุกครั้ง ภาชนะใส่อาหารสะอาดจัดเก็บเป็นระเบียบ และตู้จำหน่ายอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วต้องเป็นตู้ที่สามารถป้องกันฝุ่น แมลงวันได้ที่สำคัญควรเลือกซื้อและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือมีการอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนนำมาบริโภค
"พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปรุงอาหาร ตลอดจนผู้เสิร์ฟอาหารนั้น ต้องมีความตระหนักในเรื่องสุขลักษณะที่ดีในการปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนจากอันตรายต่าง ๆ เช่น กรณียาฆ่าแมลงดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ทุกคนควรได้รับการอบรมตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารเพื่อให้มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารสุขวิทยาส่วนบุคคล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถขอเข้ารับการอบรมได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
กรมอนามัย