ผักและผลไม้เป็นอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
การกินผักและผลไม้ให้เป็นประจำทุกวันไม่ต่ำกว่า 400
กรัมตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้
จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ แต่การจะกินผักให้มีประโยชน์นั้นสิ่งสำคัญคือ ผักต้องสด สะอาด พร้อมที่จะนำไปประกอบอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
1. กลุ่มผักเน่าเสียง่าย
เช่น เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม ผักเหล่านี้มักเหี่ยวง่ายและเหลืองอย่างรวดเร็ว แม้จะเก็บอยู่ในตู้เย็นก็ไม่ช่วยยืดอายุมากนัก ทางที่ดีที่สุดคือ บรรจุผักในถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น โดยถุงพลาสติกจะต้องสะอาดและแห้ง จะช่วยให้เก็บผักได้นานขึ้น 5-7 วัน
2. กลุ่มผักที่เก็บได้ในระยะเวลาจํากัด
เช่น ผักกาดขาว ผักคะน้า มะเขือเทศ และผักอื่นๆ ผักกลุ่มนี้ควรเก็บไว้ในห้องเย็นหรือตู้เย็น โดยผักใบ ถั่วลันเตา ถั่วแขก ควรแยกใส่ถุงพลาสติก แล้วเก็บในอุณหภูมิ 7-8 องศาเซลเซียส จะช่วยให้คงความสดได้นานขึ้น
3. กลุ่มผักที่เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่น
ผักกลุ่มนี้มักมีเปลือกหนา เช่น ฟัก เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น หากเก็บรักษาระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องนำเข้าตู้เย็นหรือห้องเย็น โดยเฉพาะฟักทอง และถ้าเก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น แห้ง มีการถ่ายเทที่ดี จะสามารถเก็บได้นาน2-3 เดือน แต่ถ้าผักถูกใช้ไปบางส่วนแล้วใช้ไม่หมดจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น โดยต้องปล่อยให้ผิวรอยตัดแห้งเสียก่อน และเก็บได้นานเพียง1 สัปดาห์เท่านั้น และผักหัวประเภทแครอท หัวผักกาด ควรตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิเช่นนั้นจะทำให้ความหวานในหัวผักลดลง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเก็บรักษาผัก
- ไม่ควรเก็บผักและผลไม้ไว้รวมกัน จะทำให้เกิดการเน่าและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
- การเก็บผักด้วยวิธีแช่น้ำ ไม่ควรแช่ผักลงในน้ำทั้งต้น เพราะจะทำให้วิตามินละลายน้ำเสียไป ถ้าต้องการ- เก็บด้วยวิธีนี้ให้แช่เฉพาะส่วนโคนหรือส่วนรากในภาชนะ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำคลุมไว้ โดยหมั่นชุบผ้าให้ชื้นอยู่เสมอ
- การเก็บผักเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ในครัวและเก็บในตู้เย็นนั้น ควรล้างผักที่เก็บให้สะอาดก่อน เพราะผักที่ซื้อจากตลาดขายปลีกมักไม่สะอาด ถ้ายังไม่ใช้ทันทีให้ล้างทั้งต้นด้วยน้ำสะอาด แล้วผึ่งสะเด็ดน้ำจริงๆ จึงเอาเข้าเก็บในลิ้นชักตู้เย็น และควรแยกผักใส่ถุงพลาสติกเป็นหมวดหมู่ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น
เพราะ สสส.เห็นความสำคัญของการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ ฯลฯ ดังนั้นตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจึงเกิดการขับเคลื่อนงาน ไม่ว่าจะเป็น ด้านวิชาการ สร้างสื่อเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเรื่องของการปลูก ตลอดจนการจำหน่าย เช่น โครงการผักสีเขียว โครงการสวนผักคนเมือง ฯลฯ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
สสส.
1. กลุ่มผักเน่าเสียง่าย
เช่น เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม ผักเหล่านี้มักเหี่ยวง่ายและเหลืองอย่างรวดเร็ว แม้จะเก็บอยู่ในตู้เย็นก็ไม่ช่วยยืดอายุมากนัก ทางที่ดีที่สุดคือ บรรจุผักในถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น โดยถุงพลาสติกจะต้องสะอาดและแห้ง จะช่วยให้เก็บผักได้นานขึ้น 5-7 วัน
2. กลุ่มผักที่เก็บได้ในระยะเวลาจํากัด
เช่น ผักกาดขาว ผักคะน้า มะเขือเทศ และผักอื่นๆ ผักกลุ่มนี้ควรเก็บไว้ในห้องเย็นหรือตู้เย็น โดยผักใบ ถั่วลันเตา ถั่วแขก ควรแยกใส่ถุงพลาสติก แล้วเก็บในอุณหภูมิ 7-8 องศาเซลเซียส จะช่วยให้คงความสดได้นานขึ้น
3. กลุ่มผักที่เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่น
ผักกลุ่มนี้มักมีเปลือกหนา เช่น ฟัก เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น หากเก็บรักษาระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องนำเข้าตู้เย็นหรือห้องเย็น โดยเฉพาะฟักทอง และถ้าเก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น แห้ง มีการถ่ายเทที่ดี จะสามารถเก็บได้นาน2-3 เดือน แต่ถ้าผักถูกใช้ไปบางส่วนแล้วใช้ไม่หมดจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น โดยต้องปล่อยให้ผิวรอยตัดแห้งเสียก่อน และเก็บได้นานเพียง1 สัปดาห์เท่านั้น และผักหัวประเภทแครอท หัวผักกาด ควรตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิเช่นนั้นจะทำให้ความหวานในหัวผักลดลง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเก็บรักษาผัก
- ไม่ควรเก็บผักและผลไม้ไว้รวมกัน จะทำให้เกิดการเน่าและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
- การเก็บผักด้วยวิธีแช่น้ำ ไม่ควรแช่ผักลงในน้ำทั้งต้น เพราะจะทำให้วิตามินละลายน้ำเสียไป ถ้าต้องการ- เก็บด้วยวิธีนี้ให้แช่เฉพาะส่วนโคนหรือส่วนรากในภาชนะ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำคลุมไว้ โดยหมั่นชุบผ้าให้ชื้นอยู่เสมอ
- การเก็บผักเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ในครัวและเก็บในตู้เย็นนั้น ควรล้างผักที่เก็บให้สะอาดก่อน เพราะผักที่ซื้อจากตลาดขายปลีกมักไม่สะอาด ถ้ายังไม่ใช้ทันทีให้ล้างทั้งต้นด้วยน้ำสะอาด แล้วผึ่งสะเด็ดน้ำจริงๆ จึงเอาเข้าเก็บในลิ้นชักตู้เย็น และควรแยกผักใส่ถุงพลาสติกเป็นหมวดหมู่ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น
เพราะ สสส.เห็นความสำคัญของการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ ฯลฯ ดังนั้นตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจึงเกิดการขับเคลื่อนงาน ไม่ว่าจะเป็น ด้านวิชาการ สร้างสื่อเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเรื่องของการปลูก ตลอดจนการจำหน่าย เช่น โครงการผักสีเขียว โครงการสวนผักคนเมือง ฯลฯ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
สสส.