สัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย หากคนข้างกายจับสังเกตได้ ก็มีโอกาสช่วยชีวิตและเยียวยาจิตใจคนกำลังจะคิดสั้นได้มาก มาเช็กลางบอกเหตุกันค่ะ
ใครต่างก็ทราบกันดีว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหา ทว่าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า บางครั้งด้วยอาการ “ป่วย” ก็ผลักดันให้เขามีแนวโน้มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูง ยืนยันจากสถิติที่ระบุว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และยิ่งสภาพสังคมในปัจจุบันที่ถูกกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม หรือแม้การกลั่นแกล้งกันในโลกโซเชียลอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง พร้อมกันนั้นก็ทำให้อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนข้างกายจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์คิดสั้นเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ โดยสังเกตสัญญาณฆ่าตัวตายต่อไปนี้
1. ประสบปัญหาชีวิตบางอย่าง
โดยเฉพาะคนที่เจอกับความพลิกผันหนัก ๆ หรือเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว สูญเสียคนรักกะทันหัน ผิดหวังกับการงาน การเรียน หรือต้องตกอยู่ในสถานะคนพิการจากอุบัติเหตุ เป็นต้น คนในกลุ่มนี้มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะรู้สึกท้อแท้กับชีวิต รู้สึกเครียดสะสม หรือไม่สามารถปรับตัวต่อการแก้ไขปัญหาในชีวิตได้ จนอาจนำไปสู่การคิดสั้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
2. ใช้สุราหรือยาเสพติด
ถ้าพบว่าคนใกล้ตัวหรือตัวเราเองมีพฤติกรรมดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคย หรืออาจจะเคยแต่ช่วงหลังมานี้เริ่มดื่มหนักขึ้น หรือเสพมากขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเขากำลังเครียดหนัก และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร จึงอาจใช้เหล้าและสารเสพติดเพื่อคลายกลุ้ม
3. มีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย
หากมีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย ก็เป็นไปได้สูงว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่นอาจคิดสั้นและทำร้ายตัวเองได้ ฉะนั้นต้องเฝ้าระวังให้ดีค่ะ
4. แยกตัว ไม่พูดกับใคร
บางคนอาจไม่โวยวาย ไม่ตัดพ้อ แต่กลับมีพฤติกรรมเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวมากขึ้น พูดจาประหยัดคำกว่าเดิม และดูไม่ค่อยอยากสุงสิงกับใครแม้กระทั่งเพื่อนและคนในครอบครัว
5. นอนไม่หลับ
ภาวะนอนไม่หลับเป็นเวลานาน ๆ อาจเข้าข่ายอาการโรคซึมเศร้า หรือโรคเครียด ซึ่งความเครียดและความรุนแรงของโรคซึมเศร้านั้นรบกวนจนร่างกายไม่สามารถหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเคสแบบนี้ก็ควรต้องเฝ้าระวังใจให้ดีเช่นกัน
6. หน้าตาเศร้าหมอง พูดจาด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
นี่ก็จัดเป็นสัญญาณความเครียดและความไม่สบายใจที่สังเกตเห็นได้เด่นชัด โดยคนที่มีความกังวล หรืออาจมีสติสัมปชัญญะที่ไม่เต็มร้อยนัก อาจมีอาการแสดงออกด้วยน้ำเสียงที่มีความกังวลปนอยู่ หรือใบหน้าที่เศร้าหมองอย่างหนัก
7. ชอบพูดว่าอยากตาย
ไม่ว่าจะเป็นการบ่นตัดพ้อ โพสต์โซเชียล หรือเขียนข้อความทิ้งไว้ที่ไหนในทำนองว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ขอไม่ตื่นอีกเลยได้ไหม ไม่มีใครรัก ชีวิตไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ ลาก่อน หรือพูดทำนองว่าทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง รู้สึกตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น ถ้าปรากฏข้อความแนว ๆ นี้บ่อยครั้ง ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจฆ่าตัวตายสูง
8. มีอารมณ์แปรปรวน
อารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นได้กับบางคน ทว่าหากเป็นกรณีที่อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เหวี่ยงบ่อย ซึมบ้าง รวมทั้งรู้สึกหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกให้ทราบว่า คนผู้นั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ไม่น้อย
9. เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นการพยายามฆ่าตัวตายด้วยวิธีไหน หรืออาจจะแค่เคยลองหาวิธีฆ่าตัวตายมาก่อน ต้องเฝ้าระวังให้ดีเลยค่ะ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้
10. มีการวางแผนการฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า
หากมีการจัดการงานเรียบร้อย หรือมีพูดฝากฝังอะไรกับคนรอบข้าง รวมทั้งเอาของใช้ ของสะสมของตัวเองมาแจกจ่ายคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าบุคคลผู้นั้นกำลังวางแผนจะลาโลกนี้ไป ให้เอะใจไว้บ้างก็ดีค่ะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายสัญญาณหรือแม้แต่หนึ่งสัญญาณดังกล่าว คนรอบข้างก็ควรให้ความสนใจและเฝ้าดูความเคลื่อนไหว พร้อมทั้งรับฟังเค้าอย่างเข้าใจ ไม่ต่อว่า ไม่ท้าทายให้ทำร้ายตัวเอง หรือไล่ให้ไปตายจริง ๆ เพราะความเข้าใจ และการรับฟัง จะช่วยเยียวยาจิตใจของคนที่คิดอยากฆ่าตัวตายได้มาก หรือทางที่ดี จะพาเขาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าและคลายปัญหาที่มีอยู่ก็ได้นะคะ
นอกจากนี้ หากพบสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนรอบข้างขึ้นมาจริง ๆ ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็มีคำแนะนำดี ๆ มาเป็นแนวทางปฏิบัติ มาดูกันค่ะว่า เมื่อพบเห็นสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนข้างกาย เราจะทำยังไงกันดี
8 สิ่งที่ควรรีบทำ เมื่อเห็นสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล
1. แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ รับฟังปัญหาของเขาอย่างตั้งใจ หรือให้คำแนะนำอย่างจริงใจ
2. ยอมรับว่าสิ่งที่เขาโพสต์นั้นเป็นปัญหาของเขาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
3. ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขา และทำให้เขาเห็นว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขและผ่านไปได้
4. พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา ปลอบใจให้เขามีสติ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา
5. ชักชวนให้เขาออกมาทำกิจกรรมข้างนอก พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว
6. ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติเขาให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และพยายามให้เขาอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่เขาอาจเตรียมไว้ทำร้ายตัวเอง
7. แนะนำช่องทางการขอรับคำปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือคลินิกให้การปรึกษา
8. ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊กจิตเวช รามา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เฟซบุ๊กกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ใครต่างก็ทราบกันดีว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหา ทว่าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า บางครั้งด้วยอาการ “ป่วย” ก็ผลักดันให้เขามีแนวโน้มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูง ยืนยันจากสถิติที่ระบุว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และยิ่งสภาพสังคมในปัจจุบันที่ถูกกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม หรือแม้การกลั่นแกล้งกันในโลกโซเชียลอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง พร้อมกันนั้นก็ทำให้อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนข้างกายจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์คิดสั้นเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ โดยสังเกตสัญญาณฆ่าตัวตายต่อไปนี้
1. ประสบปัญหาชีวิตบางอย่าง
โดยเฉพาะคนที่เจอกับความพลิกผันหนัก ๆ หรือเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว สูญเสียคนรักกะทันหัน ผิดหวังกับการงาน การเรียน หรือต้องตกอยู่ในสถานะคนพิการจากอุบัติเหตุ เป็นต้น คนในกลุ่มนี้มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะรู้สึกท้อแท้กับชีวิต รู้สึกเครียดสะสม หรือไม่สามารถปรับตัวต่อการแก้ไขปัญหาในชีวิตได้ จนอาจนำไปสู่การคิดสั้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
2. ใช้สุราหรือยาเสพติด
ถ้าพบว่าคนใกล้ตัวหรือตัวเราเองมีพฤติกรรมดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคย หรืออาจจะเคยแต่ช่วงหลังมานี้เริ่มดื่มหนักขึ้น หรือเสพมากขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเขากำลังเครียดหนัก และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร จึงอาจใช้เหล้าและสารเสพติดเพื่อคลายกลุ้ม
3. มีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย
หากมีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย ก็เป็นไปได้สูงว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่นอาจคิดสั้นและทำร้ายตัวเองได้ ฉะนั้นต้องเฝ้าระวังให้ดีค่ะ
บางคนอาจไม่โวยวาย ไม่ตัดพ้อ แต่กลับมีพฤติกรรมเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวมากขึ้น พูดจาประหยัดคำกว่าเดิม และดูไม่ค่อยอยากสุงสิงกับใครแม้กระทั่งเพื่อนและคนในครอบครัว
5. นอนไม่หลับ
ภาวะนอนไม่หลับเป็นเวลานาน ๆ อาจเข้าข่ายอาการโรคซึมเศร้า หรือโรคเครียด ซึ่งความเครียดและความรุนแรงของโรคซึมเศร้านั้นรบกวนจนร่างกายไม่สามารถหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเคสแบบนี้ก็ควรต้องเฝ้าระวังใจให้ดีเช่นกัน
6. หน้าตาเศร้าหมอง พูดจาด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
นี่ก็จัดเป็นสัญญาณความเครียดและความไม่สบายใจที่สังเกตเห็นได้เด่นชัด โดยคนที่มีความกังวล หรืออาจมีสติสัมปชัญญะที่ไม่เต็มร้อยนัก อาจมีอาการแสดงออกด้วยน้ำเสียงที่มีความกังวลปนอยู่ หรือใบหน้าที่เศร้าหมองอย่างหนัก
7. ชอบพูดว่าอยากตาย
ไม่ว่าจะเป็นการบ่นตัดพ้อ โพสต์โซเชียล หรือเขียนข้อความทิ้งไว้ที่ไหนในทำนองว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ขอไม่ตื่นอีกเลยได้ไหม ไม่มีใครรัก ชีวิตไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ ลาก่อน หรือพูดทำนองว่าทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง รู้สึกตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น ถ้าปรากฏข้อความแนว ๆ นี้บ่อยครั้ง ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจฆ่าตัวตายสูง
8. มีอารมณ์แปรปรวน
อารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นได้กับบางคน ทว่าหากเป็นกรณีที่อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เหวี่ยงบ่อย ซึมบ้าง รวมทั้งรู้สึกหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกให้ทราบว่า คนผู้นั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ไม่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นการพยายามฆ่าตัวตายด้วยวิธีไหน หรืออาจจะแค่เคยลองหาวิธีฆ่าตัวตายมาก่อน ต้องเฝ้าระวังให้ดีเลยค่ะ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้
10. มีการวางแผนการฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า
หากมีการจัดการงานเรียบร้อย หรือมีพูดฝากฝังอะไรกับคนรอบข้าง รวมทั้งเอาของใช้ ของสะสมของตัวเองมาแจกจ่ายคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าบุคคลผู้นั้นกำลังวางแผนจะลาโลกนี้ไป ให้เอะใจไว้บ้างก็ดีค่ะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายสัญญาณหรือแม้แต่หนึ่งสัญญาณดังกล่าว คนรอบข้างก็ควรให้ความสนใจและเฝ้าดูความเคลื่อนไหว พร้อมทั้งรับฟังเค้าอย่างเข้าใจ ไม่ต่อว่า ไม่ท้าทายให้ทำร้ายตัวเอง หรือไล่ให้ไปตายจริง ๆ เพราะความเข้าใจ และการรับฟัง จะช่วยเยียวยาจิตใจของคนที่คิดอยากฆ่าตัวตายได้มาก หรือทางที่ดี จะพาเขาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าและคลายปัญหาที่มีอยู่ก็ได้นะคะ
นอกจากนี้ หากพบสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนรอบข้างขึ้นมาจริง ๆ ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็มีคำแนะนำดี ๆ มาเป็นแนวทางปฏิบัติ มาดูกันค่ะว่า เมื่อพบเห็นสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนข้างกาย เราจะทำยังไงกันดี
8 สิ่งที่ควรรีบทำ เมื่อเห็นสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล
1. แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ รับฟังปัญหาของเขาอย่างตั้งใจ หรือให้คำแนะนำอย่างจริงใจ
2. ยอมรับว่าสิ่งที่เขาโพสต์นั้นเป็นปัญหาของเขาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
3. ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขา และทำให้เขาเห็นว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขและผ่านไปได้
4. พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา ปลอบใจให้เขามีสติ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา
5. ชักชวนให้เขาออกมาทำกิจกรรมข้างนอก พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว
6. ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติเขาให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และพยายามให้เขาอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่เขาอาจเตรียมไว้ทำร้ายตัวเอง
7. แนะนำช่องทางการขอรับคำปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือคลินิกให้การปรึกษา
8. ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊กจิตเวช รามา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เฟซบุ๊กกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข