กรุ๊ปเลือด O อาจเจ็บป่วยโรคไหนได้มากกว่าคนอื่นบ้าง ลองมาดูงานวิจัยที่ระบุว่า นี่คือสิ่งที่คนมีเลือดกรุ๊ปโออาจเจอมากกว่าใคร !
กรุ๊ปเลือด หรือหมู่เลือด มีความสำคัญกับสุขภาพมากกว่าที่คิดนะคะ และไม่ได้สำคัญแค่ตอนอยากรับหรือบริจาคเลือดเท่านั้น แต่กรุ๊ปเลือดยังช่วยให้เราทำนายสุขภาพตัวเองได้คร่าว ๆ ด้วย เช่น รู้ว่าเรามีความเสี่ยงโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือโรคภูมิเพี้ยน (Autoimmune diseases) ไหม ช่วยทำนายความเสี่ยงโรครูมาตอยด์ได้ หรืออย่างในช่วงโควิด 19 ที่มีงานวิจัยออกมาบอกเหมือนกันว่า กรุ๊ปเลือดไหนเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุด
อย่างในวันนี้เราก็ไปเจองานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคนเลือดกรุ๊ปโอมา มาดูกันว่าคนหมู่เลือดนี้มีความเสี่ยงโรคไหนมากกว่าหมู่เลือดอื่น ๆ
ปัญหาสุขภาพเลือดกรุ๊ปโอ
มีอะไรบ้าง
ท้องอืด แน่นท้อง
แผลในกระเพาะอาหาร
ลองโควิด
งานวิจัยจากประเทศสเปน
พบว่า
คนเลือดกรุ๊ปโอมีความเสี่ยงจะเกิดอาการลองโควิดมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น ๆ ถึง
6 เท่า และยังพบอาการผิดปกติต่าง ๆ มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น ๆ ด้วย
เนื่องจากคนเลือดกรุ๊ปโอจะมีค่าสารเคมีในเลือดที่นำไปสู่การเกิดกระบวนการอักเสบมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นนั่นเอง
เช็กอาการลองโควิด (Long Covid) ใครเสี่ยง มีอะไรบ้างที่อาจกระทบสุขภาพไปอีกยาว
มีบุตรยาก
นักวิทยาศาสตร์จาก Yale University และ Albert Einstein College of Medicine ได้ทำการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีเลือดกรุ๊ป O มีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยากมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นถึง 2 เท่า เนื่องจากมีการผลิตฮอร์โมน FSH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่มากเกินไป ทว่าการมีฮอร์โมน FSH อยู่มาก นั่นแสดงว่ารังไข่ผลิตไข่ได้น้อยลง ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง โอกาสมีบุตรจึงน้อยลงไปด้วย แต่ทั้งนี้ การประเมินประสิทธิภาพการผลิตเซลล์ไข่ของร่างกายยังมีอีกหลายวิธีที่น่าเชื่อถือกว่าการวัดฮอร์โมน FHS จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
อีกหนึ่งโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ซึ่งอาจพบได้ไม่บ่อยนัก แต่จากการศึกษาเมื่อปี 2017 ที่ตีพิมพ์ใน National
Library of Medicine พบว่า
คนมีเลือดกรุ๊ปโอเสี่ยงป่วยโรคนี้มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น ๆ
กลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน (Steven-Johnson Syndrome : SJS)
จากการศึกษาเมื่อปี 2017 ที่ตีพิมพ์ใน National Library of Medicine พบว่า คนเลือดกรุ๊ปโอมีความเสี่ยงป่วยด้วยกลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน ที่มีผลมาจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองไวกว่าปกติ ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย โดยมีปัจจัยกระตุ้น เช่น ยารักษาโรคบางชนิด การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา รวมไปถึงโรคมะเร็ง
โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto)