นอนเปิดแอร์เย็นฉ่ำ แต่เหงื่อก็ออกเยอะจนตัวเปียกชุ่มไปหมด เราติดโควิดโอมิครอนยังนะ หรืออาการนี้เป็นสัญญาณของโรคอื่น
เหงื่อออกตอนกลางคืน อาการเป็นอย่างไร
เวลาอากาศร้อน ใส่เสื้อผ้าหนา หรือห่มผ้าห่มหนาเกินไป อาจทำให้เหงื่อออกตอนนอนหลับได้ เพราะเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
แต่สำหรับใครที่มีอาการเหงื่อออกชุ่มหลัง เปียกที่นอน จับผ้าห่มก็ชื้น หรือต้องตื่นกลางดึกเพราะรู้สึกร้อน ที่นอนชุ่มไปด้วยเหงื่อ ทั้งที่ห้องนอนก็เย็นฉ่ำ อากาศไม่ได้ร้อนหรืออุ่นสักนิด และมีเราที่เหงื่อออกตอนนอนอยู่คนเดียว (ในกรณีที่มีคนนอนด้วย) ลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะจัดว่ามีอาการเหงื่อออกเยอะตอนกลางคืน ซึ่งควรต้องสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยว่ามีอะไรที่ควรต้องกังวลไหม
นอกจากสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปแล้ว อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนขณะนอนหลับยังเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ โดยจำแนกสาเหตุได้ ดังนี้
เกิดจากพฤติกรรมทำเหงื่อออกตอนกลางคืน
- นอนทั้งที่ไม่อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ หรือเสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกอึดอัดตอนนอน
- เครียด เมื่อเครียดมาก ๆ ร่างกายจะกระตุ้นต่อมเหงื่ออะโพไครน์ (Apocrine glands) ที่อยู่บริเวณซอกหลืบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เหงื่อออกตามซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ง่ามขา มากกว่าปกติ และเหงื่อที่ออกมาก็มักจะทำให้เกิดกลิ่นตัวจากไขมันและแบคทีเรียในร่างกายด้วย
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาต้านเศร้า ยาแอสไพริน ยาแก้ปวด (Acetaminophen) ยารักษาเบาหวาน ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด รวมไปถึงยาสเตียรอยด์
- การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กัญชา หรือการใช้สารเสพติด หากรับเข้าร่างกายมาก ๆ อาจทำให้มีเหงื่อออกเยอะกว่าปกติ และเหงื่อออกตอนกลางคืนได้
เกิดจากภาวะผิดปกติของร่างกาย
- วัยหมดประจำเดือน
ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน เวียนศีรษะ
และมีเหงื่อออกตอนกลางคืนได้
- ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ด้วย
ท้องเสียบ่อย น้ำหนักลด กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ระวังป่วยไทรอยด์เป็นพิษ
- การติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งมักจะมีไข้ ตัวร้อน และทำให้มีเหงื่อออกตอนนอนได้
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ภาวะไฮโปไกลซีเมีย ที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนอ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากกินของหวาน รู้สึกร้อนวูบวาบ เหงื่อแตกบ่อย ๆ รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในคนที่ฉีดอินซูลิน หรือรับประทานยารักษาเบาหวาน
- ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) ซึ่งทำให้มีเหงื่อออกมากแทบจะตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนนอนหลับ
*ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักมีเหงื่อออกตอนกลางคืน ร่วมกับการนอนกรน นอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย สะดุ้งตื่นกลางดึก
- ความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบประสาทได้ ต่อมเหงื่อจึงอาจทำงานมากผิดปกติไป ซึ่งก็จะมีเหงื่อออกมากทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน
อย่างไรก็ตาม ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนค่อนข้างมาก อาจพบอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ด้วย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสัญญาณอันตรายแต่อย่างใดนะคะ
เกิดจากโรคที่เป็นอยู่
- โรคกรดไหลย้อน
มีการศึกษาพบว่า อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนพบได้ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
ซึ่งก็จะมีอาการแสบร้อนกลางอก จุกลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว ร่วมด้วยนะคะ
- โรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบประสาทได้
ทำให้มีเหงื่อออกมากและเกิดอาการมือสั่น
พาร์กินสันแท้ VS พาร์กินสันเทียม ต่างกันอย่างไร ทำความเข้าใจโรคพาร์กินสัน
- วัณโรค และโรคฝีในท้อง ทำให้มีไข้ ตัวร้อน และเหงื่อออกตอนนอน
- โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อ HIV ในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ติดเชื้อ ป่วย มีไข้ ตัวร้อนได้ง่าย และอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืนได้
- โรคหัวใจล้มเหลว
สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลวคือ อาการเหงื่อออกมากผิดปกติ
เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด หมดสติ และอาการจะมาแบบเฉียบพลัน
รู้ทันภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไม่อยากเสี่ยงตาย ต้องเช็กให้ไว !
- โรคมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ซึ่งควรต้องสังเกตอาการตัวเองให้ดีว่ามีน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุหรือไม่
หรืออ่อนเพลีย มีไข้ไม่หายหรือเปล่า
- โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน
ซึ่งพบอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ร่วมกับอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล
จาม ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ และปวดหลังส่วนล่าง
เช็กอาการโอมิครอนที่พบได้ ต่างจากเดลตาตรงไหน วัคซีนป้องกันได้ไหม ?
จริง ๆ แล้วเราพอจะหลีกเลี่ยงภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ โดยปฏิบัติดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณการดื่ม
- ดื่มกาแฟอย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีนในวันที่ดื่มกาแฟด้วย
เซอร์ไพรส์เลย ! อาหารพวกนี้ก็มีคาเฟอีนแฝงอยู่ ถึงไม่ดื่มกาแฟก็หนีไม่พ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด
- เข้านอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับ ไม่ร้อนจนเกินไป
- เลือกใช้เครื่องนอนที่ช่วยระบายความร้อนได้ดี หรือมีแผ่นเจลเย็นช่วยระบายความร้อน
- ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนจนเสี่ยงปัญหาสุขภาพ
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคภัยให้ไกล
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเสมอ เพราะเสี่ยงโรคอะไรจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ