10 วิธีแนะกรวดน้ำที่ถูกต้อง บุญรักษา ให้ผลดีต่อชีวีต

10 วิธีแนะกรวดน้ำที่ถูกต้อง บุญรักษา ให้ผลดีต่อชีวีต

การเข้าวัดทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน เป็นพิธีที่นิยมกระทำกันมา เมื่อเราได้ทำบุญเสร็จในทุกๆครั้ง การกรวดน้ำก็เป็นสิ่งที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไปแล้วที่เรานึกถึงให้ได้รับผลบุญที่เราได้ตั้งใจทำไปให้ วันนี้เราได้มี 10 กรวดน้ำแบบถูกต้องทำให้ทนเพื่อที่จะส่งผลดีต่อชีวิต

10 วิธีกรวดน้ำที่ถูกต้อง

1 การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ

กรวดน้ำเปียก คือใช้น้ำในการเป็นสื่อ รินน้ำลงบนภาชนะพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย

กรวดน้ำแห้ง คือการไม่ใช้น้ำ ใช้แต่มือของเราพนมมือแล้วอธิษฐานอุทิศผลบุญกุศลไปให้

2 การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ

อุทิศผลบุญแบบเจาะจง คือ การชื่อที่ท่านตั้งใจจะทำให้ท่านได้รับ เช่น พ่อแม่หรือใครก็ได้ที่ตัวท่านเองตั้งใจส่งผลบุญไปให้ การอุทิศแบบไม่เจาะจง คือ การกล่าวรวมกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้าก ร ร มนายเวร เป็นต้น ทางที่ดีควรกล่าวทั้ง 2 อย่าง

3 น้ำที่ใช้กรวด

น้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำเปล่าที่สะอาด ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น และเมื่อกรวดน้ำเสร็จเป็นที่เรียบร้อยก็นำไปรดที่โคนต้นไม้ใหญ่ อย่ารินน้ำลงในกระโถนหรือที่ที่สก ป ร ก

4 น้ำเป็นสื่อ ดินเป็นพยาน

การกรวดน้ำนั้น ไม่ใช่การอุทิศไปให้ผู้ที่จากไปแล้วได้กินน้ำ แต่เราจะใช้น้ำเป็นสื่อใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญครั้งนี้ที่ได้ทำ

5 ควรกรวดน้ำตอนเวลาไหนดี

ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า

6 ควรรินน้ำตอนไหน

ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา…” และรินให้หมดเมื่อพระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา…” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพีติโย วิวัชชันตุ…” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง

7 ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร

ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ …. (ออกชื่อผู้จากไป) …. และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

หรือจะใช้แต่ภาษาไ ท ย อย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้าก ร ร มนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้

8 อย่าทำน้ำส ก ป ร กด้วยการเอานิ้วไปรอไว้

หลายคนได้ทำผิดวิธี ด้วยการเอานิ้วมือไปรองรับเอาไว้ ควรที่จะรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรเกาะกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆให้เจ้าภาพหรือประธานรินน้ำกรวดเพียงผู้เดียวหรือคู่เดียวก็พอ นอกจากนั้นก็ให้พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้

9 การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ

มีจิตใจที่สงบและควรสำรวมจิตใจ ไม่คิดเรื่องใดให้มาฟุ้งซ่าน ผลบุญและการอุทิศส่วนบุญมีอานิสงส์มาก ผลบุญที่เราได้อุทิศไปให้ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังเป็นของเราอยู่ครบถ้วน

10 บุญเป็นของกายสิทธิ์

การทำบุญอุทิศส่วนผลบุญกุศลไปให้ ยิ่งให้มากยิ่งอุทิศให้คนอื่นมาก เราก็ยิ่งจะได้ผลบุญเหล่านั้นมากด้วยเช่นกัน

ขอขอบคุณ : dharma.thaiware