ใครเป็นตะคริวบ่อยๆต้องอ่าน! สูตรแก้ตะคริวที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้านง่ายๆ

ตะคริว (Muscle cramps) หมายถึง อาการเกร็งตัวหรือหดเกร็งที่ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ ร่วมกับมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง แต่จะเป็นอยู่เพียงชั่วขณะแล้วอาการจะทุเลาลงไปเอง ตะคริวอาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ อาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ โดยมักเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย ขณะเดิน หรือในขณะนั่งพักหรือนอนพักเป็นเวลานานๆ

เหตุผล – ตะคริวไม่ถือเป็นอาการที่ร้ายแรงทางการแพทย์ เพราะมันสามารถเกิดจากปัญหาสุขภาพได้หลายสาเหตุ ภาวะขาดน้ำคือหนึ่งในนั้น ในเวลาอื่นๆ ตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือเกิดจากโรคเท้าแบน ในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้น พวกเขาจะถูกบ่งชี้ว่าเป็นโรคไต

ตะคริวเกิดขึ้นเนื่องมาจากผลของการฝึกหนัก กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ และขาดการออกกำลังกายเป็นระยะเวลานาน

ในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น มันอาจเกิดมาจากผลของการกินยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ และสเตียรอยด์ ขณะเดียวกัน การขาดโพแทสเซียมในร่างกายหรือสภาพอากาศหนาวเย็นก็สามารถทำให้เกิดตะคริวได้

สาเหตุการเป็นตะคริว

ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แท้จริงของการเกิดตะคริว แต่จากการศึกษาเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่ายเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไป นอกจากนั้นยังเชื่อว่าอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้วตะคริวจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Idiopathic cramps) แต่มีเพียงส่วนน้อยที่พอทราบสาเหตุอยู่บ้าง (Secondary cramps) ซึ่งมักจะเกิดจากการนั่ง ยืน หรือทำงานอยู่ในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปหรือจนกล้ามเนื้ออ่อนล้าหรืออ่อนแรง การออกกำลังที่ใช้แรงจนเกินกำลัง ออกกำลังกายที่ไม่คุ้นเคย หรือออกกำลังกายติดต่อกันนาน ๆ (เช่น การว่ายน้ำ วิ่งทางไกล การเล่นกีฬาหนัก การยกของหนัก หรือในการงานอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ) การออกกำลังหรือทำงานในที่ที่มีอากาศร้อน หรือการออกกำลังกายโดยที่ไม่ได้อบอุ่นร่างกาย นอกจากนี้ตะคริวยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่

  • การดื่มน้ำน้อย ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ (มักเป็นสาเหตุในผู้สูงอายุ)

  • การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงมักขาดน้ำรวมทั้งกล้ามเนื้อ

  • เกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เซลล์ทุกชนิดในร่างกายเสื่อมถอยลง ซึ่งรวมถึงเซลล์เนื้อ จึงมักพบอาการนี้ได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ

  • สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง รวมทั้งการขาดการออกกำลังยืดกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อตึงจนเกิดเป็นตะคริว

  • ภาวะการตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก

  • ภาวะเกลือแร่ในเลือดต่ำ หรือร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ที่ใช้ในการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม จากอาการท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมากจากการทำงาน การเล่นกีฬา อากาศที่ร้อน หรือจากโรคเรื้อรังของอวัยวะที่ควบคุมเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง

  • การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระทบกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretic drugs), ยาลดไขมัน (Nicotinic acid), ไนเฟดิพีน (Nifedipine – ยาลดความดัน), ซาลบูทามอล (Salbutamol – ยาขยายหลอดลม), ไซเมทิดีน (Cimetidine – ยารักษาโรคกระเพาะ), เพนิซิลลามีน (Penicillamine), ฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine), ราโลซิฟีน (Raloxifene), มอร์ฟีน, สเตียรอยด์ ฯลฯ

  • ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน จึงส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี กล้ามเนื้อจึงขาดเลือด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้สูบบุหรี่จัด อาจเป็นตะคริวที่ขาได้บ่อยในขณะที่ออกกำลัง เดินเป็นเวลานาน ๆ หรือเดินเป็นระยะทางไกล ๆ หรือเป็นในขณะที่อากาศเย็นตอนดึกหรือเช้ามืดเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี

  • รากประสาทถูกกด เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังแคบ (Spinal stenosis) ที่ส่งผลให้ประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการตะคริวที่น่องในขณะเดินเป็นเวลานาน ๆ หรือเดินเป็นระยะทางไกล ๆ

  • ตะคริวที่พบร่วมกับโรคเรื้อรังหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน, โรคโลหิตจาง, โรคเบาหวาน (ทำให้เกิดความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย), ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, โรคของต่อมไทรอยด์ ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ (เกิดความผิดปกติทางฮอร์โมน และรวมไปถึงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งเป็นยาฮอร์โมน), โรคตับและโรคไต ตับแข็ง ไตวาย (เพราะตับและไตมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย) เป็นต้น

สูตรแก้ตะคริวที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้าน

1.ดีเกลือ ดีเกลือมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านทั่วๆไปและช่วยรักษากล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้ดี ใส่ดีเกลือลงในอ่างน้ำร้อนและคนให้เข้ากัน แช่ในน้ำเป็นเวลา 20 นาทีเพื่อบรรเทาอาการปวด หากคุณทำแล้วไม่ได้ผลในครั้งแรก ทำซ้ำอีกครั้งในวันถัดไป

2.มัสตาร์ดเหลือง เพราะมัสตาร์ดเหลืองเต็มไปด้วยแมกนีเซียม มีประโยชน์อย่างมากในการรักษาตะคริวที่ขา มัสตาร์ดคือตัวช่วยที่น่ามหัศจรรย์ นักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนใช้มันเมื่อพวกเขาเป็นตะคริว โดยทั่วไปแล้วคุณควรบริโภคมัสตาร์ดครั้งละสองช้อนเพื่อรักษาอาการขาเป็นตะคริว

มัสตาร์ดมีกรดอะซิติก ซึ่งเป็นตัวผลิตแอซิติลโคลีนในร่างกาย สารนี้จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระปรี้ประเปร่าและช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี

3.สูตรบรรเทาอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว

  • ออริกาโน หนึ่งช้อนโต๊ะ

  • โรสแมรี่ หนึ่งช้อนโต๊ะ

  • เมล็ดโป๊ยกั๊ก หนึ่งช้อนโต๊ะ

  • กานพลู หนึ่งช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการเตรียม : นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในน้ำร้อนสองถ้วยตวง และนำไปเคี่ยว เมื่อน้ำลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ดื่มน้ำที่เหลืออยู่ เวลาที่ดีที่สุดในการบริโภคคือก่อนนอน

หมายเหตุ : เพื่อหลีกเลี่ยงอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว อย่าปล่อยให้ร่างกายของคุณขาดน้ำ และนี่ยังช่วยคุณควบคุมปัญหาในเรื่องของการขับเหงื่อและคลื่นความร้อนอีกด้วย

แหล่งอ้างอิง : healthyfoodhouse.com