ที่เต่ง ๆ อยู่ทุกวันนี้เราอาจไม่ได้อ้วนก็เป็นได้
แต่มีอาการบวมน้ำครอบงำร่างกายอยู่
ดังนั้นเช็กด่วนเลยค่ะว่านี่อ้วนหรือบวมน้ำ
แล้วหากบวมน้ำต้องจัดการกับภาวะนี้ยังไงให้หายบวม
อาการบวมน้ำ คืออะไร
อาการบวมน้ำเป็นภาวะที่ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้ในเซลล์มากเกินไป ส่งผลให้เซลล์เกิดอาการบวมให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยบางคนมีอาการหน้าบวม ตาบวม ท้องป่อง หรือแขน ขา เท้า บวม เป็นต้น
อาการบวมน้ำ สาเหตุเกิดจากอะไร
โดยปกติร่างกายเราจะมีกลไกรักษาสมดุลระดับน้ำในเซลล์อยู่แล้ว แต่กระนั้นก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลในการรักษาระดับน้ำในเซลล์ไป โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำก็ตามนี้เลย
6. ยา
อาการบวมน้ำ
เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายที่ทำให้หลายคนสับสนกันมานักต่อนัก
ตกลงที่เราตึง ๆ ร่างกันอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะบวมน้ำหรืออ้วนกันแน่
เช็กเลยค่ะจะได้รู้กันไป
แล้วถ้าแน่ใจว่าไม่ได้อ้วนแค่บวมน้ำก็มาแก้อาการบวมน้ำกัน
อาการบวมน้ำเป็นภาวะที่ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้ในเซลล์มากเกินไป ส่งผลให้เซลล์เกิดอาการบวมให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยบางคนมีอาการหน้าบวม ตาบวม ท้องป่อง หรือแขน ขา เท้า บวม เป็นต้น
อาการบวมน้ำ สาเหตุเกิดจากอะไร
โดยปกติร่างกายเราจะมีกลไกรักษาสมดุลระดับน้ำในเซลล์อยู่แล้ว แต่กระนั้นก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลในการรักษาระดับน้ำในเซลล์ไป โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำก็ตามนี้เลย
1. กินโซเดียมมากเกินไป
โซเดียมเป็นเครื่องปรุงที่อยู่ในอาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง
และอาหารแทบทุกชนิดที่มีส่วนผสมของผงชูรส เมื่อเรากินเข้าไปมาก ๆ
เราจะรู้สึกหิวน้ำ จนต้องดื่มน้ำเข้าไปมาก ๆ
ทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้ในปริมาณที่มากเกินไป
กว่าไตจะขับออกมาก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง จึงทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้
2. นั่ง ยืน หรือนอนมากเกินไป
การที่ร่างกายไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวมีส่วนทำให้เกิดภาวะคั่งของน้ำในเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะใครที่ยืนนาน ๆ จะสังเกตเห็นได้ว่าเท้าบวม หรือคนที่นั่งเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกไปไหน ทั้งเท้าและขาก็อาจมีอาการบวมน้ำได้เช่นกัน
3. บวมน้ำจากฮอร์โมน
2. นั่ง ยืน หรือนอนมากเกินไป
การที่ร่างกายไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวมีส่วนทำให้เกิดภาวะคั่งของน้ำในเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะใครที่ยืนนาน ๆ จะสังเกตเห็นได้ว่าเท้าบวม หรือคนที่นั่งเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกไปไหน ทั้งเท้าและขาก็อาจมีอาการบวมน้ำได้เช่นกัน
3. บวมน้ำจากฮอร์โมน
ในช่วงวันนั้นของเดือนจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน
อันเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ตัวบวม
เนื่องจากร่างกายกักเก็บของเหลวไว้มากกว่าปกติ
4. ดื่มน้ำน้อย
4. ดื่มน้ำน้อย
อย่าหลงคิดว่าการดื่มน้ำน้อย ๆ
จะช่วยลดอาการบวมน้ำให้เราได้
เพราะยิ่งร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ปริมาณโซเดียมจากอาหารที่กินเข้าไปก็จะยิ่งไม่ถูกขับออกมา
ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำได้ง่าย ๆ เลยล่ะ
5. อดนอน
5. อดนอน
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยสนับสนุนให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ
ของร่างกายเป็นปกติดี แต่เมื่อไรก็ตามที่เรานอนน้อย นอนไม่พอ
อดนอนติดต่อกันหลาย ๆ วัน ก็อาจส่งผลให้ระบบต่าง ๆ
ของร่างกายเกิดอาการเรรวนได้นะคะ โดยเฉพาะคนที่นอนดึกก็กินดึก กินหนัก
กินอาหารขยะเป็นส่วนใหญ่ เคสนี้ก็จะเจอกับอาการบวมน้ำได้มากขึ้น
6. ยา
ยาคุมกำเนิดบางยี่ห้อที่มีปริมาณเอสโตรเจนสูงจะส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำในสาว
ๆ ได้ อีกทั้งยาสเตียรอยด์
และยาบางประเภทก็อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดภาวะบวมน้ำด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม อาการบวมน้ำมักจะเกิดกับร่างกายในช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับสมดุลของตัวเองอยู่ ทว่าสำหรับคนที่มีอาการบวมเกิน 2 สัปดาห์ อาจมีสาเหตุอื่นแอบแฝงนะคะ เพราะโรคบางชนิดก็ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำขึ้นได้ เช่น โรคหัวใจ เพราะเลือดไหลเวียนไม่สะดวกทำให้เกิดอาการบวมน้ำขึ้น โรคไต ตับแข็ง โรคเท้าช้าง ไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ รวมทั้งภาวะที่มีโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้เกิดการสะสมคั่งของเกลือและน้ำ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการบวมน้ำที่เป็นอยู่โดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม อาการบวมน้ำมักจะเกิดกับร่างกายในช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับสมดุลของตัวเองอยู่ ทว่าสำหรับคนที่มีอาการบวมเกิน 2 สัปดาห์ อาจมีสาเหตุอื่นแอบแฝงนะคะ เพราะโรคบางชนิดก็ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำขึ้นได้ เช่น โรคหัวใจ เพราะเลือดไหลเวียนไม่สะดวกทำให้เกิดอาการบวมน้ำขึ้น โรคไต ตับแข็ง โรคเท้าช้าง ไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ รวมทั้งภาวะที่มีโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้เกิดการสะสมคั่งของเกลือและน้ำ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการบวมน้ำที่เป็นอยู่โดยเร็วที่สุด
เช็กให้ชัวร์ อ้วนหรือบวมน้ำ
การแยกว่าตัวเองอ้วนจริง ๆ หรือแค่บวมน้ำก็สังเกตได้ไม่ยากค่ะ ดังนี้
1. มีอาการบวมเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทั้ง ๆ ที่มีพฤติกรรมการกินเท่าเดิม
2. ใช้นิ้วกดบริเวณข้อเท้าด้านใน หลังเท้า หรือหน้าแข้ง นานสัก 15 วินาที แล้วสังเกตว่าเนื้อบุ๋มลงไปอย่างเห็นได้ชัดหรือไม่ หากเนื้อบุ๋มเป็นร่องนิ้วที่กดลงไป ก็แปลว่ามีอาการบวมน้ำอยู่ แต่ถ้าเนื้อแน่น กดไม่บุ๋ม ก็แปลว่าอ้วนนะจ๊ะ
3. อาการบวมเกิดขึ้นไม่นาน และก็มักจะหายได้เอง โดยสามารถกลับมาบวมใหม่ได้อีก
ทั้งนี้หากรู้สึกว่าอึดอัดตัวแปลก ๆ ให้เช็กลิสต์ก่อนค่ะว่าประจำเดือนกำลังจะมาหรือเปล่า หรือตอนนี้กินยาอะไรบางอย่างอยู่ไหม ร่วมกับชั่งน้ำหนักตัวเองดู และสังเกตว่าอาการบวมนั้นอยู่กับเรานานเท่าไรด้วยนะคะ
การแยกว่าตัวเองอ้วนจริง ๆ หรือแค่บวมน้ำก็สังเกตได้ไม่ยากค่ะ ดังนี้
1. มีอาการบวมเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทั้ง ๆ ที่มีพฤติกรรมการกินเท่าเดิม
2. ใช้นิ้วกดบริเวณข้อเท้าด้านใน หลังเท้า หรือหน้าแข้ง นานสัก 15 วินาที แล้วสังเกตว่าเนื้อบุ๋มลงไปอย่างเห็นได้ชัดหรือไม่ หากเนื้อบุ๋มเป็นร่องนิ้วที่กดลงไป ก็แปลว่ามีอาการบวมน้ำอยู่ แต่ถ้าเนื้อแน่น กดไม่บุ๋ม ก็แปลว่าอ้วนนะจ๊ะ
3. อาการบวมเกิดขึ้นไม่นาน และก็มักจะหายได้เอง โดยสามารถกลับมาบวมใหม่ได้อีก
ทั้งนี้หากรู้สึกว่าอึดอัดตัวแปลก ๆ ให้เช็กลิสต์ก่อนค่ะว่าประจำเดือนกำลังจะมาหรือเปล่า หรือตอนนี้กินยาอะไรบางอย่างอยู่ไหม ร่วมกับชั่งน้ำหนักตัวเองดู และสังเกตว่าอาการบวมนั้นอยู่กับเรานานเท่าไรด้วยนะคะ
วิธีแก้อาการบวมน้ำ ทำยังไงดี
1. ลดกินเค็ม ลดอาหารรสจัด
1. ลดกินเค็ม ลดอาหารรสจัด
2. ลดอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และอาหารขยะทั้งหลาย รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 1-2 ลิตร ด้วยการจิบทีละน้อย เพื่อให้ปริมาณน้ำในร่างกายสมดุล แล้วน้ำจะช่วยให้เราขับปัสสาวะและเจือจางความเค็มออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
4. หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายขับโซเดียมออกมาทางเหงื่อ
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. นอนยกเท้าขึ้นสูงกว่าศีรษะ เพื่อให้น้ำที่คั่งอยู่ที่ขาและเท้าไหลกลับสู่ไต รอการกำจัดออกได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการบวมที่เกิดขึ้นกับร่างกายยังสามารถบอกโรคที่เป็นอยู่ได้ ดังนั้นหากมีอาการบวมนานเกิน 2 สัปดาห์ ยังไงก็รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาโรคที่เป็นอยู่นะคะ ส่วนคนที่รู้ชัด ๆ ว่าบวมน้ำแน่ ๆ ก็ลองแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอันดับแรก กิน อยู่แบบเฮลธ์ตี้สักพัก อาการบวมน้ำก็จะลดลงเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 1-2 ลิตร ด้วยการจิบทีละน้อย เพื่อให้ปริมาณน้ำในร่างกายสมดุล แล้วน้ำจะช่วยให้เราขับปัสสาวะและเจือจางความเค็มออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
4. หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายขับโซเดียมออกมาทางเหงื่อ
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. นอนยกเท้าขึ้นสูงกว่าศีรษะ เพื่อให้น้ำที่คั่งอยู่ที่ขาและเท้าไหลกลับสู่ไต รอการกำจัดออกได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการบวมที่เกิดขึ้นกับร่างกายยังสามารถบอกโรคที่เป็นอยู่ได้ ดังนั้นหากมีอาการบวมนานเกิน 2 สัปดาห์ ยังไงก็รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาโรคที่เป็นอยู่นะคะ ส่วนคนที่รู้ชัด ๆ ว่าบวมน้ำแน่ ๆ ก็ลองแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอันดับแรก กิน อยู่แบบเฮลธ์ตี้สักพัก อาการบวมน้ำก็จะลดลงเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก