หากกำลังเป็นแบบนี้ ทิ้งของไม่ลง เก็บของไว้รกเต็มบ้าน

หากกำลังเป็นแบบนี้ ทิ้งของไม่ลง เก็บของไว้รกเต็มบ้าน

เคยเป็นกันหรือเปล่า มีของใช้ไว้เต็มบ้าน แต่พอจะเก็บบ้านจัดของ ก็กลับตัดใจทิ้งไม่ลงสักที พอคิดว่าสักวันจะได้ใช้ประโยชน์ ก็นึกเสียดายขึ้นมาซะงั้น จนสุดท้ายก็มีของกองเต็มบ้านไปหมด แถบไม่มีที่จะเดิน ถ้าคุณกำลังเป็นความรู้สึกแบบนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงเป็น โ ร ค จิ ต ประเภทหนึ่งได้เลย

ทางเพจ ส ม า ค ม จิ ต แ พ ท ย์ แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ได้ให้ข้อมูลว่า อาการทิ้งของไม่ลง เป็นอาการที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช เมื่อปี พ.ศ. 2556 นี้เอง ด้วยเหตุว่าเป็น โ ร ค ใหม่ ในภาษาไทยจึงไม่มีศัพท์ที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ จึงตั้งชื่อให้เข้าใจแบบง่ายๆว่า “ โ ร ค ทิ้ ง ข อ ง ไ ม่ ล ง ” หรือ “ โ ร ค เ ก็ บ ส ะ ส ม ข อ ง ” จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า จะพบเจอได้บ่อยราว 2-5% ในกลุ่มบุคคลปกติทั่วไป และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนโสด โดยอาจเริ่มมีอาการมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยวัยรุ่น จนถึงเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน

มีอาการอย่างไรบ้าง…?

1. เก็บของไว้มากเกินไป แม้ว่าของนั้นจะดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือ มีโอกาสใช้ประโยชน์น้อยมาก

2. มีความลำบากในการทำใจที่จะทิ้งของ หรือ ตัดใจทิ้งของไม่ได้ โดยส่วนใหญ่เกิดจากความคิด… เสียดาย , อาจจะได้ใช้ , ยังอาจจำเป็นต้องใช้ ( ทั้งๆ ที่เก็บทิ้งไว้เป็นปีจนลืมก็ไม่เคยได้หยิบออกมาใช้ ) หรือ ทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ ก็เลยไม่ทิ้ง

3. ของที่สะสมมีเยอะมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือ ทำให้เกิด อั น ต ร า ย เช่น วางบนพื้นห้องจนไม่มีที่เดิน , วางท่วมล้นบนโต๊ะทำงานจนทำงานบนโต๊ะไม่ได้ หรือ สะสมสิ่งของไว้เยอะจนส่งผลต่อสุขภาพ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างคนปกติ กับผู้ป่ว ย โ ร ค เก็บสะสมของ

กรณีของคนปกติ หลายคนอาจจะของเก็บของสะสมบางอย่างที่ชอบมากๆ แต่คนปกตินั้นจะเก็บของที่ตัวเองชอบไว้จำนวนหนึ่งที่ไม่มากจนเกินไป จนกระทบกับสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เก็บไว้อย่างเป็นที่เป็นทาง อาจจะมีพื้นที่บางส่วนไว้เก็บโดยเฉพาะเพื่อไม่ให้บ้านรก

กรณีผู้ป่วย จะเก็บสะสมของเอาไว้มากซะจนส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตของตัวเอง และไม่ได้เก็บแค่ของบางอย่าง แต่จะเก็บไว้เกือบทุกอย่าง จนล้นกองเต็มบ้านโดยไม่สามารถจัดให้เป็นที่เป็นทางอย่างเรียบร้อยได้อีกต่อไป

โ ร คเก็บสะสมของ มีสาเหตุมาจากอะไร?

จากการศึกษาเท่าที่ผ่านมาพบว่า 80% เป็น โ ร คที่สามารถถ่ายทอดได้ผ่านพันธุกรรม โดยผู้ป่ว ยมีญาติสายโลหิตตรงที่มีอาการในลักษณะเดียวกัน บางรายเป็นกลไกทาง จิ ต ที่ชดเชยจากการวิตกกังวล เก็บของไว้เยอะๆ รู้สึกอุ่นใจ นอกจากนี้ประสา ท สมองบางส่วนทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยสมองในเรื่องของการคิด และตัดสินใจ จึงทำให้ผู้ป่ว ยมีความย า ก ลำบากในการตัดใจที่จะทิ้งของบางอย่าง

ผู้ป่ว ยส่วนใหญ่มักจะพบในวัยผู้ใหญ่ อาจเป็นผลข้างเคียงมาจาก โ ร ค ท า ง ส ม อ ง อื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น โ ร ค ส ม อ ง เ สื่ อ ม เป็นต้น แต่โดยรวมยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามาจากสาเหตุใดเป็นหลัก

โ ร คเก็บสะสมของ มีวิธีรักษาอย่างไร?

แพทย์จะพิจารณาจากอาการดูก่อน จากนั้นจะ รั ก ษ าโดยใช้ย าที่อยู่ในกลุ่มของย า ต้ า น อาการซึมเศร้ า และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสอนให้ทิ้งของที่ไม่จำเป็น เก็บของให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ผู้ป่ว ยฝึกตัดใจทิ้งของที่ไม่จำเป็นเรื่อยๆ อาจเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี

แต่ผู้ป่ว ยหลายรายที่รับการบำบัด เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ก็จะกลับมาสะสมของได้ใหม่เรื่อยๆ อีกเช่นกัน ดังนั้นคนที่อยู่รอบข้างผู้ป่ว ยต้องเป็นคนคอยกระตุ้น และฝึกให้แยกแยะสิ่งของจำเป็น หรือไม่จำเป็นให้ชัดเจนไป

ขอขอบคุณข้อมูล : เพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย