สมัยนี้โรคภัยไข้เจ็บอาจมาเยือนคุณได้โดยที่ไม่รู้ตัว
บางรายถึงขึ้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุผู้มีความเสี่ยงขะจะเป็น
“โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” แต่สมัยนี้
วัยหนุ่มสาวเองก็ต้องระวัง เนื่องด้วยปัจจัยการใช้ชีวิตของแต่ละคน
โรคนี้อันตรายมาก หากเกิดอาการขึ้น อาจทำให้เสียชีวิตภายใน 1 ชั่วโมง
กรมการแพทย์ได้ออกมาเตือนว่าหากเกิดอาการจุกแน่นหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม จุกใต้ลิ้นปี่ ให้รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์ทันที นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เผยว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจจะขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน จู่ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ขณะเล่นกีฬา หรือทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ หลอดเลือดแดงอาจแข็งและก่อตัวเป็นตะกรัน ทำให้ไปอุดตันหลอดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ภายใน 1 ชั่วโมง ในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 45 ของผู้ที่เสียชีวิตเฉียบพลัน เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และส่วนมากมักเป็นผู้ที่ไม่เคยมีอาการแสดงให้เห็นว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจมาก่อน ดังนั้นผู้ที่รู้ตัวว่าป่วยด้วยโรคหัวใจหรือหลอดเลือดอยู่แล้วต้องระมัดระวังและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
หลักการฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
-หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพราะอาหารที่มีไขมันสูงอัตราการเกิดสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดก็สูงตามไปด้วย
-หลีกเลี่ยงความอ้วน หัวจคนเราจะทำงานหนักขึ้นหากมีน้ำหนักตัวมาก เพื่อที่จะส่งเลือดและออกซิเจนไปให้ทั่วถึงทั้งร่างการ ดังนั้นคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะควรควบคุมอาหาร หรือพยายามลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อช่วยบำรุหัวใจ ให้เลือดสูบฉีดได้ดี และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยอื่นๆ ได้อีกด้วย
-หลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด ความเครียดมีผลต่อสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ และผลส่งในหลายเรื่อง พยายามควบคุมอารมณ์ทำจิตใจให้แจ่มใส หาเวลาพักผ่อนคลายเครียด เช่น ฟังเพลง เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ท่องเที่ยว
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ป่วยหรือไม่ป่วยทั้งบุหรี่และแอลกอฮอล์ก็ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น และการที่เราดื่มสิ่งเหล่านี้เข้าไปมากๆ จะยิ่งทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น การสูบฉีดเลือดของหัวใจจะมีประสิทธิภาพลดลง และหากมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบลด ละ เลิกโดยเร็ว
อย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปี และคอยควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และอย่าลืมออกกำลังจาก นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว หัวใจของเราก็แข็งแรงตามไปด้วย ช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณข้อมูล : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, www.sanook.com, rak-sukapap
กรมการแพทย์ได้ออกมาเตือนว่าหากเกิดอาการจุกแน่นหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม จุกใต้ลิ้นปี่ ให้รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์ทันที นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เผยว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจจะขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน จู่ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ขณะเล่นกีฬา หรือทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ หลอดเลือดแดงอาจแข็งและก่อตัวเป็นตะกรัน ทำให้ไปอุดตันหลอดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ภายใน 1 ชั่วโมง ในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 45 ของผู้ที่เสียชีวิตเฉียบพลัน เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และส่วนมากมักเป็นผู้ที่ไม่เคยมีอาการแสดงให้เห็นว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจมาก่อน ดังนั้นผู้ที่รู้ตัวว่าป่วยด้วยโรคหัวใจหรือหลอดเลือดอยู่แล้วต้องระมัดระวังและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
หลักการฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
-หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพราะอาหารที่มีไขมันสูงอัตราการเกิดสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดก็สูงตามไปด้วย
-หลีกเลี่ยงความอ้วน หัวจคนเราจะทำงานหนักขึ้นหากมีน้ำหนักตัวมาก เพื่อที่จะส่งเลือดและออกซิเจนไปให้ทั่วถึงทั้งร่างการ ดังนั้นคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะควรควบคุมอาหาร หรือพยายามลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อช่วยบำรุหัวใจ ให้เลือดสูบฉีดได้ดี และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยอื่นๆ ได้อีกด้วย
-หลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด ความเครียดมีผลต่อสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ และผลส่งในหลายเรื่อง พยายามควบคุมอารมณ์ทำจิตใจให้แจ่มใส หาเวลาพักผ่อนคลายเครียด เช่น ฟังเพลง เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ท่องเที่ยว
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ป่วยหรือไม่ป่วยทั้งบุหรี่และแอลกอฮอล์ก็ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น และการที่เราดื่มสิ่งเหล่านี้เข้าไปมากๆ จะยิ่งทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น การสูบฉีดเลือดของหัวใจจะมีประสิทธิภาพลดลง และหากมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบลด ละ เลิกโดยเร็ว
อย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปี และคอยควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และอย่าลืมออกกำลังจาก นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว หัวใจของเราก็แข็งแรงตามไปด้วย ช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณข้อมูล : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, www.sanook.com, rak-sukapap