ปัสสาวะเป็นเลือด อาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงถึงขั้นมะเร็ง
โดยทั่วไปแล้ว ปัสสาวะปกติจะมีสีใส สีเหลืองอ่อน หรืออาจมีสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นเราดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน แต่หากเมื่อใดที่ปัสสาวะของเรามีสีผิดปกติไป อย่างเช่น สีออกแดง ๆ หรือสีน้ำล้างเนื้อ นี่อาจเป็นอาการปัสสาวะเป็นเลือด ภาษาอังกฤษคือ Hematuria (Blood in the Urine) คือมีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ และสามารถสื่อถึงโรคอันตรายต่าง ๆ ได้ ซึ่งคนส่วนมากไม่ค่อยรู้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการปัสสาวะเป็นเลือด ว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร และรุนแรงแค่ไหนมาฝากกันค่ะ
ปัสสาวะเป็นเลือด อาการแบบไหนคือใช่ !
ปัสสาวะเป็นเลือด จะมีอาการปัสสาวะเปลี่ยนสี เป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ หรือสีน้ำตาลดำคล้ำแตกต่างกันไป เนื่องจากอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต เนื้อไต กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก) ทำให้มีเม็ดเลือดแดงปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่เจ็บปวดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุที่ต่างกัน โดยปกติจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ถ้าปัสสาวะแล้วมีลิ่มเลือดปนออกมาด้วยก็อาจทำให้ปวดที่บริเวณท้องน้อยได้ค่ะ
ปัสสาวะเป็นเลือดสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. ปัสสาวะเป็นเลือดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือปัสสาวะมีสีที่เข้มขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นสีแดง สีชมพู สีน้ำตาลอย่างชัดเจน
2. ปัสสาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปน พบได้จากกล้องจุลทรรศน์ คือการที่ปัสสาวะมีสีปกติ แต่จริง ๆ แล้วมีเม็ดเลือดแดงปนอยู่ ซึ่งปัสสาวะเป็นเลือดชนิดนี้สามารถพบได้จากการตรวจปัสสาวะเท่านั้น
ปัสสาวะเป็นเลือด มีลักษณะอย่างไรบ้าง ?
ปัสสาวะเป็นเลือดสามารถพบได้หลายลักษณะ หลายสี และสามารถแสดงถึงบริเวณที่เกิดได้ด้วย
1.เลือดสีแดงสด หรือสีแดงคล้ำ
- เลือดซึมตอนเริ่มปัสสาวะ
การที่มีเลือดออกแบบนี้บ่งบอกถึงอาการท่อปัสสาวะเป็นแผลหรือฉีกขาด มักจะมีอาการปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีหนอง และสามารถติดเชื้อได้ด้วย
- เลือดออกตอนเริ่มปัสสาวะ
ถ้ามีเลือดออกแค่ตอนเริ่มแรก แต่ตอนหลัง ๆ ไม่มี อาจมีเหตุผลเหมือนกับเลือดซึมตอนเริ่มปัสสาวะ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด
- เลือดออกตอนท้ายปัสสาวะ
ปัสสาวะที่มีเลือดออกในลักษณะนี้ มักเกิดจากอาการเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากนิ่วหรือเนื้องอก หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก รวมทั้งอาการผิดปกติที่ต่อมลูกหมาก โดยอาการเหล่านี้มักจะมีอาการอื่น ๆ เช่นปวดท้องน้อย หรือปัสสาวะสะดุดร่วมด้วย
- เลือดออกตลอดเวลาที่ปัสสาวะ
อาการลักษณะนี้ส่วนมากมาจากภาวะเลือดออกในไต หรือกรวยไต หรือเลือดออกมาก ๆ ในกระเพาะปัสสาวะก็เป็นได้
2. ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ
ปัสสาวะที่มีสีแดงเรื่อ ๆ แบบสีน้ำล้างเนื้อ และถ่ายออกมาเป็นสีเดียวกันตั้งแต่เริ่มยันจบ โดยหากลองตั้งทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมงอาจเห็นตะกอนสีแดง ซึ่งก็คือเม็ดเลือดแดงนอนก้นอยู่ที่ก้นขวด อาการเช่นนี้มักเกิดจากภาวะไตอักเสบ
3. ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำ
ปกติแล้วปัสสาวะสีนี้ไม่ได้เกิดจากภาวะเลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่เกิดจากการสลายตัวของสารสีเม็ดเลือดแดง และสารสีของกล้ามเนื้อลาย ที่แปรสภาพและออกมาเป็นปัสสาวะ แต่ก็ควรนำไปตรวจเพื่อหาทางรักษาด้วยเหมือนกัน
ทั้งนี้ สีของเลือดในปัสสาวะที่เข้มมากหรือชัดเจนอาจสื่อถึงอาการป่วยที่หนักมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ปัสสาวะเป็นเลือด สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม ?
อาการปัสสาวะเป็นเลือดส่วนใหญ่แล้วเกิดได้จากโรคต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ/กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือ ยูทีไอ (UTI) เป็นอาการที่ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น และอาจปวดท้องน้อยด้วย
2. ไตอักเสบ
ผู้ป่วยไตอักเสบ จะมีอาการมีไข้ อ่อนล้า เพลีย เหนื่อย ปวดเอว ปวดหลังด้านล่าง ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือด บวมทั่วร่างกาย ทั้งหน้า เท้า ท้องและตัว เนื่องจากไตบวมใหญ่ขึ้น และถ้าไตบวมอย่างรวดเร็ว อาจเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลันซึ่งรุนแรงจนเสียชีวิตได้
3. นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต
นิ้วในระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด เนื่องจากมีนิ่วหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะด้วย โดยอาการที่สังเกตได้คือ จะปัสสาวะลำบากและบ่อย ปวดเอว ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และอาจปวดหลังเรื้อรังด้วย
4. ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ถ้ามีอาการปัสสาวะเป็นเลือดแพทย์อาจไม่ได้นึกถึงโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เพราะปัสสาวะเป็นเลือดไม่ได้เป็นอาการหลักของโรคนี้ แต่อาการปัสสาวะเป็นเลือดก็อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดจากการเบ่งปัสสาวะนาน ๆ เพราะผู้ที่มีปัญหาต่อมลูกหมากมักมีปัญหาปัสสาวะลำบาก ดังนั้นการเบ่งปัสสาวะนาน ๆ จะทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะแตกจนมีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ
5. มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ
มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งมะเร็งไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ก็เป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นในระยะแรก ๆ อาจไม่ได้มีสัญญาณเตือนชัดเจน กระทั่งโรคลุกลามมากขึ้นจึงสามารถตรวจพบได้
6. โรคเลือดบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดเกล็ดเลือดต่ำ
โรคเลือดบางชนิดที่สามารถทำให้เกล็ดเลือกต่ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะมีเลือดออก เนื่องจากเกล็ดเลือดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นเมื่อเกล็ดเลือดต่ำ จะสามารถทำให้เลือดออกในระบบปัสสาวะได้
7. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้เหมือนกัน ซึ่งส่วนมากจะมาจากยาต้านการแข็งตัวของเลือด (ยาละลายลิ่มเลือด) ซึ่งทำให้เลือดออกได้ง่าย นอกจากนี้ยังมียาเคมีบำบัดในกลุ่ม Cyclophosphamide ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Cytoxan ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งยาเพนนิซิลลิน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน
8. โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด อย่างเช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell disease) ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติเข้าไปอุดตันการไหลเวียนของเลือด ทำให้มีอาการปวด ติดเชื้อบ่อย และปัสสาวะเป็นเลือดได้
9. ออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถทำให้กระเพาะปัสสาวะบาดเจ็บ และสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเสียหาย จนทำให้มีเลือดไหลออกมาพร้อมกับปัสสาวะได้ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (วิ่ง ว่ายน้ำ จักรยาน) หรือพวกนักกีฬาที่ต้องออกกำลังกายอย่างหนักนั่นเองค่ะ
10. ประสบอุบัติเหตุ
การประสบอุบัติเหตุ ทั้งจากอุบัติเหตุหรือการกีฬา ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ เนื่องจากการประสบอุบัติเหตุสามารถทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะได้รับบาดเจ็บ จนอาจทำให้มีเลือดออก และหลุดมาพร้อมกับปัสสาวะได้
ปัสสาวะเป็นเลือด ใครคือกลุ่มเสี่ยง ?
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการปัสสาวะเป็นเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นโรคที่เกิดผลกระทบต่ออวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่ใช้ยาที่เกี่ยวกับเลือด ยาระงับอาการปวด ยาปฏิชีวนะ และยาแอสไพริน ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสต่าง ๆ ผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป และผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคไต ซึ่งส่วนมากอาการปัสสาวะเป็นเลือดจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงสามารถติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง
ปัสสาวะเป็นเลือด ควรไปหาหมอเมื่อไหร่ ?
หากมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปวดท้องน้อย ควรรีบไปหาหมอเพื่อวินิจฉัยทันที เพราะหากเป็นโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น แล้วรอช้า อาจทำให้มีอาการรุนแรงและรักษาได้ยากยิ่งขึ้น
สำหรับคนที่ยังไม่มีอาการดังกล่าว แนะนำให้ตรวจปัสสาวะในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง เพื่อช่วยคัดกรองโรคต่าง ๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่บางทีอาจยังไม่ได้แสดงอาการออกมา เพื่อให้รักษาและป้องกันได้อย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร ?
ปัสสาวะเป็นเลือดจะสามารถรักษาได้ก็ต่อเมื่อผ่านการวินิจฉัยและซักประวัติที่ละเอียดก่อน เนื่องจากปัสสาวะเป็นเลือดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องการทราบที่มาที่แน่ชัด ดังนั้นนอกจากแพทย์จะซักประวัติเราแล้ว ยังต้องทำการตรวจปัสสาวะด้วย
สำหรับบางคนนอกจากตรวจตามข้างบนแล้ว ก็ยังต้องตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ อัลตราซาวด์ หรือส่องกล้องด้วย เพื่อให้สามารถระบุโรคอย่างแน่ชัด และเมื่อทราบถึงโรคหรืออาการที่เป็นแล้ว ก็จะทำการรักษาต่อไปตามอาการ
และหากผู้ป่วยตรวจแล้วพบว่าไม่ได้ผิดปกติอะไร ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องรักษา แต่ต้องระวังและสังเกตอาการต่อไป และทางที่ดีควรหาทางป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยนะคะ
ปัสสาวะเป็นเลือด ป้องกันได้ไหม ?
อาการปัสสาวะเป็นเลือดไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่สามารถลดความเสี่ยงได้จากการป้องกันการติดเชื้อ และดูแลตัวเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ควบคุมการบริโภคเกลือ โปรตีน และออกซาเลต (เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนิ่ว) ออกกำลังกายเป็นประจำ งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นพิษ ไม่อั้นปัสสาวะ ดูแลความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ถ้าปัสสาวะแล้วพบว่ามีสีไม่ปกติ ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนค่ะ เพราะอาจไม่ได้เกิดจากภาวะเลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่เกิดจากแผลที่อวัยวะเพศหรือเป็นประจำเดือนแทน นอกจากนี้ ปัสสาวะที่มีสีแดงอาจเกิดจากสีผสมอาหาร หรือยาต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปด้วย ดังนั้นควรเช็กให้แน่ใจ และถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด
สำหรับใครที่มีอาการปัสสาวะเป็นสีอื่น ๆ หรือมีกลิ่นแปลกไปจากปกติ ลองตรวจสอบดูหน่อยก็ดีค่ะ ตามข้างล่างนี้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
niddk.nih.gov
mayoclinic.org
โดยทั่วไปแล้ว ปัสสาวะปกติจะมีสีใส สีเหลืองอ่อน หรืออาจมีสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นเราดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน แต่หากเมื่อใดที่ปัสสาวะของเรามีสีผิดปกติไป อย่างเช่น สีออกแดง ๆ หรือสีน้ำล้างเนื้อ นี่อาจเป็นอาการปัสสาวะเป็นเลือด ภาษาอังกฤษคือ Hematuria (Blood in the Urine) คือมีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ และสามารถสื่อถึงโรคอันตรายต่าง ๆ ได้ ซึ่งคนส่วนมากไม่ค่อยรู้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการปัสสาวะเป็นเลือด ว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร และรุนแรงแค่ไหนมาฝากกันค่ะ
ปัสสาวะเป็นเลือด อาการแบบไหนคือใช่ !
ปัสสาวะเป็นเลือด จะมีอาการปัสสาวะเปลี่ยนสี เป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ หรือสีน้ำตาลดำคล้ำแตกต่างกันไป เนื่องจากอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต เนื้อไต กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก) ทำให้มีเม็ดเลือดแดงปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่เจ็บปวดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุที่ต่างกัน โดยปกติจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ถ้าปัสสาวะแล้วมีลิ่มเลือดปนออกมาด้วยก็อาจทำให้ปวดที่บริเวณท้องน้อยได้ค่ะ
ปัสสาวะเป็นเลือดสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. ปัสสาวะเป็นเลือดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือปัสสาวะมีสีที่เข้มขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นสีแดง สีชมพู สีน้ำตาลอย่างชัดเจน
2. ปัสสาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปน พบได้จากกล้องจุลทรรศน์ คือการที่ปัสสาวะมีสีปกติ แต่จริง ๆ แล้วมีเม็ดเลือดแดงปนอยู่ ซึ่งปัสสาวะเป็นเลือดชนิดนี้สามารถพบได้จากการตรวจปัสสาวะเท่านั้น
ปัสสาวะเป็นเลือดสามารถพบได้หลายลักษณะ หลายสี และสามารถแสดงถึงบริเวณที่เกิดได้ด้วย
1.เลือดสีแดงสด หรือสีแดงคล้ำ
- เลือดซึมตอนเริ่มปัสสาวะ
การที่มีเลือดออกแบบนี้บ่งบอกถึงอาการท่อปัสสาวะเป็นแผลหรือฉีกขาด มักจะมีอาการปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีหนอง และสามารถติดเชื้อได้ด้วย
- เลือดออกตอนเริ่มปัสสาวะ
ถ้ามีเลือดออกแค่ตอนเริ่มแรก แต่ตอนหลัง ๆ ไม่มี อาจมีเหตุผลเหมือนกับเลือดซึมตอนเริ่มปัสสาวะ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด
- เลือดออกตอนท้ายปัสสาวะ
ปัสสาวะที่มีเลือดออกในลักษณะนี้ มักเกิดจากอาการเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากนิ่วหรือเนื้องอก หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก รวมทั้งอาการผิดปกติที่ต่อมลูกหมาก โดยอาการเหล่านี้มักจะมีอาการอื่น ๆ เช่นปวดท้องน้อย หรือปัสสาวะสะดุดร่วมด้วย
- เลือดออกตลอดเวลาที่ปัสสาวะ
อาการลักษณะนี้ส่วนมากมาจากภาวะเลือดออกในไต หรือกรวยไต หรือเลือดออกมาก ๆ ในกระเพาะปัสสาวะก็เป็นได้
2. ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ
ปัสสาวะที่มีสีแดงเรื่อ ๆ แบบสีน้ำล้างเนื้อ และถ่ายออกมาเป็นสีเดียวกันตั้งแต่เริ่มยันจบ โดยหากลองตั้งทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมงอาจเห็นตะกอนสีแดง ซึ่งก็คือเม็ดเลือดแดงนอนก้นอยู่ที่ก้นขวด อาการเช่นนี้มักเกิดจากภาวะไตอักเสบ
3. ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำ
ปกติแล้วปัสสาวะสีนี้ไม่ได้เกิดจากภาวะเลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่เกิดจากการสลายตัวของสารสีเม็ดเลือดแดง และสารสีของกล้ามเนื้อลาย ที่แปรสภาพและออกมาเป็นปัสสาวะ แต่ก็ควรนำไปตรวจเพื่อหาทางรักษาด้วยเหมือนกัน
ทั้งนี้ สีของเลือดในปัสสาวะที่เข้มมากหรือชัดเจนอาจสื่อถึงอาการป่วยที่หนักมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ปัสสาวะเป็นเลือด สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม ?
อาการปัสสาวะเป็นเลือดส่วนใหญ่แล้วเกิดได้จากโรคต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ/กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือ ยูทีไอ (UTI) เป็นอาการที่ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น และอาจปวดท้องน้อยด้วย
2. ไตอักเสบ
ผู้ป่วยไตอักเสบ จะมีอาการมีไข้ อ่อนล้า เพลีย เหนื่อย ปวดเอว ปวดหลังด้านล่าง ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือด บวมทั่วร่างกาย ทั้งหน้า เท้า ท้องและตัว เนื่องจากไตบวมใหญ่ขึ้น และถ้าไตบวมอย่างรวดเร็ว อาจเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลันซึ่งรุนแรงจนเสียชีวิตได้
3. นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต
นิ้วในระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด เนื่องจากมีนิ่วหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะด้วย โดยอาการที่สังเกตได้คือ จะปัสสาวะลำบากและบ่อย ปวดเอว ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และอาจปวดหลังเรื้อรังด้วย
4. ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ถ้ามีอาการปัสสาวะเป็นเลือดแพทย์อาจไม่ได้นึกถึงโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เพราะปัสสาวะเป็นเลือดไม่ได้เป็นอาการหลักของโรคนี้ แต่อาการปัสสาวะเป็นเลือดก็อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดจากการเบ่งปัสสาวะนาน ๆ เพราะผู้ที่มีปัญหาต่อมลูกหมากมักมีปัญหาปัสสาวะลำบาก ดังนั้นการเบ่งปัสสาวะนาน ๆ จะทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะแตกจนมีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ
5. มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ
มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งมะเร็งไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ก็เป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นในระยะแรก ๆ อาจไม่ได้มีสัญญาณเตือนชัดเจน กระทั่งโรคลุกลามมากขึ้นจึงสามารถตรวจพบได้
โรคเลือดบางชนิดที่สามารถทำให้เกล็ดเลือกต่ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะมีเลือดออก เนื่องจากเกล็ดเลือดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นเมื่อเกล็ดเลือดต่ำ จะสามารถทำให้เลือดออกในระบบปัสสาวะได้
7. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้เหมือนกัน ซึ่งส่วนมากจะมาจากยาต้านการแข็งตัวของเลือด (ยาละลายลิ่มเลือด) ซึ่งทำให้เลือดออกได้ง่าย นอกจากนี้ยังมียาเคมีบำบัดในกลุ่ม Cyclophosphamide ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Cytoxan ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งยาเพนนิซิลลิน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน
8. โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด อย่างเช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell disease) ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติเข้าไปอุดตันการไหลเวียนของเลือด ทำให้มีอาการปวด ติดเชื้อบ่อย และปัสสาวะเป็นเลือดได้
9. ออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถทำให้กระเพาะปัสสาวะบาดเจ็บ และสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเสียหาย จนทำให้มีเลือดไหลออกมาพร้อมกับปัสสาวะได้ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (วิ่ง ว่ายน้ำ จักรยาน) หรือพวกนักกีฬาที่ต้องออกกำลังกายอย่างหนักนั่นเองค่ะ
10. ประสบอุบัติเหตุ
การประสบอุบัติเหตุ ทั้งจากอุบัติเหตุหรือการกีฬา ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ เนื่องจากการประสบอุบัติเหตุสามารถทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะได้รับบาดเจ็บ จนอาจทำให้มีเลือดออก และหลุดมาพร้อมกับปัสสาวะได้
ปัสสาวะเป็นเลือด ใครคือกลุ่มเสี่ยง ?
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการปัสสาวะเป็นเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นโรคที่เกิดผลกระทบต่ออวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่ใช้ยาที่เกี่ยวกับเลือด ยาระงับอาการปวด ยาปฏิชีวนะ และยาแอสไพริน ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสต่าง ๆ ผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป และผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคไต ซึ่งส่วนมากอาการปัสสาวะเป็นเลือดจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงสามารถติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง
ปัสสาวะเป็นเลือด ควรไปหาหมอเมื่อไหร่ ?
หากมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปวดท้องน้อย ควรรีบไปหาหมอเพื่อวินิจฉัยทันที เพราะหากเป็นโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น แล้วรอช้า อาจทำให้มีอาการรุนแรงและรักษาได้ยากยิ่งขึ้น
สำหรับคนที่ยังไม่มีอาการดังกล่าว แนะนำให้ตรวจปัสสาวะในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง เพื่อช่วยคัดกรองโรคต่าง ๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่บางทีอาจยังไม่ได้แสดงอาการออกมา เพื่อให้รักษาและป้องกันได้อย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร ?
ปัสสาวะเป็นเลือดจะสามารถรักษาได้ก็ต่อเมื่อผ่านการวินิจฉัยและซักประวัติที่ละเอียดก่อน เนื่องจากปัสสาวะเป็นเลือดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องการทราบที่มาที่แน่ชัด ดังนั้นนอกจากแพทย์จะซักประวัติเราแล้ว ยังต้องทำการตรวจปัสสาวะด้วย
สำหรับบางคนนอกจากตรวจตามข้างบนแล้ว ก็ยังต้องตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ อัลตราซาวด์ หรือส่องกล้องด้วย เพื่อให้สามารถระบุโรคอย่างแน่ชัด และเมื่อทราบถึงโรคหรืออาการที่เป็นแล้ว ก็จะทำการรักษาต่อไปตามอาการ
และหากผู้ป่วยตรวจแล้วพบว่าไม่ได้ผิดปกติอะไร ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องรักษา แต่ต้องระวังและสังเกตอาการต่อไป และทางที่ดีควรหาทางป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยนะคะ
อาการปัสสาวะเป็นเลือดไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่สามารถลดความเสี่ยงได้จากการป้องกันการติดเชื้อ และดูแลตัวเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ควบคุมการบริโภคเกลือ โปรตีน และออกซาเลต (เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนิ่ว) ออกกำลังกายเป็นประจำ งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นพิษ ไม่อั้นปัสสาวะ ดูแลความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ถ้าปัสสาวะแล้วพบว่ามีสีไม่ปกติ ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนค่ะ เพราะอาจไม่ได้เกิดจากภาวะเลือดออกในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่เกิดจากแผลที่อวัยวะเพศหรือเป็นประจำเดือนแทน นอกจากนี้ ปัสสาวะที่มีสีแดงอาจเกิดจากสีผสมอาหาร หรือยาต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปด้วย ดังนั้นควรเช็กให้แน่ใจ และถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด
สำหรับใครที่มีอาการปัสสาวะเป็นสีอื่น ๆ หรือมีกลิ่นแปลกไปจากปกติ ลองตรวจสอบดูหน่อยก็ดีค่ะ ตามข้างล่างนี้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
niddk.nih.gov
mayoclinic.org