โรคร่าเริง โรคนี้ชื่อน่าสนุกแต่ผลกระทบกับสุขภาพเหลือร้ายเกินกว่าจะคาดคิด คนชอบอดหลับอดนอนเป็นประจำระวังไว้เลย
พฤติกรรมอดหลับอดนอนที่ทำมาจนเคยชิน ต่อไปนี้ขอร้องว่าให้เปลี่ยนแปลงตัวเองโดยด่วน และอย่าคิดไปเองนะคะว่า อดหลับอดนอนตอนนี้แล้วค่อยไปนอนชดเชยในช่วงกลางวันแทน เพราะนี่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคร่าเริง ภัยร้ายจากพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
โรคร่าเริง คืออะไร
โรคร่าเริงเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ บวกกับพฤติกรรมอดหลับอดนอนที่ทำสะสมจนเหมือนเป็นการใช้งานร่างกายอย่างหนัก ยิ่งกับคนที่ชอบอ่านหนังสือหรือทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องกันหลายวัน นาฬิกาชีวิตและระบบการทำงานของร่างกายจะปรวนแปรไปหมด
อาการของโรคร่าเริง
คนที่เป็นโรคร่าเริงจะรู้สึกอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย และไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน คิดอะไรไม่ค่อยออก แต่ในช่วงกลางคืนสมองจะแล่น ความคิดสร้างสรรค์บังเกิด และรู้สึกกระปรี้กระเปร่าอย่างเต็มที่ จนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างที่ควร หรืออย่างที่เขาเรียกว่า กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับไม่นอน
โรคร่าเริง อันตรายกับสุขภาพแค่ไหน
เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือทำบ่อย ๆ จนเกิดภาวะสะสม ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายจะเรรวน และส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น
- เป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนปรวนแปร โดยเฉพาะโกรทฮอร์โมน ที่จะหลั่งออกมาช่วยฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมส่วนสึกหรอในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. แต่หากไม่ยอมนอนในช่วงนั้น โกรทฮอร์โมนจะหดหาย ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ผิวพรรณไม่สดใส การเผาผลาญน้อยลง ทำให้อยากทานของหวานมากขึ้น เมื่อทานเข้าไปก็จะสะสมกลายเป็นโรคอ้วนตามมา
- รู้สึกง่วงตลอดทั้งวัน อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ตื่นเช้าไม่ไหว
- กลายเป็นคนติดกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะต้องดื่มตลอดเพื่อให้ร่างกายทำงานต่อไปได้ในช่วงกลางวัน
- รอบเดือนมาไม่ปกติ เพราะความสมดุลฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
- เสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต
โรคร่าเริง ป้องกันได้แค่ปรับพฤติกรรม
สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นโรคร่าเริง แพทย์แผนไทย บุณยพร ยี่มี ก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายสุขภาพดังนี้
- ตื่นสายจนต้องรับประทานมื้อเช้าในช่วงเกือบ 11.00 น.
- อดหลับอดนอน
- ไม่ออกกำลังกาย
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังเป็นประจำ
นอกจากนี้ยังต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ เช่น
- เข้านอนก่อน 22.00 น. เพื่อให้โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาได้เต็มที่ ซึ่งนอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ด้วย คือ (10 ข้อดีของการนอนก่อน 4 ทุ่ม รู้แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมด่วน)
- ตื่นมาออกกำลังกายในช่วงเช้า เพื่อให้สดชื่น มีพลังไปตลอดทั้งวัน
- ทานอาหารเช้าทุกวัน ส่วนอาหารกลางวันควรเน้นโปรตีนมากกว่าแป้ง เพราะการทานแป้งและน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ง่วงนอน แต่การทานโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
- ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 8 แก้ว เพื่อให้สมองแล่น และเติมความสดชื่นให้ร่างกาย
- ฝึกหายใจเข้า-ออกช้า ๆ โดยสูดออกซิเจนให้เต็มปอด จะช่วยคลายเครียดและปลุกความสดชื่น
อย่างไรก็ดี สำหรับคนที่คิดว่าร่างกายเคยชินกับการอดหลับอดนอนจนไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใด ๆ กับสุขภาพ ขอให้จำไว้ว่า ผลกระทบกับสุขภาพเมื่อคุณอดหลับอดนอนอาจไม่แสดงตัวในเร็ววันนี้ ทว่าเมื่ออายุย่างเข้าสู่เลข 4 เป็นต้นไปคุณจะได้เจอกับภาวะสุขภาพที่เต็มไปด้วยโรครุมเร้าเลยก็ได้นะคะ ฉะนั้นเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเองตั้งแต่วันนี้ดูจะปลอดภัยกว่าเยอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, โรงพยาบาลสมิติเวช
พฤติกรรมอดหลับอดนอนที่ทำมาจนเคยชิน ต่อไปนี้ขอร้องว่าให้เปลี่ยนแปลงตัวเองโดยด่วน และอย่าคิดไปเองนะคะว่า อดหลับอดนอนตอนนี้แล้วค่อยไปนอนชดเชยในช่วงกลางวันแทน เพราะนี่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคร่าเริง ภัยร้ายจากพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
โรคร่าเริง คืออะไร
โรคร่าเริงเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ บวกกับพฤติกรรมอดหลับอดนอนที่ทำสะสมจนเหมือนเป็นการใช้งานร่างกายอย่างหนัก ยิ่งกับคนที่ชอบอ่านหนังสือหรือทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องกันหลายวัน นาฬิกาชีวิตและระบบการทำงานของร่างกายจะปรวนแปรไปหมด
คนที่เป็นโรคร่าเริงจะรู้สึกอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย และไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน คิดอะไรไม่ค่อยออก แต่ในช่วงกลางคืนสมองจะแล่น ความคิดสร้างสรรค์บังเกิด และรู้สึกกระปรี้กระเปร่าอย่างเต็มที่ จนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างที่ควร หรืออย่างที่เขาเรียกว่า กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับไม่นอน
โรคร่าเริง อันตรายกับสุขภาพแค่ไหน
เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือทำบ่อย ๆ จนเกิดภาวะสะสม ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายจะเรรวน และส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น
- เป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนปรวนแปร โดยเฉพาะโกรทฮอร์โมน ที่จะหลั่งออกมาช่วยฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมส่วนสึกหรอในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. แต่หากไม่ยอมนอนในช่วงนั้น โกรทฮอร์โมนจะหดหาย ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ผิวพรรณไม่สดใส การเผาผลาญน้อยลง ทำให้อยากทานของหวานมากขึ้น เมื่อทานเข้าไปก็จะสะสมกลายเป็นโรคอ้วนตามมา
- รู้สึกง่วงตลอดทั้งวัน อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ตื่นเช้าไม่ไหว
- กลายเป็นคนติดกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะต้องดื่มตลอดเพื่อให้ร่างกายทำงานต่อไปได้ในช่วงกลางวัน
- รอบเดือนมาไม่ปกติ เพราะความสมดุลฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
- เสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต
โรคร่าเริง ป้องกันได้แค่ปรับพฤติกรรม
สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นโรคร่าเริง แพทย์แผนไทย บุณยพร ยี่มี ก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายสุขภาพดังนี้
- ตื่นสายจนต้องรับประทานมื้อเช้าในช่วงเกือบ 11.00 น.
- อดหลับอดนอน
- ไม่ออกกำลังกาย
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังเป็นประจำ
- เข้านอนก่อน 22.00 น. เพื่อให้โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาได้เต็มที่ ซึ่งนอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ด้วย คือ (10 ข้อดีของการนอนก่อน 4 ทุ่ม รู้แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมด่วน)
- ตื่นมาออกกำลังกายในช่วงเช้า เพื่อให้สดชื่น มีพลังไปตลอดทั้งวัน
- ทานอาหารเช้าทุกวัน ส่วนอาหารกลางวันควรเน้นโปรตีนมากกว่าแป้ง เพราะการทานแป้งและน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ง่วงนอน แต่การทานโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
- ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 8 แก้ว เพื่อให้สมองแล่น และเติมความสดชื่นให้ร่างกาย
- ฝึกหายใจเข้า-ออกช้า ๆ โดยสูดออกซิเจนให้เต็มปอด จะช่วยคลายเครียดและปลุกความสดชื่น
อย่างไรก็ดี สำหรับคนที่คิดว่าร่างกายเคยชินกับการอดหลับอดนอนจนไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใด ๆ กับสุขภาพ ขอให้จำไว้ว่า ผลกระทบกับสุขภาพเมื่อคุณอดหลับอดนอนอาจไม่แสดงตัวในเร็ววันนี้ ทว่าเมื่ออายุย่างเข้าสู่เลข 4 เป็นต้นไปคุณจะได้เจอกับภาวะสุขภาพที่เต็มไปด้วยโรครุมเร้าเลยก็ได้นะคะ ฉะนั้นเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเองตั้งแต่วันนี้ดูจะปลอดภัยกว่าเยอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, โรงพยาบาลสมิติเวช