ปกติแล้ว
ตามธรรมเนียมของงานเลี้ยงวันเกิด
ย่อมต้องมีเค้กให้เจ้าของวันเกิดได้เป่าเทียนกันอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า
ฝอยน้ำลายที่กระจายอยู่บนเค้กวันเกิดหลังจากเป่าเทียนไปแล้ว
มีผลต่อการเพิ่มแบคทีเรียบนหน้าเค้กได้มากถึง 14 เท่าเลยทีเดียว!
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคลมสันในสหรัฐอเมริกา ทดลองหาแบคทีเรียด้วยการจำลองเค้กวันเกิดจากแผ่นโฟมหนาที่ตัดเป็นวงกลมให้เหมือนเค้ก และปิดด้านบนด้วยแผ่นกระดาษฟอยล์ที่เคลือบด้วยไอซิ่ง (น้ำตาลหรือครีมโรยหน้าเค้ก) ก่อนปักเทียนลงไป จากนั้นให้กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยกินพิซซ่าคนละชิ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายออกมา ก่อนเป่าเทียนบนเค้กจำลองที่จุดไฟไว้
ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าว มีเค้กจำลองทั้งหมด 11 ชิ้น โดยกลุ่มนักศึกษาเป่าเค้กทั้งหมด 3 ครั้ง ทำให้มีเค้กที่ผ่านการเป่าเทียนรวม 33 ชิ้น จากนั้น ทีมวิจัยทำการนับปริมาณแบคทีเรียด้วยการเจือจางไอซิ่งด้วยน้ำเปล่า แล้วนำมาเทลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อดูการเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นไปตามคาด เมื่อพบปริมาณของแบคทีเรียเป็นจำนวนมาก
iStock
แต่น่าแปลกใจไปยิ่งกว่านั้น เมื่อพบว่าการเป่าเทียนแต่ละครั้ง จะเจอแบคทีเรียที่แตกต่างชนิดกันไปด้วย ซึ่งในการเป่าเค้กวันเกิดแต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วจะเพิ่มแบคทีเรียบนผิวหน้าเค้กราว 14 เท่า แม้ว่ามีอยู่หนึ่งกรณีที่พบแบคทีเรียมากถึง 120 เท่า แต่ทีมวิจัยสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะมีผู้ร่วมทำการทดลองบางคนส่งผ่านแบคทีเรียจากน้ำลายออกมามากกว่าคนอื่นๆนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์พอล ดอว์สัน ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยของอาหารจากมหาวิทยาลัยเคลมสัน หัวหน้าทีมวิจัยชุดนี้ ระบุว่า ผลการศึกษาดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้งานปาร์ตี้วันเกิดต้องหมดสนุกไป และทุกคนก็ยังคงกินเค้กที่ผ่านการเป่าเทียนจากเจ้าของวันเกิดได้เหมือนเดิม เพราะในความเป็นจริงแล้วภายในปากของเราทุกคนล้วนมีแบคทีเรียมากมายอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายอะไร
ดังนั้น การกินเค้กวันเกิดที่ผ่านการเป่าเทียนจึงไม่ได้ทำให้เราป่วยได้ง่ายๆ แต่ถ้าเจ้าของวันเกิดที่เป็นคนเป่าเค้กกำลังป่วยอยู่ หากไม่อยากจะป่วยตามไปด้วย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการกินเค้กนั้นเสีย
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคลมสันในสหรัฐอเมริกา ทดลองหาแบคทีเรียด้วยการจำลองเค้กวันเกิดจากแผ่นโฟมหนาที่ตัดเป็นวงกลมให้เหมือนเค้ก และปิดด้านบนด้วยแผ่นกระดาษฟอยล์ที่เคลือบด้วยไอซิ่ง (น้ำตาลหรือครีมโรยหน้าเค้ก) ก่อนปักเทียนลงไป จากนั้นให้กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยกินพิซซ่าคนละชิ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายออกมา ก่อนเป่าเทียนบนเค้กจำลองที่จุดไฟไว้
ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าว มีเค้กจำลองทั้งหมด 11 ชิ้น โดยกลุ่มนักศึกษาเป่าเค้กทั้งหมด 3 ครั้ง ทำให้มีเค้กที่ผ่านการเป่าเทียนรวม 33 ชิ้น จากนั้น ทีมวิจัยทำการนับปริมาณแบคทีเรียด้วยการเจือจางไอซิ่งด้วยน้ำเปล่า แล้วนำมาเทลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อดูการเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นไปตามคาด เมื่อพบปริมาณของแบคทีเรียเป็นจำนวนมาก
iStock
แต่น่าแปลกใจไปยิ่งกว่านั้น เมื่อพบว่าการเป่าเทียนแต่ละครั้ง จะเจอแบคทีเรียที่แตกต่างชนิดกันไปด้วย ซึ่งในการเป่าเค้กวันเกิดแต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วจะเพิ่มแบคทีเรียบนผิวหน้าเค้กราว 14 เท่า แม้ว่ามีอยู่หนึ่งกรณีที่พบแบคทีเรียมากถึง 120 เท่า แต่ทีมวิจัยสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะมีผู้ร่วมทำการทดลองบางคนส่งผ่านแบคทีเรียจากน้ำลายออกมามากกว่าคนอื่นๆนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์พอล ดอว์สัน ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยของอาหารจากมหาวิทยาลัยเคลมสัน หัวหน้าทีมวิจัยชุดนี้ ระบุว่า ผลการศึกษาดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้งานปาร์ตี้วันเกิดต้องหมดสนุกไป และทุกคนก็ยังคงกินเค้กที่ผ่านการเป่าเทียนจากเจ้าของวันเกิดได้เหมือนเดิม เพราะในความเป็นจริงแล้วภายในปากของเราทุกคนล้วนมีแบคทีเรียมากมายอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายอะไร
ดังนั้น การกินเค้กวันเกิดที่ผ่านการเป่าเทียนจึงไม่ได้ทำให้เราป่วยได้ง่ายๆ แต่ถ้าเจ้าของวันเกิดที่เป็นคนเป่าเค้กกำลังป่วยอยู่ หากไม่อยากจะป่วยตามไปด้วย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการกินเค้กนั้นเสีย