อันที่จริงโรคภัยอันตรายร้ายแรงของผู้หญิงโดยเฉพาะก็มีไม่กี่โรคหรอกค่ะ หนึ่งในนั้นก็คือมะเร็งปากมดลูก ที่หลายๆ คนแอบสงสัยว่าตัวเองกำลังเสี่ยง หรือกำลังจะเป็นมะเร็งปากมดลูกอยู่หรือเปล่า เวลาปวดท้องประจำเดือนหนักๆ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคนี้หรือไม่ Sanook! Health หาคำตอบมาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ
10 สัญญาณเตือนภัย “มะเร็งปากมดลูก”
1. มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังตรวจภายใน
2. ยังคงมีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือนแล้ว หรือประจำเดือนมากะปริดกะปรอยผิดปกติ
3. มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน
4. มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
5. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
6. ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
7. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
8. เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
9. ปวดท้องน้อย
10. หากอาการรุนแรงขึ้น อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ขาบวม ปวดหลัง ปัสสาวะมีเลือดปน เป็นต้น
จะเห็นว่าอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ แต่ถึงแม้จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ก็ยังมีวิธีป้องกันด้วยนะ
ผู้หญิงควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อใด ?
ในการเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุควรจะเดินทางไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเยอู่เสมอ หรือที่เรียกกันว่า การตรวจแป๊บสเมียร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจคัดกรองเมื่อมีอายุประมาณ 21 - 25 ปีขึ้นไป ซึ่งหากพบความผิดปกติ แพทย์ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจแป๊บสเมียร์ซ้ำ หรือนัดตรวจแป๊บสเมียร์บ่อยขึ้น หรือพิจารณาตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย รวมถึงดุลพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ
เป็นระยะเริ่มแรกก่อนที่จะกลายไปเป็นมะเร็ง เป็นระยะที่เซลล์ของปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็สามารถตรวจพบได้จากการตรวจแป๊บเสมียร์ ซึ่งหากเป็นการตรวจร่างกายธรรมดาก็ไม่อาจพบความผิดปกติได้
ระยะที่ 1
เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวขึ้นเฉพาะที่บริเวณปากมดลูกเท่านั้น
ระยะที่ 2
เป็นระยะที่มะเร็งจะลุกลามออกจากบริเวณปากมดลูกไปยังบริเวณช่องคลอดส่วนบน หรือที่บริเวณอุ้งเชิงกราน แต่ยังไม่ลุกลามไปจนถึงบริเวณผนังอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 3
เป็นระยะที่มะเร็งปากมดลูกจะลุกลามไปจนติดผนังอุ้งเชิงกราน หรือก้อนมะเร็งนั้นอาจมีการกดทับบริเวณท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงจนไตด้านนั้นๆ ไม่ทำงาน (อาจเกิดขึ้นได้กับไตทั้ง 2 ข้าง)
ระยะที่ 4
เป็นระยะที่มะเร็งปากมดลูกจะลุกลามเข้าไปสู่อวัยวะข้างเคียง ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ และ/หรือลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรือเซลล์มะเร็งนั้นอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ อาทิ กระดูก ปอด สมอง และ/หรือต่อมน้ำเหลือง
หากว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากขึ้น หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลัง หรือปวดก้นกบ หรือปวดหลังร้าวลงไปยังขา ซึ่งหากอาการที่เป็นไปกดทับเส้นประสาทก็อาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด และหากว่าเกิดการลุกลามเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ใหญ่ ก็อาจทำให้ขาบวม โดยหากเกิดการลุลามไปกดทับท่อน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน หรือทำให้ท่อน้ำเหลืองเหล่านั้นอุดตัน ก็จะทำให้มีการปัสสาวะผิดปกติ หรือมีอาการไตวายเฉียบพลัน
ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูกกันด้วยนะคะ กันไว้ดีกว่าแก้นะ
10 สัญญาณเตือนภัย “มะเร็งปากมดลูก”
1. มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังตรวจภายใน
2. ยังคงมีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือนแล้ว หรือประจำเดือนมากะปริดกะปรอยผิดปกติ
3. มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน
4. มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
5. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
6. ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
7. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
8. เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
9. ปวดท้องน้อย
10. หากอาการรุนแรงขึ้น อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ขาบวม ปวดหลัง ปัสสาวะมีเลือดปน เป็นต้น
จะเห็นว่าอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ แต่ถึงแม้จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ก็ยังมีวิธีป้องกันด้วยนะ
มะเร็งปากมดลูกพบได้ในใครบ้าง ?
จากข้อมูลหนึ่งที่มีความน่าสนใจ โดยเป็นข้อมูลที่มาจากการสำรวจสถิติทั่วโลกพบว่า มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นโรคมะเร็งอันดับที่ 2 ที่จะพบได้ในเพศหญิงรองลงมาจาก มะเร็งเต้านม ซึ่งข้อมูลนี้ก็รวมถึงในประเทศไทยด้วย อีกทั้ง มะเร็งปากมดลูกก็ยังเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 30 - 70 ปี พบมากในช่วงอายุ 45 - 55 ปี แต่ก็ไม่ได้มีการตรวจพบในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีลงไป และผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปผู้หญิงควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อใด ?
ในการเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุควรจะเดินทางไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเยอู่เสมอ หรือที่เรียกกันว่า การตรวจแป๊บสเมียร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจคัดกรองเมื่อมีอายุประมาณ 21 - 25 ปีขึ้นไป ซึ่งหากพบความผิดปกติ แพทย์ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจแป๊บสเมียร์ซ้ำ หรือนัดตรวจแป๊บสเมียร์บ่อยขึ้น หรือพิจารณาตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย รวมถึงดุลพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ
ระยะของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ระยะเริ่มต้น หรือระยะที่ 0เป็นระยะเริ่มแรกก่อนที่จะกลายไปเป็นมะเร็ง เป็นระยะที่เซลล์ของปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็สามารถตรวจพบได้จากการตรวจแป๊บเสมียร์ ซึ่งหากเป็นการตรวจร่างกายธรรมดาก็ไม่อาจพบความผิดปกติได้
เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวขึ้นเฉพาะที่บริเวณปากมดลูกเท่านั้น
ระยะที่ 2
เป็นระยะที่มะเร็งจะลุกลามออกจากบริเวณปากมดลูกไปยังบริเวณช่องคลอดส่วนบน หรือที่บริเวณอุ้งเชิงกราน แต่ยังไม่ลุกลามไปจนถึงบริเวณผนังอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 3
เป็นระยะที่มะเร็งปากมดลูกจะลุกลามไปจนติดผนังอุ้งเชิงกราน หรือก้อนมะเร็งนั้นอาจมีการกดทับบริเวณท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงจนไตด้านนั้นๆ ไม่ทำงาน (อาจเกิดขึ้นได้กับไตทั้ง 2 ข้าง)
ระยะที่ 4
เป็นระยะที่มะเร็งปากมดลูกจะลุกลามเข้าไปสู่อวัยวะข้างเคียง ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ และ/หรือลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรือเซลล์มะเร็งนั้นอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ อาทิ กระดูก ปอด สมอง และ/หรือต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งปากมดลูกมีอาการอย่างไร ?
ในช่วงระยะก่อนที่จะเริ่มป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือในระยะเริ่มแรกนั้น ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนได้เลย แต่สามารถทราบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเมื่อเริ่มเป็นมากจะมีอาการที่พบบ่อย ได้แก่ การมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ซึ่งอาจจะเป็นเลือดที่ออกกะปริบกะปรอยในช่วงระหว่างรอบเดือน , มีประจำเดือนที่นานจนผิดปกติ , มีเลือดออกจากช่องคลอดช่วงหลังพ้นวัยหมดประจำเดือนถาวรไปแล้ว หรืออาจมีเลือดออกเวลาที่มีเพศสัมพันธ์จากปกติที่ไม่เคยมี อีกทั้ง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น และ/หรือมีเลือดปนออกมาด้วย รวมไปถึงในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บขณะที่มีเพศสัมพันธ์หากว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากขึ้น หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลัง หรือปวดก้นกบ หรือปวดหลังร้าวลงไปยังขา ซึ่งหากอาการที่เป็นไปกดทับเส้นประสาทก็อาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด และหากว่าเกิดการลุกลามเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ใหญ่ ก็อาจทำให้ขาบวม โดยหากเกิดการลุลามไปกดทับท่อน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน หรือทำให้ท่อน้ำเหลืองเหล่านั้นอุดตัน ก็จะทำให้มีการปัสสาวะผิดปกติ หรือมีอาการไตวายเฉียบพลัน
วิธีป้องกัน มะเร็งปากมดลูก 1. ตรวจสุขภาพ หามะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป 2. ผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน 3. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ 4. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ 5. ข่าวดีคือ มีวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอฉีดวัคซีนได้ค่ะ
ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูกกันด้วยนะคะ กันไว้ดีกว่าแก้นะ
ขอขอบคุณ