ปลูกฝี คืออะไร ประเด็นนี้กลับมาอีกครั้งหลังจากฝีดาษลิงกลับมาระบาดใหม่ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะกำลังสงสัยกันอยู่ว่า แผลที่ต้นแขนเรานั้นใช่การปลูกฝีไหม แล้วการปลูกฝีช่วยป้องกันโรคอะไรได้อีกบ้าง
โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษเป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอดีต แต่หมดไปได้เพราะมีการปลูกฝีป้องกันโรค ทว่าตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีดาษได้ถูกยกเลิกไป คนในยุคหลัง ๆ จึงอาจไม่ค่อยได้ยินคำว่า "การปลูกฝี" และไม่รู้ว่าเราปลูกฝีเพื่ออะไร กระทั่งเมื่อมีโรคฝีดาษลิงระบาดขึ้นมาอีกครั้งในปี 2022 การปลูกฝีก็ถูกพูดถึงกันมากขึ้น ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจประเด็นปลูกฝีกันหน่อยดีกว่า
ทั้งนี้ ประเทศไทยเริ่มปลูกฝีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เพื่อป้องกันโรคไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ ก่อนที่จะเลิกการปลูกฝีในเด็กแรกเกิดมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา เนื่องจากโรคฝีดาษจะถูกกวาดล้างไปแล้ว หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2523 ทาง WHO ได้ประกาศว่าสามารถระงับการระบาดของโรคฝีดาษได้แล้ว ทั่วโลกจึงยกเลิกการปลูกฝีตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา ทำให้เด็กส่วนใหญ่ที่เกิดหลังปี 2523 แทบไม่ได้ปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษอีก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เด็กแรกเกิดยังคงมีการปลูกฝี หรือการฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันวัณโรคที่บริเวณไหล่ซ้าย ซึ่งจะฉีดลงใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทิ้งรอยแผลเป็นไว้คล้าย ๆ กับการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษแผลปลูกฝีดาษ
แผลปลูกฝีดาษจะมีลักษณะแบนราบ เรียบไปกับผิวหนัง หรือบุ๋มลงไปเล็กน้อย แต่ขอบแผลจะไม่เรียบ
แผลปลูกฝีวัณโรค
จะมีภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษนานแค่ไหน
จากสถิติทางการแพทย์ตั้งแต่อดีต พบว่า การปลูกฝีมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ถึง 85% เลยทีเดียว
ด้าน 5 องค์กรวิชาชีพแพทย์ ได้แก่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศคำชี้แจงเรื่องโรคฝีดาษลิงเช่นกัน โดยระบุว่า แม้ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่การระบาดยังไม่มาก มีโอกาสที่โรคนี้จะแพร่ระบาดมาถึงประเทศไทยได้น้อย
อีกทั้งหากมีการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้ตามร่างกาย ยกเว้นในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็เสี่ยงจะมีอาการรุนแรงได้ ดังนั้นจึงเล็งเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่ประชาชนทั่วไปจะต้องเร่งรีบหาวัคซีนในตอนนี้
อย่างไรก็ตาม หากการระบาดทวีความรุนแรงและใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อย ๆ ทางกระทรวงสาธารณสุขก็พร้อมปรับเปลี่ยนแนวทางการให้วัคซีนฝีดาษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, blockdit “ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย, เฟซบุ๊กหมอเวร, เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan, เดลินิวส์