ฝีดาษลิงที่เป็นข่าวช่วงนี้อาจทำให้คนที่มีตุ่มขึ้นบนผิวหนังโดยไม่รู้สาเหตุรู้สึกกังวลขึ้นมาได้ แต่จริง ๆ แล้ว ผื่นหรือตุ่มที่ขึ้นก็เป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค
ช่วงนี้โรคระบาดมาต่อ ๆ กันไม่มีพัก และไม่ว่าจะเป็นโควิด 19 หรือฝีดาษลิง ก็เจออาการตุ่มหรือผื่นขึ้นได้ทั้งคู่ หรืออย่างที่มีข่าวเจอผู้ต้องสงสัยฝีดาษลิง แต่ตรวจแล้วกลับพบว่าเป็นโรคเริม เป็นต้น ซึ่งก็หมายความว่า ตุ่มที่ขึ้นบนร่างกาย ต้องสงสัยได้หลายโรคจริง ๆ ดังนั้น ตุ่มบนผิวหนังเราบอกโรคอะไรกันแน่ ลองมาเช็กดูให้ดี ๆ
ฝีดาษลิง
ส่วนลักษณะผื่นฝีดาษลิงจะพัฒนาไปตามระยะ
คือ มีผื่นนูนแดง แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง สีขาวเหลือง
มีรอยบุ๋มตรงกลาง จนกระทั่งในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดหลุดออกมา
โดยจะเริ่มมีตุ่มภายใน 1-3 วัน หลังมีไข้ และอาจขึ้นบริเวณใบหน้า
ก่อนจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แขน ขา
หรืออาจพบในบริเวณช่องปาก รวมไปถึงอวัยวะเพศได้ด้วย
ฝีดาษลิง กับ 10 เรื่องที่ควรเข้าใจ ทำไมคนเกิดหลังปี พ.ศ. 2523 ถึงเสี่ยงกว่ากลุ่มอายุอื่น
เริม
ส่วนลักษณะตุ่มจะเป็นตุ่มใสเล็ก
พอง ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มและลามอย่างรวดเร็ว ภายในตุ่มใสจะมีน้ำอยู่ข้างใน
หลังจากนั้นจะแตกออกกลายเป็นแผล จนรู้สึกเจ็บและแสบแผลได้
และหากตุ่มโดนน้ำอยู่ตลอดเวลาก็อาจจะมีอาการคันร่วมด้วย
ซึ่งโดยปกติแล้วตุ่มน้ำใสเหล่านี้จะแห้งได้เองภายใน 7-10 วัน
หลังมีอาการแสดง แต่หากเจอความชื้น ดูแลแผลไม่ดี อาจหายช้ากว่าปกติได้
เริมที่ปาก ตุ่มน้ำใสที่ทั้งแสบทั้งคัน ไม่อยากปากพังระวังให้ดี
อีสุกอีใส (Chickenpox)
โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) หรือ Human herpes virus type 3 โดยนอกจากจะมีตุ่มขึ้นที่ผิวหนังแล้วก็ยังมีไข้ร่วมด้วย โดยเริ่มแรกจะเป็นผื่นแดงราบ ลามกระจายตามใบหน้า ลำตัว แผ่นหลัง มีอาการคันมาก ต่อมาก็พัฒนาเป็นตุ่มใส จากนั้นตุ่มจะเริ่มแตกกลายเป็นสะเก็ดแผลครอบตุ่มน้ำอีกที ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะหายเองได้ภายใน 1-3 สัปดาห์ค่ะ แต่หากเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นจากการติดเชื้อจากแผลที่เกิดขึ้นทั้งตัว อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น แก้วหูอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ หรือติดเชื้อในสมองได้เช่นกัน
ดังนั้นหากเป็นอีสุกอีใสแล้วมีอาการปวดหู
ไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก ตาเหลือง ตัวเหลือง (ดีซ่าน) ปวดศีรษะมาก
ซึมลง อาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่า
ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม
เพราะโรคแทรกซ้อนบางอาการอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
โรคมือเท้าปาก
ทั้งนี้
นอกจากตุ่มขึ้นแล้ว อาการโรคมือเท้าปากมักจะมีอาการไข้ เจ็บปาก
กินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล มีแผลในปากคล้ายร้อนใน โดยอาการจะหนักในช่วง
2-3 วันแรก และจะค่อย ๆ ทุเลาจนหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตาม
อาจมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงหรือโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยติดเชื้อ
EV 71 (สายพันธุ์รุนแรง) หรือมีภูมิต้านทานต่อโรคค่อนข้างต่ำ
ดังนั้นหากต้องสงสัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก
ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที
ซิฟิลิส
อย่างการติดเชื้อระยะแรก
จะเห็นเป็นแผลริมแข็ง มีขอบนูนแข็ง แผลไม่เจ็บ ดูสะอาด
และมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมาจะมีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
หรืออาจพบได้ทั่วตัว ซึ่งผื่นที่ขึ้นจะไม่มีอาการคัน
หรืออาจพบผื่นสีเทาในปาก คอ ปากมดลูก และอาจพบหูดในบริเวณที่อับชื้น เช่น
รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ
ซึ่งทั้งหมดนี้จะเรียกว่าอาการระยะเข้าข้อหรือออกดอก โดยจะมีอาการราว ๆ 1-3
เดือน และจะหายไปได้เอง แต่ก็กลับมาเป็นใหม่ได้หากติดเชื้อซ้ำอีก
ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตัวร้าย ป้องกันง่ายแค่สวมถุงยาง
แผลพุพอง
กลาก
โรคกลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ติดต่อกันง่าย จากสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวก็เป็นพาหะได้ โดยลักษณะกลากจะเป็นผื่นสีแดง ทรงวงกลมหรือวงแหวนที่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ และอาจมีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ หรือมีขุยสีขาวบาง ๆ ที่ขอบ ซึ่งจะพ่วงมากับอาการคันมาก ในบางคนอาจเป็นตุ่มหนองด้วย
โดยกลากเกิดขึ้นได้กับหลายส่วนในร่างกาย ทั้งหนังศีรษะ ตามลำตัว ส่วนที่อับชื้นต่าง ๆ เช่น ขาหนีบ ที่เรียกว่าสังคัง นิ้วเท้า ที่เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือที่เล็บก็เป็นกลากได้เช่นกัน และด้วยความที่กลากเป็นโรคที่ติดต่อกันง่าย ดังนั้นควรรีบรักษาให้หายโดยไว จะได้ไม่นำไปติดคนอื่นนะคะ
งูสวัด
ส่วนอาการเริ่มแรกจะปวดแสบร้อนลึก
ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ และอาจมีไข้ร่วมด้วยหลังจากที่ปวดแสบร้อนได้ประมาณ
2-3 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มเป็นผื่นแดง
ต่อมาผื่นแดงก็จะกลายเป็นตุ่มน้ำใสเต่ง ๆ (รูปร่างคล้ายหยดน้ำกลิ้งบนใบบัว)
เรียงกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นแนวยาว ๆ ตามเส้นประสาทของร่างกายเป็นหย่อม ๆ
เช่น ตามความยาวของแขน หรือตามความยาวของขา หรือรอบเอว รอบหลัง หรือศีรษะ
เป็นต้น ซึ่งตุ่มน้ำใสเต่ง ๆ ของงูสวัดนี้จะแตกออกเป็นแผล
ต่อมาก็จะตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
งูสวัด อาการโรคผิวหนังจากเชื้อไวรัสที่ร่างกายอ่อนแอปั๊บ ต้องระวังเลย
สะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ เช่น ภาวะทางจิตใจ ความเครียด ความโกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน, การเกิดโรคของอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น โรคตับ โรคไต เป็นต้น
อาการมีหลายลักษณะ
ที่พบบ่อยคือ มีผื่นแดงหนา มีขุยละเอียดหรือขุยหนา ๆ สีขาวหรือสีเงินบนแผล
แต่ก็มีชนิดที่เป็นตุ่มได้เหมือนกัน
โดยมีทั้งแบบตุ่มแดงคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร
หรือตุ่มหนองกระจายบนผิวหนัง รู้สึกปวดบวม ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
โรคสะเก็ดเงิน ผื่นเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกาย ที่หลายคนไม่รู้ว่าแค่เครียดก็เป็นได้
ผดร้อน
ผดร้อน
เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ และมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นปื้นแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใส ๆ ขนาดเล็ก
รวมกันเป็นกระจุก สามารถแตกเป็นสะเก็ดได้ง่าย
อาจมีอาการคันและแสบหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของผดร้อน
แต่หากเกิดการเสียดสีบริเวณที่เป็นผดร้อนก็อาจเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจนกลายเป็นตุ่มหนองได้
ซึ่งควรรีบรักษา เพราะอาจมีอาการแสบคันหนักกว่าเดิม
หัด
โรคหัด และหัดเยอรมัน ภัยสุขภาพที่ต้องระวัง ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
หัดเยอรมัน
หิด
หิด
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อตัวไรเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า Sarcoptes
scabiei ซึ่งมาอาศัยอยู่ในรูขุมขน ออกไข่ และฟักเป็นตัวอ่อน
ส่งผลให้มีตุ่มนูนแดง ทั้งแบบตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองตรงรูขุมขนนั้น ๆ
ก่อให้เกิดอาการคันรุนแรงโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
และหากมีใครมาสัมผัสหิดก็จะติดได้ง่าย
หรือใช้ของร่วมกับคนที่เป็นหิดก็ติดต่อกันได้
รวมไปถึงการร่วมเพศก็ส่งต่อตัวหิดได้เช่นกัน
หูดข้าวสุก
หูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่ก็จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกัน แต่เกิดจากเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ที่เป็นตระกูลเชื้อต้นเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย อาการจะเริ่มจากเป็นผื่นสีออกน้ำตาลไปทางชมพู มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน เป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพู บางคนอาจมีตุ่มนูนเล็ก ๆ แห้ง ๆ คล้ายมีขี้ไคลคลุม บางคนอาจเป็นตุ่มนูนแบน และตุ่มนูนเล็ก หรือมีหลายชนิดปนกัน มีขนาดแตกต่างกัน การเรียงตัวอาจติดกัน หรือกระจายตัวไปทั่ว
โดยหูดหงอนไก่อาจเป็นก้อนเล็ก ๆ จนถึงก้อนโตจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนัก
หรือท่อปัสสาวะเลยก็ได้ บางรายอาจมีเลือดออกมาจากก้น คัน มีการตกขาวผิดปกติ
รวมทั้งแสบร้อนที่อวัยวะเพศ
ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้ควรไปตรวจกับสูตินรีแพทย์โดยด่วน
แพ้ยา
ผื่นแดง คล้ายลมพิษ
มีอาการคัน เป็นอาการแพ้ยาที่พบได้บ่อย โดยอาจมีอาการบวมแดงที่ผิวหนัง
ตาบวม หน้าบวม ร่วมด้วยได้ และหากแพ้หนัก ๆ อาจมีผื่นขึ้นทั้งตัว
โดยเป็นผื่นแดงเป็นปื้น มีตุ่มเล็ก ๆ เป็นตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำพองใส
หรือบางรายอาจแสบผิวหนัง ผิวหนังหลุดลอก เป็นต้น
ภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
สำหรับใครที่มีผื่นแดง หรือตุ่มนูนแดงขึ้นบนผิวหนัง และคันมาก หรือมีตุ่มน้ำใสที่พอแตกจะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มออกมาด้วย พอแห้งก็กลายเป็นสะเก็ดแข็งติดผิว ต้องสงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง และหากเป็นเรื้อรัง ผิวตรงนั้นจะมีลักษณะเป็นแผ่นหนา แข็ง มีขุย โดยในผู้ใหญ่จะพบมากในบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังที่มีการเสียดสีมาก ๆ แต่ในเด็กจะพบได้มากบริเวณใบหน้าและศีรษะ
โรคนี้เกิดได้จากกรรมพันธุ์ หรือเป็นคนที่มีผิวแพ้ง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เช่น เมื่อเจอละอองเกสร สภาพอากาศร้อนจัด เหงื่อออก หรือเย็นจัดจนผิวแห้งแตก หรือเปลี่ยนยี่ห้อสบู่ แชมพู ผงซักฟอก ก็จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิว คัน หรือมีผื่นตุ่มที่ผิวหนังได้
ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic eczema)
โดยลักษณะอาการจะมีตุ่มใส
ๆ แข็ง ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ด้านข้าง ๆ นิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งแรก ๆ
ตุ่มอาจจะมีขนาดเล็ก แต่นาน ๆ ไปอาจขยายใหญ่ขึ้นมาหลายเซนติเมตรได้
ร่วมกับมีอาการคัน และน้ำใส ๆ จะเปลี่ยนเป็นหนองจากการติดเชื้อ
สุดท้ายผิวหนังบริเวณที่เป็นตุ่มน้ำจะแห้ง ตกสะเก็ด และลอกเป็นแผ่นหนา ๆ
ออกไปได้
โรคตุ่มน้ำพอง เพมฟิกัส (Pemphigus)
ส่วนลักษณะตุ่มน้ำพองอาจพบเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังก่อน
จากนั้นจะเป็นตุ่มน้ำพองใส สามารถแตกออกได้ง่าย
และเมื่อตุ่มใสแตกแล้วจะขยายออกเป็นวงกว้าง เป็นแผลถลอก
โดยอาจมีสะเก็ดน้ำเหลืองให้เห็นด้วย อีกทั้งจะเจ็บและแสบมาก ๆ หากตุ่มใสแตก
ทว่าเมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็นนะคะ เพียงแต่อาจเป็นรอยดำ ๆ
อย่างชัดเจน และโชคไม่ดีด้วยที่โรคนี้จะเป็นอย่างเรื้อรัง
ดังนั้นหากพบสัญญาณของโรค ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ตุ่มที่ขึ้นบนผิวหรือผื่นตามผิวหนังอาจบอกได้อีกหลายโรคที่เราไม่ได้กล่าวถึง เพราะสาเหตุของการเกิดมีหลากหลายมาก ๆ ดังนั้นหากพบตุ่มหรือผื่นที่ไม่รู้ที่มา และลองรักษาเองแล้วไม่หาย แนะนำให้ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อวินิจฉัยอาการจะดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลยันฮี, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลวิชัยเวช, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล