Home »
ไอเดีย
»
เพาะเชื้อเห็ดฟางจากต้นกล้วย ทำง่าย แถมต้นทุนต่ำ กำไรดี
เพาะเชื้อเห็ดฟางจากต้นกล้วย ทำง่าย แถมต้นทุนต่ำ กำไรดี

เกษตรกรหลายท่านมีความสนใจในเรื่องของการเพาะเห็ด
เชื้อเห็ดเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเพาะ
ชาวเกษตรกรทำการเพาะเห็ดเพื่อเอาไว้บริโภค
และขายเป็นการสร้างรายได้สร้างอาชีพที่ดีงาม
แต่เนื่องจากเชื้อเห็ดที่จะนำมาเพาะนั้นหาซื้อได้ยากในบางพื้นที่
หรือที่มีขายก็มักจะไม่ค่อยมีคุณภาพที่แน่นอนทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ
และไม่มีคุณภาพ หรือเชื้อเห็ดมีราคาที่แพงเกินไป

เกษตรกรน้อยรายนักที่จะผลิตเชื้อเห็ดเอง เพราะใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูง
ต้องมีเครื่องมือที่จำเป็นหลายอย่าง ต้องใช้เทคนิคปลอดเชื้อ
เพื่อควบคุมการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์แปลกปลอมที่ติดมากับวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเพาะ
และสภาพแวดล้อม
ซึ่งผู้ปฎิบัติต้องมีการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจึงจะสามารถทำได้
ดังนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาวิธีการผลิตเชื้อเห็ดโดยแบบง่าย
โดยไม่ต้องใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำ และตู้เขี่ยเชื้อ
ผู้สนใจสามารถทำได้ง่าย
และสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในครัวเรือนมาใช้ในการผลิตเชื้อเห็ดได้
วิธีการทำเชื้อเห็ดฟางอย่างง่ายจากดอกเห็ดฟางสด ทำได้ด้วยตัวเอง
วัสดุอุปกรณ์มีดังนี้
1. ต้นกล้วยสดตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ถุงพลาสติกชนิดใส ขนาด 6×9 นิ้ว 10 ใบ
3. มีดคัทเตอร์ 1 ด้าน
4. แอลกอฮอล์ 1 ขวด
5. แก้วเปล่า 1 ใบ
6. เข็มเย็บกระดาษ 1 อัน
7. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก
8. กระดาษที่สะอาด 1 แผ่น
9. สำลีเล็กน้อย
10. น้ำสะอาดเล็กน้อย
ขั้นตอนในการทำ
1. นำต้นกล้วยสด และควรเป็นต้นกล้วยตัดใหม่ ๆ มาหั่นเป็นแว่น ๆ
หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
ถ้าเป็นต้นกล้วยที่มีเครือแล้วให้เก็บส่วนของก้านเครือทิ้งให้หมดแล้วใช้มีด
สับต้นกล้วยที่หั่นแล้วให้ละเอียดเล็กน้อยประมาณ 1 –2
เซนติเมตรนำไปตากแดดโดยมีแผ่นพลาสติกหรือวัสดุรองพื้นที่สะอาดเกลี่ยให้บาง ๆ
ประมาณ 4-5 วัน
ควรกลับกองกล้วยทุกวันจนต้นกล้วยแห้งสนิทจึงนำไปทำเชื้อเห็ดฟาง

2. นำต้นกล้วยที่แห้งแล้ววางบนพื้นซีเมนต์หรือบนแผ่นพลาสติก
พรมด้วยน้ำสะอาดผสมคลุกเคล้าจนทั่วแล้วทำการตรวจสอบให้มี ความชื้นหมาด ๆ
โดยการใช้มือกำต้นกล้วยแล้วบีบให้แน่น
เมื่อคลายมืออกต้นกล้วยจะเป็นต้นเล็กต้นน้อย หรือรู้สึกชื้นมือ
ถ้าบีบแล้วน้ำหยดหรือซึมออกตามง่ามมือแสดงว่าความชื้นมากเกินไปต้องผึ่งลมทิ้งไว้ให้ความชื้นระเหยไปประมาณ
1-2 ชั่วโมงถ้าความชื้นมากเกินไปเส้นใยเห็ดฟางจะไม่เจริญ

3. บรรจุต้นกล้วยลงในถุงประมาณถุงละ 200 กรัม (ต้นกล้วยแห้ง 1 กิโลกรัม บรรจุได้ประมาณ 15- 20 ถุง )

4. นำดอกเห็ดฟางสดมาทำความสะอาด โดยใช้มีดคัทเตอร์ตัดแต่ง
บริเวณโคนดอกเห็ดฟางที่สกปรกหรือมีวัสดุเพาะติดโคนดอกมา
ออกให้หมดควรทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดอกเห็ดฟางกระทบกระเทือนหรือชอกช้ำมา

5. เทแอลกอฮอล์ลงในแก้วประมาณ 1/2
แก้วแล้วนำดอกเห็ดฟางที่ตัดแต่งแล้วจุ่มลงไปจนมิดดอกเห็ดฟาง
แล้วนำออกมาวางใน
กระดาษที่สะอาดปล่อยให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจากดอกเห็ดฟางจนแห้ง (
ห้ามนำดอกเห็ดฟางแช่ลงในแก้วแอลกอฮอล์แล้วแช่ ทิ้งไว้ )

6. นำสำลีจุ่มแอลกอฮอล์ แล้วนำไปเช็ดถูทำความสะอาดใบมีดคัทเตอร์
ใช้มีดตัดส่วนของดอกเห็ดฟางส่วนใดก็ได้อย่างระมัดระวัง ขนาดประมาณ 1
ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร
ใส่ลงไปในถุงที่บรรจุต้นกล้วยเตรียมไว้ ถุ งละ 1 ชิ้นทุกถุงเห็ดฟาง 1 ดอก
ใช้ได้ประมาณ 10 ถุง

7.
จับปากถุงแล้วเขย่าให้เนื้อเยื่อดอกเห็ดฟางอยู่ในบริเวณกึ่งกลางถุงพอดี
แล้วแนบปากถุงพับลงมา 2–3 ครั้ง เย็บปากถุงด้วยเข็มเย็บกระดาษ 2-3 ครั้ง

8.
นำถุงเชื้อเห็ดฟางบรรจุลงในตะกร้าหรือลังไม้เรียงเป็นแถวทับซ้อนกันได้ไม่เกิน
2 ชั้น แล้วนำไปบ่มเชื้อในอุณหภูมิห้องปกติ (30 องศาเซลเซียส ) ประมาณ
10-15 วัน
เส้นใยเห็ดฟางจะเจริญจนเต็มถุงจึงนำไปเพาะหรือนำไปต่อเชื้อเพื่อขยายให้มี
ปริมาณมากขึ้น
ข้อดีของการใช้ต้นกล้วยทำเชื้อเห็ดฟาง
– เป็นวัสดุที่หาง่าย
– ต้นทุนต่ำ
– ทำได้ง่าย
– ปลอดเชื้อจุลินทรีย์
– สามารถคัดเลือกสายพันธ์ได้เอง
– เส้นใยแข็งแรงสมบูรณ์และให้ผลผลิตที่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : การทำเชื้อเห็ดฟาง ด้วยต้นกล้วยจากเนื้อเยื่อของดอกเห็ดสด – Dooidea