Edit จีนยอมปล่อยน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำโขงแล้ว ประชาชนต่างดีใจ หลังสู้ภัยแล้งมานาน “แม่น้ำโขง” เป็นลำน้ำขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านหลายประเทศ รวมถึงไทยเราด้วย ซึ่งแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงคนไทยหลายล้านคน รวมถึงระบบนิเวศของแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก แต่หลังจากที่ฝนทิ้งช่วงนานหลายสัปดาห์ รวมถึงการกั้นน้ำในเขื่อนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว ล่าสุดทางจีน ได้ระบายน้ำจาก “เขื่อนจิ่งหง” เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ลงน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงในระดับ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ล่าสุดมวลน้ำได้เริ่มไหลถึงพรมแดน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แล้ว โดยวันที่ 20 ก.ค. น้ำโขงบริเวณหน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน ลึกประมาณ 2.10 เมตร เพิ่มขึ้นกว่าของ 1-2 สัปดาห์ก่อน ที่จีนปิดเขื่อนประมาณ 50-60 ซมและมีรายงานด้วยว่าเช้าวันนี้ เขื่อนจิ่งหงได้ปล่อยน้ำเพิ่มเป็นกว่า 1,449 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว ซึ่งมวลน้ำระลอกใหม่จะไหลลงมาถึงชายแดนไทยในอีก 1-2 วันข้างหน้า เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า จากกรณีแม่น้ำโขงเคยเหือดแห้งลงอย่างต่อเนื่องช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เพราะประเทศจีนลดการระบายน้ำจากเขื่อนจิ่งหง เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ห่างจาก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 300-400 กิโลเมตรนั้น ล่าสุดระดับน้ำหน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน ที่เคยมีระดับไม่ถึง 2 เมตรได้ลึกถึงระดับ 2.86 เมตรแล้ว หลังจากเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ศูนย์ควบคุมแม่น้ำล้านช้าง เขื่อนจี่งหง ได้ปล่อยน้ำลงมาในปริมาณ 1,587 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและในวันที่ 24 ก.ค.ปล่อยลงมาในปริมาณ 1,620 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้การสัญจรไปมาของเรือสินค้า เรือท่องเที่ยวและเรือโดยสารทั่วไปเป็นไปด้วยความสะดวกมากขึ้น และจากระดับน้ำโขงที่เพิ่มขึ้น ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.) ของจีน ได้นัดหมายให้ประเทศสมาชิก ศปปข. ทั้ง สปป. ลาวเมียนมา และไทย ร่วมกิจกรรมตระเวนและบังคับใช้กฎหมายในแม่น้ำโขงครั้งที่ 84 เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 21-24 ก.ค.นี้ ทั้งนี้การลาดตระเวนในลักษณะนี้จะมีการปฏิบัติกันเดือนละประมาณ 1 ครั้ง แต่รูปแบบ-ระยะเวลาจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระดับน้ำของแต่ละช่วง โดยจีนจะใช้กองกำลังจากตำรวจตระเวนชายแดนทำการลาดตระเวนด้วยเรือขนาดใหญ่ที่ดัดแปลงเรือบรรทุกสินค้า และเรือขนาดกลาง รวมถึงมีเรือเร็วขนาดเล็กจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งฐานอยู่ที่ท่าเรือเชียง กก บ้าน ลอง แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ด้วย นายนิวัฒน์ กล่าวว่า การขึ้นลงไม่เป็นธรรมชาติของน้ำจึงเกิดจากเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีนมากกว่าโดยเฉพาะปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนเอาไว้มากถึง 11 แห่ง และกักเก็บน้ำเอาไว้ได้มากถึง 47 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นปริมาณมหาศาล ดังนั้นทางกลุ่มรักษ์เชียงของจะมีการรวบรวมข้อมูลและผลกระทบเพื่อนำเสนอต่อสถานเอกอัครราชทูตประเทศจีนประจำประเทศไทยเพื่อขอหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งกับทางการจีนและบริษัทที่สร้างเขื่อนต่างๆ ดังกล่าว เพื่อจะได้หาวิธีการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำโขงร่วมกันเพราะหากเปลี่ยนวิธีการกักเก็บน้ำจะสามารถทำให้เกิดสมดุลในธรรมชาติได้เช่นกัน ในส่วนของกลุ่มนักอนุรักษ์นั้น นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า การจะดำเนินการตามโครงการดังกล่าวควรจะมีการศึกษาประเมินผลกระทบที่เกิดจากการระเบิดเกาะแก่งในโครงการระยะหรือเฟสแรกบนพื้นที่เหนือน้ำ และศึกษาการปล่อยน้ำของจีน ศึกษาผลกระทบเรื่องเขตแดน อธิปไตย ยุทธศาสตร์ความมั่นคง การพัฒนาที่เหมาะสมกับร่องน้ำก่อนด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: Lovedara