Edit “ลูกหว้า” ไม้มงคล สรรพคุณมากมาย ช่วยชะลอวัย “ลูกหว้า” (Jambolan plum) เป็นผลไม้ที่หลายคนถ้าได้ยินชื่อ แต่บางคนอาจจะไม่เคยเห็นว่าหน้าตาของ “ลูกหว้า” เพราะผลไม้นี้แต่ละปีจะออกผลแค่ครั้งเดียว ทั้งยังไม่สามารถพบเจอกันได้ง่ายๆ เพราะมักจะพบตามป่าดิบชื้น หรือถ้าเป็นพื้นที่ทั่วไปก็เป็นพื้นที่แถบชนบทกันมากกว่า ลูกหว้าที่สุกจัดจะรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ฝาดเล็กน้อย แต่ถ้าจิ้มเกลือนิดๆ จะอร่อยไม่แพ้ใครทีเดียว แต่นอกจากความอร่อยแล้ว ลูกหว้ายังมีสรรพคุณทางยๅอีกมาก ใครที่เคยเมินลูกหว้า ถ้าคุณไม่อยๅกพลาดแล้วละก็ มาดูกันดีกว่าลูกหว้ามีสรรพคุณและประโยชน์อย่างไรกันบ้าง ต้นหว้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ปากีสถาน มีการกระจายพันธ์ไปตามประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามภูเขา ป่าดิบชื้น ส่วนในพื้นที่ปกติมีการนำมาปลูกบ้างเพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดเพชรบุรี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกหว้า ลำต้น เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีเทา-ขาว แตกเป็นแผ่นหนาได้ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แตกใบเรียงตัวกันแบบตรงกันข้าม โคนสอบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ผิวใบและขอบใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 0.6-3 ซม. เส้นกลางใบสีเหลืองมองเห็นได้ชัดเจน ลักษณะของต้นลูกหว้า ดอก ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อมีประมาณ 5 กลุ่มและแต่ละกลุ่มมีดอกย่อย 3-8 ดอก ดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ดอกหว้านั้นไม่มีกลีบดอกหรือกลีบเลี้ยง เมื่อดอกยังตูมอยู่จะมีเยื่อบางๆหุ้มดอกเอาไว้ เมื่อดอกบานเยื่อนี้จะหลุดไปเองตรงฐานรองดอกก็จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นผล มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นจำนวนมากรอบๆ ฐานดอก ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อันอยู่ตรงกลาง ช่อดอกยาวราวๆ 4.5-10 ซม. ผล ผลมีลักษณะรูปไข่กลมมน อยู่รวมกันเป็นพวง เปลืองบาง ผิวเปลือกเรียบเป็นมัน สีม่วงจนถึงดำ เนื้อผลสีขาวอมม่วง รสฝาดเปรี้ยวอมหวาน เมล็ด รูปไข่ มีขนาดใหญ่ หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด 11 สรรพคุณน่ารู้ของลูกหว้า 1. ลูกหว้าอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน ลูกหว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต กรดไขมัน แทนนิน กรดเอลลาจิก และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยๅนิน วิตามินซี เป็นต้น 2. ลูกหว้ามีสรรพคุณแก้ท้องเสีย ผลดิบรับประทานสดแก้ท้องร่วง ท้องเสีย ผลสุกนำไปทำเครื่องดื่ม ไวน์ ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและบิดได้เช่นกัน 3. ลูกหว้าช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้ศึกษากับหนูทดลองโดยให้สารสกัดลูกหว้ากับหนู พบว่าช่วยให้หลอดเลือดทำงานดีขึ้น ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง 4. ลูกหว้าช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ มีงานวิจัยอีกบางชิ้นที่บ่งบอกว่าลูกหว้าอาจช่วยปรับระดับความดันโลหิตได้ โดยให้สารสกัดจากลูกหว้ากับหนูที่ความดันโลหิตสูงนาน 8 สัปดาห์ ผลที่ได้คือหนูเหล่านั้นความดันโลหิตลดลง 5. สรรพคุณลูกหว้าช่วยเทาอาการอักเสบจากการติดเชื้อ บางคนเชื่อกันว่าลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อได้ มีงานศึกษาในเรื่องนี้โดยการฉีดสารต่างๆเข้าไปที่เท้าของหนูทดลองเพื่อให้เกิดการอักเสบ จากนั้นฉีดสารสกัดจากเปลือกหว้า พบว่าอาการบวมที่เกิดจากสารบางชนิดลดลงได้ นอกจากนี้ยังทดลองโดยให้หนูที่ติดเชื้อแบคทีเรียกินใบหว้าสดๆ พบว่าช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว ทำให้มีภูมิต้านทานมากขึ้น มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าหนูที่ไม่ได้กิน 6. ประโยชน์ของลูกหว้าช่วยลดไขมันในเลือด ที่ประเทศอินเดียมีสูตรยๅพื้นบ้านขนานหนึ่ง ที่มีส่วนหลักมาจากลูกหว้า นำมาทานเพื่อลดระดับไขมันในร่างกาย 7. ลูกหว้าช่วยบำรุงกำลัง บางพื้นที่ประเทศมาเลเซีย นำรากหว้าไปต้มกับน้ำแล้วดื่ม เพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง 8. ลูกหว้าช่วยรักษาโรคผิวหนัง นำใบและเมล็ดมาตำให้ละเอียด แล้วเอาพอกที่ผิวหนังบริเวณที่เป็นโรค 9. ลูกหว้าช่วยชะลอความชรา ลูกหว้ามีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ทานแล้วช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย บำรุงผิว แก่ช้าลง 10. ลูกหว้ารักษาแผลในปากและลำคอ ใบและเปลือกนำมาต้ม กลั้วปาก แก้ปากเปื่อย รักษาแผลเปื่อยในลำคอ ช่วยทำให้เม็ดผดใสๆ ที่ขึ้นตามลิ้น กระพุ้งแก้มและลำคอยุบลงไวยิ่งขึ้น 11. ลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร นั้นหอมระเหยในลูกหว้าช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี เพิ่มปริมาณน้ำย่อย ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น คุณประโยชน์ของลูกหว้า 1. ยอดอ่อน นำไปรับประทานเป็นผักสด เป็นเครื่องเคียงอาหารอื่น 2. ลำต้น เป็นไม้เนื้อแข็ง นำไปสร้างบ้าน เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ที่ใช้ตกแต่งบ้าน 3. ผลสุก นำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้หรือไวน์ ข้อควรระวังในการทานลูกหว้า 1. งานวิจัยส่วนใหญ่นั้นวิจัยในหนูทดลอง หากนำมาใช้กับคน ผลการรักษาอาจจะไม่ได้ผลก็ได้ ดังนั้นใครที่เจ็บป่วย หากจะทานยๅที่มีลูกหว้าเป็นส่วนผสมหรือนำลูกหว้ามาปรุงยๅทานเอง ก่อนทานควรปรึกษาแพทย์ก่อน แต่ถ้าหากรับประทานปริมาณเล็กน้อยเหมือนกันการทานผลไม้ทั่วๆ ไปก็ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากต้องการรับประทานลูกหว้า เครื่องดื่มจากลูกหว้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นใดที่มีส่วนผสมของลูกหว้า ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน 3. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรหลีกการทานลูกหว้าในลักษณะทานเพื่อรักษาโรค ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: Khao101