เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

“ข้าวเหนียว” เป็นอาหารหลักที่นิยมทานกันทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ แต่ปัจจุบันเรามักจะใช้กระติกน้ำแข็งมาเป็นภาชนะบรรจุข้าว มันเหมือนจะสะดวกสบายและง่ายต่อการพกพา แต่หารู้ไม่นี่คือภัยใกล้ตัวที่อันตรายมาก

เฟซบุ๊กเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้ออกมาเตือนถึงอันตรายของคนที่ชอบกินข้าวเหนียว ซึ่งบรรจุในกระติกพลาสติก ใส่ผ้าขาวบาง โดยยกตัวอย่างเรื่องราว ระบุว่า…

เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

วันนี้พาย่าไปหาหมอมา

หมอถามว่าหมอ : ที่บ้านกินข้าวอะไร

เรา : กินทั้ง 2 ข้าว (ข้าวหุง กับ ข้าวเหนียว)

หมอ : ข้าวเหนียวเอาใส่ในกระติกไหม ใช้ผ้าอะไรใส่

เรา : ใส่กระติกค่ะ ผ้าขาวบาง

หมอ : กระติกเข้าบอกว่าใส่น้ำแข็งใช่ไหม ไม่ใช้ใส่ของร้อนนะ

เรา : ค่ะ

เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

หมอก็หยิบผ้าขาวบางมาให้ดู 2 แบบ

แบบ 1 มีความถี่มาก ยืดหยุ่นได้ (ทำจากไนลอน)

แบบที่ 2 ผ้ามีความถี่และยืดหยุ่นต่ำ (ผ้าจริง)

หมอถามว่า ไนลอน ทำมากจากอะไร พลาสติกไหม

เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

เราก็นึกแล้วลองไปหาดู เออจริง ปรากฏว่า เรากินข้าวเคลือบพลาสติกมา ตลาดหลายๆ ปีเหรอ

อาการ ย่า คือ ชาเท้า กินข้าวไม่อร่อย เวียนหัวบ้านหมุนมาก

แต่ตอนนี้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เริ่มจากที่บ้าน หมอฝากมาบอกว่า

ไปถามเพื่อนที่อยู่หอว่า มีอาการแบบนี้ไหม ชาเท้าไหม ?

ถ้ามีอาการแบบนี้ต้องอย่าลืมไปตรวจหาหมอบ้าง เพราะมันเกิดจาก

พฤติกรรมการกิน แต่สำหรับเรายังไม่มีอาการแบบนี้ แต่ก็ต้องกันไว้ก่อนแก้

แนะนำ

ใส่แอ๊บสานไม้ดีที่สุดแต่อย่าลืมเรื่องเชื้อรา ความสะอาดด้วย

เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อ.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาไขข้อข้องใจว่า ถ้ากระติกน้ำแข็งเป็นชนิดคุณภาพดี (food grade) ก็สามารถทนความร้อนระดับข้าวเหนียวร้อนได้ และไม่ได้มีสารพิษออกมาให้เป็นอันตราย แต่ถ้าเป็นกระติกราคาถูกคุณภาพต่ำ ทำจากพลาสติกรีไซเคิลซ้ำก็เสี่ยงอันตราย ซึ่งเดี๋ยวนี้มีขายเกลื่อนและชอบซื้อมาใช้กัน เพราะราคาถูกกว่ามาก ส่วนผ้าขาวบางที่ใช้ปูในกระติก เพื่อรองกันข้าวเหนียวติดกระติก แน่นอนว่าควรใช้ผ้าจริงๆ (ทำจากเส้นใยฝ้าย) มากกว่าผ้าไนล่อนที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ จำพวกโพลีเมอร์พลาสติก ทั้งนี้จริงๆ แล้วการใส่ข้าวในหม้อหรือถุงร้อน ก็น่าจะดีกว่าใช้ผ้าขาวบาง

เตือนภัย!! คนชอบกินข้าวเหนียว

“ผมไม่แนะนำให้เก็บข้าวเหนียวร้อน โดยให้สัมผัสโดยตรงกับเนื้อพลาสติก ถ้าเป็นไปได้ น่าจะใส่ข้าวเหนียวในหม้อโลหะ หรือคดใส่ในถุงพลาสติกแบบถุงร้อน แล้วค่อยใส่ในกระติกอีกที จะมั่นใจมากกว่าว่าปลอดภัยครับ” อ.คณะวิทยาศาสตร์ ระบุ

ดร.เจษฎา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชนิดของเนื้อพลาสติกของกระติกน้ำ ข้อมูลจากเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ระบุว่า กระติกน้ำแข็งที่ผลิตในประเทศไทยและได้มาตรฐานนั้น มักผลิตจากพลาสติกชนิด HDPE และ PP ซึ่งเป็นเกรดอาหาร (food grade) มีจุดอ่อนตัวที่ 80-100 องศาเซลเซียส และ 120 องศาฯ จึงสามารถทนความร้อนระดับข้าวเหนียวได้ เพราะไม่ได้ร้อนเป็น 100 องศาฯ แบบน้ำเดือด โดยที่ไม่ได้มีสารเคมีอันตรายละลายออกมาอย่างที่กลัวกัน

แต่ถ้ากระติกน้ำนั้น รีไซเคิลจาก HDPE และ PP แล้วละก็ อย่างนี้มีสิทธิได้สารเจือปนอื่นปนเปื้อน รวมถึงพวกสี ที่ใช้ทาเคลือบในกระติกนั้น ถ้าไม่ใช่สีที่คุณภาพดี (food grade) ก็มีสิทธิเสี่ยงอันตรายเช่นกัน หลักง่ายๆ เลยก็คือว่า ให้ดูสินค้านั้นได้รับเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือไม่???