เฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากไวรัส

กรมวิทยาศ าสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากไวรัสโรทา และไวรัสโนโร โดยพบผู้ป่วยเป็นเด็กและผู้สูงอายุค่อนข้างมาก

    ไวรัสโรทา (Rotavirus) มี 7 กลุ่ม คือ A,B,C,D,E,Fและ G ซึ่งไวรัสโรทา กรุ๊ป A เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาการมักรุนแรงในเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปี มีระยะฟักตัว 1-2 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ มักหายได้เองภายใน 3-8 วัน และเนื่องจากมีหลายสายพันธุ์ จึงสามารถเกิดโรคได้หลายครั้ง แม้จะมีการใช้วัคซีนถึง 2 ชนิดแล้ว แต่ด้วยคุณสมบัติของไวรัสโรทาที่มียีนมากถึง 11 จีนโนม จึงทำให้เกิดการผสมข้ามยีนกันในแต่ละ 11 จีนโนม เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ง่าย สำหรับไวรัสโรทานี้ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันได้แล้ว

    กรมควบคุมโรค ขอให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุกและไม่สะอาด ในน้ำ น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับเครื่องใช้ เสื้อผ้า โดยเฉพาะเสื้อผ้ามือสอง หรือของเล่นที่มีเชื้ออยู่ ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดโรคที่สำคัญ

     การป่วยด้วยโรคอุจจะร่วงในบางกรณี ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เพราะในกรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้เองโดยธรรมชาติ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานดื่มน้ำสะอาดที่ผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไป หากอาการมากผิดปกติหรือเป็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2-3 วัน ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

การป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อต่างๆ สามารถป้องกันได้โดย

    1. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือเจลล้างมือทั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ

    2. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน

    3. รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด” และไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ

    4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ ของเล่น และเสื้อผ้าของผู้ป่วย โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์

     ทั้งนี้ ผู้ปกครองหรือคนดูแลควรหมั่นสังเกตอาการของบุคคลในครอบครัวอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายมากผิดปกติ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ชีพจรเต้นเร็ว ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันภาวะช็อกจากการขาดน้ำและการเสียชีวิต




กรมควบคุมโรค