เสียงอื้อในหู ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม กับ 6 วิธีรักษาเบื้องต้น

วันนี้เราจะมาเพื่อนๆ มารู้จักกับภาวะอาการหนึ่งซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คนจะต้องเคยประสบกันมาบ้างอย่าง โรคเสียงอื้อในหู (tinnitus) ซึ่งอาจเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในผู้คนทุกวัยแต่หากทิ้งไว้นานเกินไปก็อาจก่อให้เกิดความร้ายแรงได้เช่นเดียวกันค่ะ

    สำหรับสาเหตุของอาการโรคเสียงอื้อในหูนั้นก็เกิดขึ้นได้มากมายค่ะ เริ่มตั้งแต่สาเหตุขั้นร้ายแรงอย่างความผิดปกติของกรรมพันธุ์ การติดเชื้อในหู เส้นประสาทถูกทำลาย ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ไข้หวัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ความเครียดกังวลสะสม และรวมไปถึงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังนานเกินไป

    ส่วนลักษณะอาการของโรคเสียงอื้อในหูที่อาจเกิดขึ้นได้กับหูทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง โดยที่คุณอาจมีอาการหูแว่ว หรือได้ยินเสียงจังหวะต่างๆ ระดับความเข้มของเสียงมีการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการได้ยิน ซึ่งอาการเหล่านี้ควรได้รับการรักษา และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือรอให้มันหายไปเอง Thaiza จึงได้นำเคล็ดลับในการรักษาเบื้องต้นมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ

    1.ใช้อุปกรณ์ช่วยกลบเสียง
    อุปกรณ์ช่วยกลบเสียง หรือ Masking devices เช่น ที่อุดหู (earplug) จะเป็นตัวช่วยที่ช่วยกำจัดเสียงรบกวนออกไปและช่วยเพิ่มระดับความดังของเสียงให้มีความนุ่มนวลยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังมี White noise machine ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ที่ช่วยผ่อนคลาย ทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถหาอุปกรณ์เหล่านี้ได้ เรามีตัวช่วยอีกหนึ่งอย่างก็คือ การนอนฟังเสียงดนตรีเบาๆ ที่ค่อนข้างลื่นหู และยังรวมไปถึงเสียงฝนตก เสียงคลื่นทะเล เป็นต้น

    2.หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่เสียงดัง
    สายเที่ยว สายแดนซ์ หรือสายชอบอัดเสียงเพลงดังๆ ก็คงต้องลด ละ เลิกกันหน่อยแล้วนะคะ เพราะเสียงเครื่องดนตรีหนักๆ หรือดังเกินไปสามารถทำลายโสตประสาทของเราได้ หากอยู่ในพื้นที่นั้นนานเกินไป และสำหรับเพื่อนๆ ที่ชอบฟังเพลงจากโทรศัพท์มือถือ หรือ iPod ก็ควรปรับระดับเสียงให้พอดี ไม่ดังจนเกินไป และไม่ควรสวมหูฟัง headphones นานเกิน 1 ชั่วโมงนะคะ

    3.หลีกเลี่ยงการใช้คอตตอนบัด
    เพื่อนๆ อาจจะยังคุ้นเคยอยู่กับการใช้คอตตอนบัดเช็ดทำความสะอาดใบหู แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้คอตตอนบัดมีแต่จะทำให้ขี้หู หรือสิ่งสกปรกภายในหูยิ่งติดและฝังลึกเข้าไป เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งโดยปกติแล้ว ขี้หูจะทำหน้าที่เป็นสิ่งปกป้องหูของเราจากสิ่งสกปรกต่างๆ ด้วยการดักจับฝุ่น และแบคทีเรีย หากเพื่อนๆ รู้สึกว่าในหูมีขี้หูมากเกินไป ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีมากกว่าการรักษาด้วยตนเองค่ะ

    4.ลดปริมาณแอลกอฮอล์
    ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ ก็ล้วนส่งผลต่ออาการของโรคเสียงอื้อในหูได้ทั้งสิ้น ซึ่งยังรวมไปถึงการใช้ยาบางประเภทอย่าง พาราเซตามอลเกินความจำเป็นอีกด้วยนะคะ วิธีแก้ที่ดีที่สุดก็คือ เพื่อนๆ ควรลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่และหมั่นปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดเมื่อต้องการใช้ตัวยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอล หรือแอสไพริน

    5.หมั่นผ่อนคลายความเครียด
    เพื่อนๆ รู้มั้ยคะว่า เจ้าความเครียดเนี่ยคือศัตรูตัวฉกาจของสุขภาพเราเลยทีเดียว การสะสมความเครียดไว้มากเกินไปก็ยังสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหู การได้ยินและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเสียงอื้อในหูอีกด้วย แต่ถ้าหากเพื่อนๆ รู้สึกเครียดหรือต้องการผ่อนคลายก็มีกิจกรรมให้ทำหลากหลายเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นโยคะ นั่งสมาธิ อาบน้ำอุ่นๆหรือจะเป็นการทำกิจกรรมนอกบ้านแบบที่ไม่เคยทำมาก่อนก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

     ในช่วงวันหยุดยาวเพื่อก้าวเข้าสู่ช่วงปีใหม่ไปพร้อมๆ กันแล้ว นอกเหนือจากความสนุกสนานและการท่องเที่ยวเพื่อเติมพลังให้ตนเอง เราหวังว่าเพื่อนๆ จะไม่ลืมใส่ใจสุขภาพเหมือนเช่นเคย หากใครยังไม่มีเป้าหมายสำหรับปีหน้า เราลองมาเริ่มต้นรักษาสุขภาพกันอย่างจริงจัง เพื่อให้ปี 2018 นี้เป็นอีกปีที่น่าจดจำและใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่ากันเถอะ!



Source: www.davidwolfe.com
www.haamor.com