สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ สรรพคุณดีเด่นไม่แพ้ยาแผนปัจจุบัน ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง !
อากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว
ทำให้คนป่วยด้วยโรคในระบบทางเดินหายใจ เป็นไข้บ้าง เป็นหวัด น้ำมูกไหล
แต่อาการไม่สบายที่น่ารำคาญที่สุดก็คืออาการไอ
ซึ่งมักจะมาพร้อมกับเสมหะเมื่อเราเป็นหวัดอยู่เสมอ หรือแม้แต่คนที่ไอแห้ง ๆ
อมยาเพื่อช่วยให้ชุ่มคอก็ยังไม่หาย
อีกทั้งยังไม่อยากกินยาแผนปัจจุบันเพราะกลัวจะเพิ่มภาระให้ตับและไต
วันนี้กระปุกดอทคอมมีสมุนไพรแก้ไอ มาฝากค่ะ แถมสมุนไพรแก้ไอดังต่อไปนี้ ยังเป็นของดีที่น่าจะมีติดครัวกันอยู่บ้างสักชนิดแหละน่า
แต่ก่อนจะไปไล่เรียงกันว่า สมุนไพรแก้ไอมีอะไรที่ช่วยบรรเทาอาการไอได้บ้าง
เรามารู้จักฤทธิ์ของสมุนไพรในแต่ละกลุ่มกันก่อนค่ะ
โดยสมุนไพรแก้ไอจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
1. กลุ่มที่มีสารสำคัญช่วยเคลือบเยื่อบุทางเดินหายใจ ลดอาการระคายเคือง ได้แก่ น้ำผึ้ง มะนาว มะขามป้อม
2.
สมุนไพรที่มีฤทธิ์กดศูนย์ไอในสมอง เช่น ฝิ่น
แต่ฝิ่นจัดว่าเป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น
ข้ามสมุนไพรชนิดนี้ไปน่าจะปลอดภัยที่สุด
แต่ใช่ว่าจะมีเพียงแค่ 2 กลุ่มสมุนไพรแก้ไอดังที่กล่าวมาเท่านั้น
ทว่าในครัวเราอาจจะมีสมุนไพรที่ช่วยขับเสมหะ รวมทั้งบรรเทาอาการไอได้
จากสมุนไพรขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
1. สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ผลดีปลี ดอกกานพลู ผลพริกไทย ต้นกะเพรา
2. สมุนไพรที่มีกรดอินทรีย์ซึ่งมีรสเปรี้ยว ได้แก่ เนื้อฝักมะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง
3. สมุนไพรอื่น ๆ ที่แสดงฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอได้ดี
และมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ผลมะแว้งเครือ ผลมะแว้งต้น ใบเสนียด
เมล็ดเพกา เป็นต้น
เอาล่ะค่ะ คราวนี้มาดูกันว่า สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ แต่ละชนิด เด่นในด้านไหน แล้วรับประทานอย่างไรจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ไม่แพ้ยา
2. มะขามป้อม
3. ขิง
4. มะขาม
5. กระเทียม
6. มะเขือเปราะ
7. พริกไทยดำ
พริกไทยดำมีความเผ็ดร้อน
ช่วยขับลม ขจัดสิ่งขัดขวางทางเดินหายใจได้ดีเยี่ยม
จึงทำให้จมูกโล่งและหายใจได้คล่องขึ้น
แต่สูตรแก้ไอด้วยพริกไทยดำควรมีน้ำผึ้งเป็นตัวช่วยด้วย
เนื่องจากน้ำผึ้งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะชนิดอ่อน
ช่วยฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย
สูตรนี้จึงเหมาะมากกับคนที่มีอาการไอแบบมีเสมหะและมีน้ำมูก
วิธีชงก็ไม่ยาก เพียงแค่ผสมพริกไทยดำสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ในน้ำร้อนจัด 1
แก้ว จากนั้นก็เติมน้ำผึ้งแท้ลงไป 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
เสร็จแล้วก็ปิดฝาแก้วทิ้งไว้ 15 นาที กรองเอากากออกแล้วก็ดื่มทันที
อาการไอแบบมีเสมหะก็จะหายไป แต่สูตรนี้ไม่เหมาะกับอาการไอแห้งนะคะ
8. สับปะรด
10. กระเจี๊ยบแดง
11. มะแว้งต้น/มะแว้งเครือ
โดยการใช้มะแว้งแก้ไอตามตำรับยาแผนโบราณจะใช้ผลมะแว้งสด 5-6 ผล ล้างให้สะอาด นำมาเคี้ยวอมไว้ กลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายกากทิ้ง หรือจะกลืนทั้งน้ำและเนื้อก็ได้ หรือจะใช้ผลแก่สด 5-10 ผล นำมาโขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อย ๆ เวลาไอ สำหรับเด็กจะใช้น้ำที่คั้นจากผลมะแว้ง เป็นน้ำกระสายยา กวาดคอแก้ไอและขับเสมหะ
ทว่าในปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมสานต่อภูมิปัญญาไทย ผลิต "ยาอมมะแว้ง" เป็นยาสามัญประจำบ้านและบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยนำตำรับยาประสะมะแว้งมาพัฒนาแล้วผลิตตามกระบวนการมาตรฐาน GMP ตั้งแต่การคัดเลือกและตรวจสอบวัตถุดิบ จนได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสีแกมมาตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วตรวจสอบไม่ให้มีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปนเปื้อน คือ Pathogenic bacteria 4 ชนิด (E. coli, S. aureus, P. aeruginosa, Salmonella) รวมทั้งยีสต์และเชื้อราด้วย จึงจะนำออกวางจำหน่ายได้
12. ดอกดีปลี
ชะเอมเทศถูกบรรจุไว้ในตำรับยาสามัญประจำบ้านหลายตำรับ
และที่สำคัญคือ ตำรับยาแก้ไออำมฤควาทีใช้ชะเอมเทศจำนวนมากกว่าตัวยาอื่น ๆ
โดยตัวยาประกอบด้วย รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา
เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก หนักสิ่งละ 7 ส่วน ชะเอมเทศหนัก 43
ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดบดเป็นผง เวลาใช้ให้ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ
ใช้จิบหรือกวาดคอแก้ไอ ขับเสมหะ
ทั้งนี้ การใช้ตำรับยาแก้ไอชะเอมเทศและอำมฤควาทีก็มีข้อควรระวังบางประการ เช่น หากใช้มากเกินไปอาจเกิดอาการท้องเสียได้
หรือควรระวังการใช้ยาตำรับนี้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากการบริโภครากชะเอมเทศต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ และเพิ่มความดันโลหิตให้สูงเกินปกติได้
สมุนไพรทั้ง
13 ชนิดนี้มีฤทธิ์เพียงช่วยบรรเทาอาการไอได้เท่านั้น
แต่ไม่สามารถรักษาถึงต้นเหตุของอาการไอได้ ดังนั้น หากมีไข้ น้ำมูกไหล
ปวดศีรษะ ก็ควรเข้ารับการรักษาแผนปัจจุบันร่วมด้วย
นอกจากนี้การรับประทานยาสมุนไพรแก้ไอในแบบสำเร็จรูป
ยังควรต้องระมัดระวังในเรื่องของน้ำตาลที่ผสมมากับตัวยา
หรือมีปริมาณเกลือแกงผสมอยู่มากเกินไป ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคไต
หรือบุคคลที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลและเกลือในร่างกาย ควรต้องตรวจสอบฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ดีก่อนซื้อยาสมุนไพรมารับประทาน
หรือปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย
เฟซบุ๊ก กรมอนามัย
มูลนิธิสุขภาพไทย
Reader’s digest