-
สาเหตุของการกลืนลำบากในผู้สูงอายุมักมาจากโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้น
-
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะกลืนลำบาก คือ ไอหรือสำลักเวลากลืน เสียงแหบ เสียงพร่าหลังจากเพิ่งกลืนอาหาร รู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป
-
ภาวะกลืนลำบากอาจทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเพราะกลัวการสำลักทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือผู้ป่วยมีความกังวลในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ทำให้ออกห่างจากสังคมเริ่มรับประทานอาหารคนเดียว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
ดร.พญ.กันต์นิษฐ์ พงศ์พิพัฒไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ เผยว่า หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุก็คือ ความสามารถในการกลืนอาหารนั้นลดลง และทำให้เกิดการสำลักตามมาได้ ซึ่งสามารถเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน หรือโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ก็ทำให้การกลืนอาหารทำได้ยากขึ้นเช่นกัน
โดยในผู้สูงอายุที่มีภาวะหรือโรคต่างๆ เหล่านี้จะพบภาวะกลืนลำบากได้สูงถึง 50-75% และพบว่ามีภาวะสำลักเงียบร่วมตามมาด้วยได้ถึง 40 – 70 % ส่งผลให้เกิดปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงตามมา และหากผู้สูงอายุมีภาวะปอดอักเสบติดเชื้อแล้ว จะพบมีภาวะสำลักเงียบสูงขึ้นไปถึง 71% ยิ่งไปกว่านั้น มีรายงานว่าในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะพบอัตราการเสียชีวิตด้วยภาวะปอดติดเชื้อจากการสำลักสูงถึงเกือบ 30%
การสังเกตผู้สูงอายุ กับปัญหาการกลืน
- ไอหรือสำลักเวลากลืนอาหาร
- ต้องตัดแบ่งอาหารให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สามารถกลืนได้ตามปกติ
- ต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเพราะทำให้สำลัก
- เสียงแหบ เสียงพร่า หลังจากกลืนอาหารลงไป
- รู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก
- น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง
อาการเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของภาวะกลืนลำบาก ซึ่งทำให้การรับประทานอาหารมีความปลอดภัยลดลง มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากโครงสร้างของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร รวมถึงกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายเสื่อมลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถของการกลืนลดลงจนแสดงอาการต่างๆดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ภาวะบาดเจ็บทางสมอง ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคที่มีพยาธิสภาพของโครงสร้างที่เกี่ยวกับการกลืน ควรได้รับการประเมินและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการกลืนให้มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก ทั้งนี้ ภาวะกลืนลำบากส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนี้
กลืนลำบาก ส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุอย่างไร
ทางร่างกาย : ผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเพราะกลัวการสำลักหรือรู้สึกว่ากลืนลำบาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดอาหาร รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ขาดสารอาหาร น้ำหนักลด ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมโรคเดิมที่เป็นอยู่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในปอดและระบบทางเดินหายใจจากการสำลักน้ำหรืออาหาร
ทางสังคมและจิตใจ : ผู้ป่วยมักมีความกังวลในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ทำให้ออกห่างจากสังคมเริ่มรับประทานอาหารคนเดียว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า หดหู่ มีผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ไม่อยากอาหาร ยิ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมทรุดโทรมลงไปอีก
แบบทดสอบ ปัญหาการกลืนลำบาก
คุณมีปัญหาการกลืนตามหัวข้อต่อไปนี้ในระดับใด |
น้อย → มาก |
||||
0 |
1 |
2 |
3 |
4 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รวมคะแนน |
____/40 |
* แนะนําให้ปรึกษาแพทย์หากได้คะแนนรวมตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป เนื่องจากอาจมีปัญหาการกลืนที่ผิดปกติ ไม่ปลอดภัย และเสี่ยงต่อการสำลักอาหารได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :ดร.พญ.กันต์นิษฐ์ พงศ์พิพัฒไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
ภาพ :iStock