ละลายเสมหะแบบไม่ต้องพึ่งยาให้ลำบากใจ
เพราะแค่เรารู้ว่าควรกินอาหารอะไรที่ช่วยกำจัดเสมหะ
ควรเลี่ยงอาหารอะไรที่อาจเพิ่มเสมหะ แค่นั้นก็พอแล้ว
อาหารช่วยละลายเสมหะ
เหล้า เบียร์
ก็เป็นเครื่องดื่มที่ขับน้ำในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นหากมีเสมหะ มีน้ำมูก
เป็นหวัด หรือไม่สบายใด ๆ
ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวง
ได้ทราบอย่างนี้แล้วก็เลือกกินให้ถูกเพื่อบรรเทาและกำจัดอาการป่วยของร่างกายได้เลย นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ อาบน้ำอุ่น และรับประทานยาตามแพทย์สั่งด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
livestrong
medicalnewstoday
lunginstitute
ช่วงที่มีเสมหะอยู่ในลำคอ
เป็นช่วงชีวิตที่น่ารำคาญมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะ แล้วพอรู้สึกไม่สบายตัว
ใจก็พลอยเบื่อหน่ายไปกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ กายด้วย
เฮ้อ...แต่อย่าเพิ่งนอยด์ไปเลยค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า
เมื่อมีเสมหะอาหารชนิดไหนที่ช่วยละลายเสมหะได้ และอาหารชนิดไหนที่กินเข้าไปแล้วเสมหะจะเยอะขึ้น
1. น้ำ
น้ำเป็นเครื่องดื่มมหัศจรรย์ที่ช่วยในกระบวนการทำงานส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีเสมหะ
มีน้ำมูกคอยกวนตัวกวนใจอยู่ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยละลายเสมหะ
ช่วยร่างกายกำจัดน้ำมูกไปด้วยในตัว
อ้อ...ทางที่ดีดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องจะดีที่สุดนะคะ
2. อาหารรสเผ็ดร้อน
2. อาหารรสเผ็ดร้อน
เช่น ต้มยำ แกงเลียง ต้มโคล้ง อาหารน้ำ ๆ
ที่มีรสชาติเผ็ดร้อนจากพริกและสมุนไพรหลากหลายชนิดจะช่วยขับเสมหะและเปิดทางเดินระบบหายใจให้โล่งสบายขึ้น
3. ดื่มน้ำขิง
3. ดื่มน้ำขิง
ถ้าไม่ไหวจะกินอาหารหนัก ๆ น้ำขิงอุ่น ๆ
สักแก้วก็ช่วยขับเสมหะให้ได้เหมือนกัน เพราะขิงเป็นสมุนไพรมีรสเผ็ดร้อน
มีสรรพคุณช่วยละลายเสมหะ ขับลม ขับเหงื่อ และบรรเทาอาการไอ
4. มะนาวช่วยได้
4. มะนาวช่วยได้
มะนาว หรือผลไม้รสเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซี
มีสรรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ แถมยังช่วยขับเสมหะและแก้ไอก็ยังได้
โดยสามารถดื่มน้ำมะนาวคั้นสด ผสมเกลือ น้ำผึ้งเล็กน้อย
เติมน้ำอุ่นอีกหน่อยแล้วจิบให้ชุ่มคอได้เลย
5. มะขาม
5. มะขาม
มะขามมีกรดทาร์ทาริกซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ
แก้อักเสบ จึงเป็นผลไม้อีกชนิดที่ช่วยขับเสมหะได้
โดยนำมะขามเปียกมาต้มกับน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย
จิบเป็นสมุนไพรขับเสมหะรสอร่อยกลมกล่อมได้ทันที
ทว่ามะขามมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ด้วยนะคะ
ดังนั้นก็ไม่แนะนำให้กินมะขามมากเกินไป เพราะอาจก่ออาการท้องเดินได้
6. แซลมอน
6. แซลมอน
ปลาแซลมอนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง
ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบและขับเสมหะให้ร่างกายได้
โดยจะกินปลาแซลมอนดิบคู่กับวาซาบิเผ็ดร้อนก็ดี
หรือกินเป็นซุปแซลมอนก็คล่องคอ
7. ปลาทูน่า
7. ปลาทูน่า
ถ้าไม่ชอบปลาแซลมอนจะเลือกกินปลาทูน่าเพื่อเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3
ก็ได้นะคะ ปลาทะเลชนิดนี้ก็มีกรดไขมันดีอยู่สูงพอตัว
มีส่วนช่วยลดการอักเสบและช่วยละลายเสมหะได้ไม่แพ้กัน
8. ฟักทอง
8. ฟักทอง
ซุปฟักทองร้อน ๆ ก็ช่วยขับเสมหะให้ได้
เพราะในฟักทองมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ด้วยเหมือนกัน
โดยเฉพาะในเมล็ดฟักทองค่ะ
นอกจากนี้ฟักทองยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระดี ๆ อีกหลายตัว
มีส่วนช่วยเราต่อสู้กับเชื้อโรคก่อเสมหะและน้ำมูกได้แน่นอน
9. สับปะรด
9. สับปะรด
สับปะรดไม่ได้มีดีที่วิตามินและไฟเบอร์เท่านั้น
แต่ยังมีเอนไซม์บรอมีเลนซึ่งจะช่วยยับยั้งอาการอักเสบ
ช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้อย่างดี
และหากมีน้ำมูกด้วยสับปะรดก็จะช่วยลดน้ำมูกให้ด้วยล่ะ
10. กระเทียม
10. กระเทียม
หั่นกระเทียมเป็นแว่น ๆ
แล้วแช่ในน้ำร้อนประมาณ 2-3 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำมาจิบเป็นชากระเทียมอุ่น
ๆ เพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมช่วยขับเสมหะและบรรเทาอาการหวัดไป
และจะยิ่งดีเลยหากคุณเติมน้ำผึ้งลงไปในชากระเทียมสักหน่อย
เพิ่มพลังในการต้านอาการอักเสบไปอีกเท่าตัว
อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อมีเสมหะ
1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อมีเสมหะ
1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
นมและผลิตผลัณฑ์จากนม เช่น ชีส เนย
หรือมาการีน อาจทำให้เสมหะและน้ำมูกมีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือมีความข้นขึ้น
ที่สำคัญนมอาจขัดขวางการดูดซึมของยารักษาโรคด้วยนะคะ ดังนั้นช่วงที่ป่วย
มีเสมหะ ต้องกินยา ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด
2. อาหารมัน ๆ
2. อาหารมัน ๆ
ของมัน ของทอด
เป็นสิ่งที่ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะไขมันมีส่วนทำให้เสมหะข้นเหนียว
ก่อให้เกิดอาการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้นได้
3. น้ำอัดลม
3. น้ำอัดลม
แม้จะปากจืดอยากเติมความหวานให้ร่างกายมากขนาดไหน
แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมอย่างเด็ดขาดเลยค่ะ
เพราะน้ำอัดลมมีผลเพิ่มอาการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย
และอาจกระตุ้นให้มีเสมหะหรือน้ำมูกมากขึ้นด้วยนะ
4. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
4. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง
และน้ำอัดลมก็อยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มที่ควรเลี่ยงค่ะ
เพราะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
ดังนั้นหากกินมากเกินไปก็จะเพิ่มความข้นหนืดให้กับเสมหะหรือน้ำมูกได้
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ได้ทราบอย่างนี้แล้วก็เลือกกินให้ถูกเพื่อบรรเทาและกำจัดอาการป่วยของร่างกายได้เลย นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ อาบน้ำอุ่น และรับประทานยาตามแพทย์สั่งด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
livestrong
medicalnewstoday
lunginstitute