มะเร็งเต้านม อีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกมานับไม่ถ้วน
จนก่อให้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้สาว ๆ เข้าใจความเป็นไปของโรคมะเร็งเต้านม
ด้วยภาพอินโฟกราฟิกเข้าใจง่าย
มะเร็งเต้านมอาการเป็นยังไง
แม้ว่าอาการมีก้อนเนื้อในเต้านมจะเป็นสัญญาณแรก ๆ ของมะเร็งเต้านม ทว่าส่วนใหญ่แล้วอาการจะแสดงออกทางรูปลักษณ์มากกว่าความรู้สึก นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจไม่รู้สึกว่าเต้านมมีความผิดปกติ จนกว่าจะสังเกตเห็นได้เองว่าเต้านมดูเปลี่ยนไปไม่เหมือนเคย ดังภาพเลมอนที่แสดงความผิดปกติของเต้านมในรูปแบบต่าง ๆ กัน ทั้งเต้านมคัดตึงและแข็งเกินปกติ เนื้อเต้านมยุบ ผิวไม่เรียบเนียนเสมอกัน หรือเต้านมมีรอยแดงเป็นจ้ำปรากฏตลอดเวลา และมีอาการร้อนตรงจุดแดงนั้น เป็นต้น
ซึ่งที่จริงแล้วสาว ๆ สามารถเช็กความผิดปกติเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่เครื่องแมมโมแกรมสำหรับตรวจเช็กอาการมะเร็งเต้านมจะตรวจเจอเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นหากสาว ๆ สังเกตเห็นว่าเต้านมของเราไม่เหมือนเคย ให้รีบไปตรวจเช็กอาการกับแพทย์เฉพาะทางโดยด่วนจะดีที่สุด
ตรวจมะเร็งเต้านมแล้วควรต้องรู้สึกยังไง ถึงจะเรียกว่าเสี่ยง ?
ต้องบอกก่อนว่าช่วงเวลาตรวจอาการมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วง 2-3 วันหลังประจำเดือนหยุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายผู้หญิงจะอยู่ในภาวะฮอร์โมนปกติที่สุด โดยหากคลำเต้านมแล้วพบก้อนเนื้อ ต้องลองเช็กด้วยว่าก้อนเน้อที่เราเจอมีลักษณะเป็นอย่างไร นุ่มนิ่ม เคลื่อนไหวได้ หรือเป็นก้อนเนื้อที่แข็ง คลำเจอก็ยังอยู่นิ่งกับที่ ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ซึ่งถ้าเป็นแบบหลังก็น่ากังวลว่าก้อนเนื้อที่คลำเจอนั้นอาจเป็นเซลล์มะเร็ง เพราะก้อนเนื้อร้ายมักจะมีความแน่น หนา คล้ายเมล็ดของเลมอน และมักจะไม่สามารถขยับเขยื้อนก้อนเนื้อดังกล่าวไปทางไหนได้
ขั้นตอนตรวจมะเร็งเต้านม มีอะไรบ้าง
ภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นถึงสเต็ปการตรวจมะเร็งเต้านม โดยเริ่มจากการเช็กอาการด้วยตัวเองในเบื้องต้น หากคลำเจอความผิดปกติก็พบแพทย์ ตรวจแมมโมเกรมเพื่อส่งต่อให้แพทย์รังสีวิทยาวินิจฉัย ซึ่งพ้นขั้นตอนนี้ไปจะฟันธงได้ในระดับหนึ่งว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม หากเสี่ยง จะต้องเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อร้ายอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อเช็กว่า ก้อนเนื้อที่พบในเต้านมเป็นก้อนเนื้อร้ายเสี่ยงมะเร็งหรือไม่ ซึ่งหากเป็นมะเร็งเต้านมก็จะต้องเข้ารับการรักษากันต่อไปตามที่แพทย์เห็นสมควร
ทว่าหากสาว ๆ คนไหนคลำไม่เจอความผิดปกติที่เต้านม แต่ยังเป็นกังวล ก็สามารถเข้ารับการตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ด้วยวิธีแมมโมเกรม ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกับผู้หญิงวัย 40+ หรือจะตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์และ MRI ก็ได้เช่นกัน
สุดท้ายก็ขอย้ำสาว ๆ กันอีกทีว่า ตรวจเถอะค่ะ ไม่ว่าจะตรวจอาการมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ ๆ ดูเอง หรือจะเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดกับแพทย์ เพราะหากเราเจอความเสี่ยงเร็วเท่าไร ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้เท่านั้น ทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
worldwidebreastcancer
อาการมะเร็งเต้านมเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเช็กความผิดปกติได้
ทว่าก็มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยเอะใจกับความผิดปกติของร่างกาย
นำมาซึ่งระยะของโรคมะเร็งที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็สายเกินไปเสียแล้ว
ด้วยเหตุนี้ทาง Worldwide Breast Cancer จึงคลอดแคมเปญ Know your lemons ออกมาแชร์ให้สาว ๆ ได้เข้าใจโรคมะเร็งเต้านม กันมากขึ้น ด้วยภาพอินโฟกราฟิกที่ใช้เลมอนเป็นสัญลักษณ์แทนเต้านมของสาว ๆ เอาเป็นว่าลองมาดูกันค่ะ
แม้ว่าอาการมีก้อนเนื้อในเต้านมจะเป็นสัญญาณแรก ๆ ของมะเร็งเต้านม ทว่าส่วนใหญ่แล้วอาการจะแสดงออกทางรูปลักษณ์มากกว่าความรู้สึก นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจไม่รู้สึกว่าเต้านมมีความผิดปกติ จนกว่าจะสังเกตเห็นได้เองว่าเต้านมดูเปลี่ยนไปไม่เหมือนเคย ดังภาพเลมอนที่แสดงความผิดปกติของเต้านมในรูปแบบต่าง ๆ กัน ทั้งเต้านมคัดตึงและแข็งเกินปกติ เนื้อเต้านมยุบ ผิวไม่เรียบเนียนเสมอกัน หรือเต้านมมีรอยแดงเป็นจ้ำปรากฏตลอดเวลา และมีอาการร้อนตรงจุดแดงนั้น เป็นต้น
ซึ่งที่จริงแล้วสาว ๆ สามารถเช็กความผิดปกติเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่เครื่องแมมโมแกรมสำหรับตรวจเช็กอาการมะเร็งเต้านมจะตรวจเจอเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นหากสาว ๆ สังเกตเห็นว่าเต้านมของเราไม่เหมือนเคย ให้รีบไปตรวจเช็กอาการกับแพทย์เฉพาะทางโดยด่วนจะดีที่สุด
ตรวจมะเร็งเต้านมแล้วควรต้องรู้สึกยังไง ถึงจะเรียกว่าเสี่ยง ?
ต้องบอกก่อนว่าช่วงเวลาตรวจอาการมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วง 2-3 วันหลังประจำเดือนหยุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายผู้หญิงจะอยู่ในภาวะฮอร์โมนปกติที่สุด โดยหากคลำเต้านมแล้วพบก้อนเนื้อ ต้องลองเช็กด้วยว่าก้อนเน้อที่เราเจอมีลักษณะเป็นอย่างไร นุ่มนิ่ม เคลื่อนไหวได้ หรือเป็นก้อนเนื้อที่แข็ง คลำเจอก็ยังอยู่นิ่งกับที่ ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ซึ่งถ้าเป็นแบบหลังก็น่ากังวลว่าก้อนเนื้อที่คลำเจอนั้นอาจเป็นเซลล์มะเร็ง เพราะก้อนเนื้อร้ายมักจะมีความแน่น หนา คล้ายเมล็ดของเลมอน และมักจะไม่สามารถขยับเขยื้อนก้อนเนื้อดังกล่าวไปทางไหนได้
ขั้นตอนตรวจมะเร็งเต้านม มีอะไรบ้าง
ภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นถึงสเต็ปการตรวจมะเร็งเต้านม โดยเริ่มจากการเช็กอาการด้วยตัวเองในเบื้องต้น หากคลำเจอความผิดปกติก็พบแพทย์ ตรวจแมมโมเกรมเพื่อส่งต่อให้แพทย์รังสีวิทยาวินิจฉัย ซึ่งพ้นขั้นตอนนี้ไปจะฟันธงได้ในระดับหนึ่งว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม หากเสี่ยง จะต้องเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อร้ายอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อเช็กว่า ก้อนเนื้อที่พบในเต้านมเป็นก้อนเนื้อร้ายเสี่ยงมะเร็งหรือไม่ ซึ่งหากเป็นมะเร็งเต้านมก็จะต้องเข้ารับการรักษากันต่อไปตามที่แพทย์เห็นสมควร
ทว่าหากสาว ๆ คนไหนคลำไม่เจอความผิดปกติที่เต้านม แต่ยังเป็นกังวล ก็สามารถเข้ารับการตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ด้วยวิธีแมมโมเกรม ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกับผู้หญิงวัย 40+ หรือจะตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์และ MRI ก็ได้เช่นกัน
สุดท้ายก็ขอย้ำสาว ๆ กันอีกทีว่า ตรวจเถอะค่ะ ไม่ว่าจะตรวจอาการมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ ๆ ดูเอง หรือจะเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดกับแพทย์ เพราะหากเราเจอความเสี่ยงเร็วเท่าไร ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้เท่านั้น ทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
worldwidebreastcancer