Edit วิธีจัดหิ้งพระในบ้านให้ถูกต้อง และ การบูชา การวางพระพุทธหรือเทพเทวาต่างๆ และการจุดธูปบูชา โดยทั่วไปทุกบ้านจะมีศาลหรือหิ้งพระ ห้องพระ หรือแม้แต่มุมที่วางพระหรือเทพเทวาต่างๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นหลายคนอาจสงสัย และควรกระทำอะไรต่างๆให้ถูกต้อง การจุดธูปไหว้พระหรือเทพเทวาต่างๆนั้น ทำเพื่ออะไร และการนำพระพุทธหรือเทพเทวาต่างๆมาบูชานั้น เชื่อว่าทุกคนเกิดจากความรักและศรัทธาในรูปแทนองค์ของทุกๆพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเทพเทวาต่างๆที่ถือเป็นเหมือนครูของเรา เราเชิญท่านมาบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ให้ระลึกถึง และให้เราได้สวดบูชา หรือขอพรในยามที่เราหาทางออกไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเลย คือ ๑. การหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะวาง แม้ในโบราณหรือในตำราต่างๆจะแนะนำให้เมื่อวางพระพุทธหรือเทพต่างๆแล้ว ควรหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือตะวันออก แต่ในความเป็นจริงคือความเหมาะสม หากวางในตำแหน่งนั้นได้ ก็วาง หากวางไม่ได้ อันเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ก็วางได้ ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร เพียงแต่มีข้อแนะนำ คือ - ตำแหน่งวางพระพุทธนั้น อันเนื่องมาจากเราเป็นชาวพุทธและยึดในหลักพระธรรมคำสอนต่างๆของพระพุทธองค์ จึงควรวางตำแหน่งพระพุทธไว้ตรงกลาง และมีระดับพื้นที่วางสูงกว่า การวางเทพเทวาต่างๆ โดยอาจวางรูปแทนองค์เทพไว้ด้านซ้ายและขวา เพียงแต่ให้วางในระดับที่ต่ำกว่า หรือเท่ากัน ไม่ควรวางเทพสูงกว่าพระพุทธ - ผนังด้านหลังของหิ้งพระ หรือที่วางพระ หรือห้องพระ ไม่ควรเป็นผนังเดียวกับห้องน้ำ อันนี้ค่อนข้างสำคัญ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ไปใชผนังอีกด้าน ซึ่งอาจไม่ใช่ทิศที่ต้องการ แต่ให้ถือว่าข้อนี้สำคัญกว่าเรื่องของทิศ - ผนังด้านหลังควรเป็นผนังทึบเพื่อนให้เกิดความนิ่งและสงบ หากเป็นหน้าต่างๆ ก็ควรใช้ผ้าม่านทึบปิดไว้ เพื่อเกิดความสงบ และดีต่อเราเมื่อหันหน้าเข้าหาทุกๆพระองค์ แล้ว เกิดความสงบ ไม่ต้องหลบแสงแดด หรืออะไรที่เคลื่อนไหวเข้ามาในสายตา ทำให้เสียสมาธิได้ ๒. จำเป็นต้องมีกระถางธูป ข้อนี้จำเป็นมาก และเคยไปหลายบ้านมักพบว่าเกิดการละเลยในจุดนี้ ด้วยข้ออ้างที่ว่า ไม่สะดวกในการจุดธูป จนเราละเลยไปว่า เรานำวางพระหรือเทพต่างๆมาวางนั้น เพื่อให้เราได้สวดมนต์บูชา การไม่มีกระถางธูปวางไว้ อาจเหมือนเราวางของตกแต่งบ้าน หรือวางพระหรือเทพเหมือนของประดับตกแต่ง ไม่ใช่ของบูชา แต่เมื่อมีกระถางธูปแล้ว จะจุดธูปหรือไม่จุดธูป ย่อแสดว่าเรานั้น บูชาทุกๆพระองค์อยู่ - พระพุทธองค์และพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ใช้กระถางธูปเดียวได้ เพราะจุดธูปบูชาจำนวนสามดอก เพราะจะหมายถึงเราบูชาทั้ง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่แล้ว แม้จำนวนรูปแทนองค์จะมาก ก็ใช้เพียงกระถางเดียว - เมื่อวางเทพเทวาต่างๆ ร่วมกับพระพุทธ จำเป็นต้องแยกกระถามธูปกัน ทั้งนี้เพราะ จำนวนธูปในการจุดบูชามีจำนวนไม่เท่ากัน หากเราทราบจำนวนธูปในการจุดบูชา ก็สามารถแยกกระถางธูป เพื่อบูชาต่อเทพเฉพาะแต่ละองค์ได้ หากไม่ค่อยทราบในเรื่องนี้ ให้จุดธูปบูชาเทพทั้งหมดจำนวนห้าดอก ๓. การจุดธูปเหมือนการส่งกลิ่นหอมบูชา การจุดเทียนเหมือนการส่งแสงสว่างให้เห็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ทวยเทพเทวาทั้งหลายก็ดี จะได้เห็นแสงเทียน และกลิ่นหอมจากธูป ที่เราจุดบูชาในยามที่สวดมนต์บูชาท่าน หรือในยามที่ถวายเครื่องบวงสรวงต่างๆ แม้อาจจะกล่าวได้ว่า ทุกๆพระองค์นั้น ก็เพียงมาทรงสีและกลิ่นที่เราถวายเท่านั้น ๔. จำนวนธูปที่ควรทราบ - หนึ่งดอก เป้นการเชิญวิญญาณสัมภเวสีต่างๆ - สามดอกเพื่ออัญเชิญองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ - ห้าดอกบูชาทวยเทพต่างๆ เช่นพระพิฆเนศ หรือจุดเพื่อบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ และครูบาอาจารย์ - แปดดอก ธูปดำแปดดอก บูชาพระราหู - แปดดอก บูชาเทพชั้นสูง เช่นองค์พระวิษณุกรรม - สิบหกดอก บูชาองค์พระแม่ธรณี หรือจุดกลางแจ้งเพื่ออัญเชิญทวพเทวาทั้งสิบหกชั้นฟ้า - สามสิบสองดอก : ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง ๔ ทิศ การไหว้ ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดินครับและ ๑ โลกมนุษย์ หรือ ๓๒ ชั้นพรหม ๕. การถวายเครื่องบวงสรวง อาจถวายเพียงน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว โดยเปลี่ยนทุกวันตอนเช้า หรือตามสะดวก และหากถวายเครื่องบวงสรวงด้วย แนะนำให้ถวายเป้นผลไม้และขนมหวานต่างๆ ควรงดถวายของคาว ทั้งนี้เพราะถือว่าพระพุทธก็ดี ทวยเทพเทวาทั้งหลายก็ดี ก็ถือเป็นผู้ทรงศีลยิ่งกว่าเราๆทั้งหลายอีก การถวายของคาวจึงไม่เหมาะสม ๖. การถวายดอกไม้ พวงมาลัยต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อถวายกลิ่นหอม และสีสันของดอกไม้ให้สวยงาม (อ.ณัฐวรรธน์ ปภาเทพ) ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก ณัฐวรรธน์ ปภาเทพ