6 ตำแหน่งที่เหมาะสมของการวาง หิ้งพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในบ้าน

เชื่อว่าทุกบ้านมักจะมีหิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาไว้ในบ้านเสมอ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาคนในบ้านและเพิ่มความเป็นสิริมงคล แต่บางคนก็ไหว้พระทุกวัน สวดมนต์บูชาทุกวัน แต่ยังพบกับเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ ก็อาจเป็นไปได้ว่าวางหิ้งพระผิดจุดในบ้าน แทนที่จะหนุนนำความเจริญ กลับกลายเป็นถ่วงชีวิต และขัดโชคลาภ

ตำแหน่งที่ไม่สมควรวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน

1. ห้ามวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์พิงผนังห้องน้ำ
อันนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอยู่แล้ว และเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้ ซึ่งหากพูดถึงเหตุผลตามหลักเบญจธาตุนั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นตัวแทนของธาตุไฟ ส่วนห้องน้ำ ห้องส้วมนั้น เปรียบเสมือน ธาตุน้ำ ตามธรรมชาติน้ำจะดับไฟ จึงถือเป็นธาตุที่กระทบหรือพิฆาตกันนั่นเอง

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ


2. ห้ามวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือขอบประตู
เพราะประตูเป็นจุดที่ไม่มั่งคั่ง มีกระแสที่วิ่งลอดผ่านไปมาอยู่ตลอด จะก่อให้เกิดความวุ่นวายภายในบ้าน อีกทั้งโชคลาภที่มียังหายหมดอีกด้วย

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ


3. ห้ามวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใต้คานบ้าน
เนื่องจากมีความเชื่อว่า คานจะกดทับองค์ทำให้พลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกกดเอาไว้ ไม่สามารถช่วยได้อย่างเต็มที่ หรือหมดความศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ


4. เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ห้ามเป็นห้องน้ำหรือเตียงนอน
เพราะเปรียบเสมือนการไม่เคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองหรือก้าวหน้า

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ


5. ห้ามวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์พิงเสาลอย

เชื่อว่าหลายบ้านทำแบบนี้ ซึ่งตามหลักเสาลอยแสดงถึงความไม่มั่นคง ดังนั้นการเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปวางในที่ที่ไม่มั่นคง ก็จะส่งผลให้ชีวิตไม่มั่นคง ถดถอย ตามไปด้วย

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ



การเลือกจัดตำแหน่งห้องพระที่เหมาะสม
สิ่งแรกที่เราต้องตระหนักก็คือ การเลือกสถานที่จัดวางห้องพระ เนื่องจากตามหลักฮวงจุ้ยแล้วจะเลือกจำแหน่งที่เสริมธาตุไฟจากการจุดธูป เทียน บูชา ทำให้พลังบวกเพิ่มทวีคูณ ส่งผลให้สมาชิกทุกคนในบ้านร่วมเย็น เป็นสุข มีแต่ความเจริญในชีวิตและหน้าที่การงานนั่นเอง แต่ถ้าใครยังเลือกไม่ถูกว่าจะจัดห้องแบบไหนดี ลองมาใช้หลักการจัดห้องแบบง่ายๆ ทีเรารวบรวมมาให้ดังนี้

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ

1. ห้องพระควรเป็นห้องที่อยู่ชั้นบนสุดของบ้าน เนื่องจากพระเป็นของสูง การวางพระต่ำกว่าคนในบ้าน ถ้าหากมีการเดินข้าม การนอนคร่อม หรือการหันปลายเท้าเข้าหาพระ ย่อมไม่เป็นมงคลต่อตนเอง ทั้งนี้การเลือกตั้งห้องพระไว้ที่ชั้นล่าง ก็สามารถทำได้เช่นกันเพียงแต่จะมีข้อจำกัดขึ้นมา เช่น ต้องพิจารณาว่าห้องที่จะอยู่ชั้นบนเหนือห้องพระเป็นห้องน้ำ และห้องนอนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งควรเปลี่ยนมุม ดังนั้นจึงควรจะเป็นห้องว่างที่ไม่มีคนอยู่เลยจะดีกว่า

2. ห้องพระควรจะอยู่ในตำแหน่งที่มีการระบายอากาศได้ดี เนื่องจากการบูชาพระจะต้องจุดธูปเทียนบูชา หากเป็นตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทสะดวกก็จะทำให้ไม่รบกวนสมาธิของผู้ปฎิบัติธรรมในห้องพระ อีกทั้งอากาศที่ถ่ายเทได้ดียังช่วยลดอันตรายจากควันไฟและเปลวไฟไม่ให้ไหม้บ้านได้อีกด้วย

3. ห้องพระควรต้องอยู่ในบริเวณที่สงบ เป็นมุมที่ไม่มีผู้คนพลุกพล่านเพื่อการรับพลังที่กระจัดกระจาย ตามหลักฮวงจุ้ยนั้นถือว่าตำแหน่งหน้าบ้านเป็นตำแหน่งโชคลาภ ส่วนตำแหน่งทางหลังบ้าน ถือว่าเป็นตำแหน่งบารมี ดังนั้นการจัดฮวงจุ้ยห้องพระจึงควรเลือกจาก 2 ตำแหน่งดังกล่าว เพราะจะช่วยเสริมพลังบวกให้ได้มากที่สุด

4. ห้องพระควรที่จะหันทิศไปทางตะวันออก หรือทิศเหนือ ซึ่งถือเป็นทิศมงคล ถ้าหากไม่สามารถเลือกตำแหน่งห้องพระในทิศตะวันออกและทิศเหนือได้แล้วล่ะก็ ให้ตั้งหิ้งพระและองค์พระวางหันหน้าไปทางทิศนั้น ๆ แทนก็ได้เช่นกัน

ตำแหน่งการวางหิ้งพระ

5. ห้องพระที่ติดกับห้องนอนควรต้องระวังเรื่องการวางเตียง ห้าหันปลายเท้าไปหาห้องพระเด็ดขาด กรณีที่หันหัวเตียงไปที่ห้องพระก็ต้องพิจารณาด้วยว่า ตำแหน่งขององค์พระหรือตำแหน่งโต๊ะหมู่บูชานั้นติดกับหัวเตียงหรือไม่ เพราะถ้าติดกัน เมื่อเรานอนบนเตียงอาจได้รับอิทธิพลของธาตุไฟจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ปวดหัวง่ายหรือนอนไม่ค่อยหลับนั่นเอง

6. ห้องพระไม่ควรอยู่ติดกับห้องน้ำ ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ห้องน้ำถือเป็นธาตุน้ำ ส่วนห้องพระที่ศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นธาตุไฟ ตามกฎเบญจธาตุ ซึ่งธาตุน้ำนั้นจะดับธาตุไฟ ถ้ามีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องวางห้องพระติดกับห้องน้ำ ก็ควรหาตู้มาบังผนังห้องน้ำ แล้วหันพระไปทางทิศอื่น ถ้าไม่เช่นนั้นความศักดิ์สิทธิ์ของพระจะเสื่อม เนื่องจากถูกพลังของธาตุน้ำหักล้าง