ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอยู่มากทั้งในไทยและในต่างประเทศ
และที่สำคัญผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนเก็บอาการเก่ง
คนภายนอกไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่าเขากำลังป่วย
และอาจตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงได้
โรคซึมเศร้า ความอันตรายของโรคนี้คือหากไม่สังเกต เราอาจไม่เห็นอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยเลย หรืออาจจะเห็นผู้ป่วยซึมเศร้ามีชีวิตที่ดี ยิ้มแย้ม รื่นเริง ทว่าวันหนึ่งกลับได้ข่าวว่าเขาตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เพราะทนต่อความทุกข์จากโรคซึมเศร้าไม่ไหว เราเลยอยากให้คนรอบข้างช่วยกันสังเกตสัญญาณอันตราย เสี่ยงว่าเขาอาจฆ่าตัวตาย หากโพสต์หรือพูดประโยคบางอย่างที่อาจเป็นลางก่อนเกิดเหตุ เช่นประโยคต่อไปนี้
1. โพสต์ข้อความสั่งเสียเป็นนัย ๆ เช่น ขอบคุณ ขอโทษ ลาก่อน
2. โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความตาย หรือเขียนประมาณว่า ไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว
3. โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน
4. โพสต์ข้อความว่า รู้สึกผิด ล้มเหลว หมดหวังในชีวิต
5. โพสต์ข้อความว่า เป็นภาระของผู้อื่น หรือข้อความที่บ่งบอกว่ารู้สึกไร้คุณค่า
ทำอย่างไรดี ถ้าเห็นโพสต์ที่บ่งบอกว่าเสี่ยงฆ่าตัวตาย
ถ้าเห็นข้อความแนวตัดพ้อ แนวเศร้า ๆ บ่นว่าชีวิตไม่มีค่า ไม่มีความหมาย อยากตาย จากเพื่อนในโลกโซเซียล คนเดิม และมักจะโพสต์ข้อความประมาณนี้บ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี เพราะคนที่โพสต์แบบนี้อาจกำลังคิดจะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง โดยกรมสุขภาพจิตก็แนะแนวทางรับมือเมื่อเห็นสัญญาณเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียลไว้ดังนี้ค่ะ
1. แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ รับฟังปัญหาของเขาอย่างตั้งใจ หรือให้คำแนะนำอย่างจริงใจ
2. ยอมรับว่าสิ่งที่เขาโพสต์นั้นเป็นปัญหาของเขาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
3. ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขา และทำให้เขาเห็นว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขและผ่านไปได้
4. พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา ปลอบใจให้เขามีสติ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา
5. ชักชวนให้เขาออกมาทำกิจกรรมข้างนอก พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว
6. ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติเขาให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และพยายามให้เขาอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่เขาอาจเตรียมไว้ทำร้ายตัวเอง
7. แนะนำช่องทางการขอรับคำปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือคลินิกให้การปรึกษา
8. ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
และนี่คือ 8 วิธีรับมือกับอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่คนใกล้ชิด คนสนิท มีสิทธิ์ช่วยเหลือและพยุงเขาให้เดินออกมาจากห้วงแห่งความเศร้าได้ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจหากเห็นข้อความบ่งชี้ที่ส่อว่าคนโพสต์กำลังหมดกำลังใจและท้อแท้กับการมีชีวิตอย่างยิ่ง
แต่ในกรณีที่บังเอิญเปิดโซเชียลมีเดียและพบเห็นคนในโลกโซเชียลมีพฤติกรรมไลฟ์สดพยายามทำร้ายตัวเอง
ทางกรมสุขภาพจิตก็ได้เสนอแนวทาง 5 อย่า 3 ควร เพื่อให้คนใกล้ชิด เพื่อน
ญาติ
ของคนที่คิดฆ่าตัวตายสามารถนำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ทันท่วงที
โดยแนวทางก็มีดังนี้ค่ะ
5 อย่าทำ
1. อย่าท้าทาย เช่น ทำเลย เอาจริงก็ลงมือสิ กล้าทำหรือเปล่า คำพูดเหล่านี้จะยิ่งกระตุ้นผู้ป่วยให้ตัดสินใจทำร้ายตัวเองมากขึ้น
2. อย่านิ่งเฉย หากเห็นแล้วปล่อยเลยตามเลย นั่นอาจถือเป็นการสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเองทางอ้อม
3. อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย หรือด่าว่า เช่น อ่อนแอจัง โง่จัง บ้า เพราะคำพูดเหล่านี้อาจกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความคิดในทางลบจนกระทั่งทำร้ายตัวเองได้
4. อย่าแชร์ต่อ การแชร์ข้อความหรือไลฟ์สดในโซเชียลต่อไป อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในกลุ่มคนที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือคิดว่าชีวิตตัวเองไม่มีคุณค่า เขาเหล่านั้นอาจทำร้ายตัวเองเลียนแบบบ้างก็ได้
5. อย่าติดตามจนจบ หากเจอคนไลฟ์สดจะทำร้ายตัวเอง หากเราช่วยเหลือไม่ได้ ก็อย่าพยายามดูต่อจนจบ เพราะอาจทำให้รู้สึกสะเทือนใจ เศร้าใจ มีความเครียดฝังใจจนกระทบกับการนอนหลับ และการใช้ชีวิตได้
3 ควรทำ
1. ควรห้ามหรือขอร้องให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะส่วนใหญ่คนที่คิดอยากทำร้ายตัวเองจะลังเลใจ
2. ควรชวนคุย เพื่อให้เขาได้มีโอกาสทบทวนความคิดตัวเองใหม่ เน้นรับฟังสิ่งที่เขาอยากระบาย และพยายามอย่าให้เขาอยู่ตัวคนเดียว
3. ควรติดต่อขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ชิดเขาที่สุดในขณะนั้น หรือสามารถโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
คำพูดไหนที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดบางคำ บางประโยค คนที่ไม่ป่วยอาจรู้สึกเฉย ๆ เมื่อได้ฟัง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คำบางคำอาจบั่นทอนเขาให้รู้สึกไร้คุณค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปก็เป็นได้ ลองมาดูกันค่ะว่าคำพูดไหนควรพูด คำพูดไหนไม่ควรพูด กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง
ดูแลอย่างไรดี เมื่อคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า
หากสังเกตว่าคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัวมากขึ้น ไม่พูดไม่จา มีอาการเหม่อลอย ร้องไห้บ่อย พูดถึงเรื่องความตาย บ่นไม่อยากมีชีวิตอยู่ สัญญาณเตือนเหล่านี้คนที่อยู่ใกล้ชิดควรต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเขา พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว รวมทั้งควรเก็บอุปกรณ์อันตรายอย่างเชือก ปืน ของมีคม ยาอันตราย หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ให้ไกลตัวผู้ป่วย เพราะเขาอาจนำอุปกรณ์เหล่านี้มาทำร้ายตัวเองจนถึงแก่ชีวิตได้
โรคซึมเศร้า รู้ตัวไว รักษาหายได้ง่าย
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งหากเรารู้ตัวว่าอาจเสี่ยงโรคซึมเศร้า การเดินเข้าไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและเข้ารับการรักษา ยอมรับว่าตัวเราป่วยโรคซึมเศร้า และกินยาตามหมอสั่งอย่างต่อเนื่อง โรคซึมเศร้าก็จะอยู่กับเราไม่นาน และเราเองก็จะหายกลับไปเป็นปกติได้ดังเดิมนะคะ
เอาเป็นว่าเรามาลองเช็กโรคซึมเศร้าในตัวเราก่อนดีกว่า
- เช็ก ! แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
อินสตาแกรม pr_dmh
ทวิตเตอร์ กรมสุภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคซึมเศร้า ความอันตรายของโรคนี้คือหากไม่สังเกต เราอาจไม่เห็นอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยเลย หรืออาจจะเห็นผู้ป่วยซึมเศร้ามีชีวิตที่ดี ยิ้มแย้ม รื่นเริง ทว่าวันหนึ่งกลับได้ข่าวว่าเขาตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เพราะทนต่อความทุกข์จากโรคซึมเศร้าไม่ไหว เราเลยอยากให้คนรอบข้างช่วยกันสังเกตสัญญาณอันตราย เสี่ยงว่าเขาอาจฆ่าตัวตาย หากโพสต์หรือพูดประโยคบางอย่างที่อาจเป็นลางก่อนเกิดเหตุ เช่นประโยคต่อไปนี้
2. โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความตาย หรือเขียนประมาณว่า ไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว
3. โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน
4. โพสต์ข้อความว่า รู้สึกผิด ล้มเหลว หมดหวังในชีวิต
5. โพสต์ข้อความว่า เป็นภาระของผู้อื่น หรือข้อความที่บ่งบอกว่ารู้สึกไร้คุณค่า
ถ้าเห็นข้อความแนวตัดพ้อ แนวเศร้า ๆ บ่นว่าชีวิตไม่มีค่า ไม่มีความหมาย อยากตาย จากเพื่อนในโลกโซเซียล คนเดิม และมักจะโพสต์ข้อความประมาณนี้บ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี เพราะคนที่โพสต์แบบนี้อาจกำลังคิดจะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง โดยกรมสุขภาพจิตก็แนะแนวทางรับมือเมื่อเห็นสัญญาณเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียลไว้ดังนี้ค่ะ
1. แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ รับฟังปัญหาของเขาอย่างตั้งใจ หรือให้คำแนะนำอย่างจริงใจ
2. ยอมรับว่าสิ่งที่เขาโพสต์นั้นเป็นปัญหาของเขาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
3. ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขา และทำให้เขาเห็นว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขและผ่านไปได้
4. พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา ปลอบใจให้เขามีสติ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา
5. ชักชวนให้เขาออกมาทำกิจกรรมข้างนอก พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว
6. ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติเขาให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และพยายามให้เขาอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่เขาอาจเตรียมไว้ทำร้ายตัวเอง
7. แนะนำช่องทางการขอรับคำปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือคลินิกให้การปรึกษา
8. ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
และนี่คือ 8 วิธีรับมือกับอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่คนใกล้ชิด คนสนิท มีสิทธิ์ช่วยเหลือและพยุงเขาให้เดินออกมาจากห้วงแห่งความเศร้าได้ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจหากเห็นข้อความบ่งชี้ที่ส่อว่าคนโพสต์กำลังหมดกำลังใจและท้อแท้กับการมีชีวิตอย่างยิ่ง
5 อย่าทำ
1. อย่าท้าทาย เช่น ทำเลย เอาจริงก็ลงมือสิ กล้าทำหรือเปล่า คำพูดเหล่านี้จะยิ่งกระตุ้นผู้ป่วยให้ตัดสินใจทำร้ายตัวเองมากขึ้น
2. อย่านิ่งเฉย หากเห็นแล้วปล่อยเลยตามเลย นั่นอาจถือเป็นการสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเองทางอ้อม
3. อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย หรือด่าว่า เช่น อ่อนแอจัง โง่จัง บ้า เพราะคำพูดเหล่านี้อาจกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความคิดในทางลบจนกระทั่งทำร้ายตัวเองได้
4. อย่าแชร์ต่อ การแชร์ข้อความหรือไลฟ์สดในโซเชียลต่อไป อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในกลุ่มคนที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือคิดว่าชีวิตตัวเองไม่มีคุณค่า เขาเหล่านั้นอาจทำร้ายตัวเองเลียนแบบบ้างก็ได้
5. อย่าติดตามจนจบ หากเจอคนไลฟ์สดจะทำร้ายตัวเอง หากเราช่วยเหลือไม่ได้ ก็อย่าพยายามดูต่อจนจบ เพราะอาจทำให้รู้สึกสะเทือนใจ เศร้าใจ มีความเครียดฝังใจจนกระทบกับการนอนหลับ และการใช้ชีวิตได้
1. ควรห้ามหรือขอร้องให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะส่วนใหญ่คนที่คิดอยากทำร้ายตัวเองจะลังเลใจ
2. ควรชวนคุย เพื่อให้เขาได้มีโอกาสทบทวนความคิดตัวเองใหม่ เน้นรับฟังสิ่งที่เขาอยากระบาย และพยายามอย่าให้เขาอยู่ตัวคนเดียว
3. ควรติดต่อขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ชิดเขาที่สุดในขณะนั้น หรือสามารถโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
คำพูดไหนที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดบางคำ บางประโยค คนที่ไม่ป่วยอาจรู้สึกเฉย ๆ เมื่อได้ฟัง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คำบางคำอาจบั่นทอนเขาให้รู้สึกไร้คุณค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปก็เป็นได้ ลองมาดูกันค่ะว่าคำพูดไหนควรพูด คำพูดไหนไม่ควรพูด กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง
หากสังเกตว่าคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัวมากขึ้น ไม่พูดไม่จา มีอาการเหม่อลอย ร้องไห้บ่อย พูดถึงเรื่องความตาย บ่นไม่อยากมีชีวิตอยู่ สัญญาณเตือนเหล่านี้คนที่อยู่ใกล้ชิดควรต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเขา พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว รวมทั้งควรเก็บอุปกรณ์อันตรายอย่างเชือก ปืน ของมีคม ยาอันตราย หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ให้ไกลตัวผู้ป่วย เพราะเขาอาจนำอุปกรณ์เหล่านี้มาทำร้ายตัวเองจนถึงแก่ชีวิตได้
โรคซึมเศร้า รู้ตัวไว รักษาหายได้ง่าย
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งหากเรารู้ตัวว่าอาจเสี่ยงโรคซึมเศร้า การเดินเข้าไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและเข้ารับการรักษา ยอมรับว่าตัวเราป่วยโรคซึมเศร้า และกินยาตามหมอสั่งอย่างต่อเนื่อง โรคซึมเศร้าก็จะอยู่กับเราไม่นาน และเราเองก็จะหายกลับไปเป็นปกติได้ดังเดิมนะคะ
เอาเป็นว่าเรามาลองเช็กโรคซึมเศร้าในตัวเราก่อนดีกว่า
- เช็ก ! แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
อินสตาแกรม pr_dmh
ทวิตเตอร์ กรมสุภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล