“ผักแก่นขม” ต้านมะเร็งลำใส้ ลดพิษไข้ บำรุงน้ำดีและสรรพคุณ ที่รู้แล้วจะทึ่ง 16 ข้อ
ผักแก่นขม ประโยชน์ และสรรพคุณผักแก่นขม ผักแก่นขม เป็นผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ หารับประทานได้ง่ายในหน้าหนาว และหน้าแล้ง โดยเฉพาะภาคอีสานที่นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกงต่างๆ เนื้อผักมีความนุ่ม ให้รสขมเล็กน้อย ช่วยเพิ่มรสให้น่ารับประทาน และมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ผักแก่นขมมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในตอนบนของพม่า ไทย และลาว ในประเทศไทยพบมากในภาคอีสาน พบได้เฉพาะในแปลงนาหรือพื้นที่เตียนโล่ง โดยเฉพาะบริเวณแอ่งหรือที่ต่ำในแปลงนาหรือข้างแอ่งน้ำที่ชุ่ม และพบได้เฉพาะช่วงหน้าหนาวถึงหน้าแล้ง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ผักแก่นขม เป็นพืชล้มลุกชนิดเลื้อย มีลำต้นหลักสั้น สีน้ำตาลอมแดง แทงขึ้นเหนือดินเล็กน้อย จากนั้น ลำต้นแตกกิ่งแขนงออกจำนวนมาก ขนาดกิ่ง 0.2-0.3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กิ่งมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นส่วนแตกออกของใบ กิ่งแขนงอ่อนมีสีเขียวอ่อน กิ่งที่โตเต็มที่มีสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อกิ่งเป็นเส้นใย กิ่งแขนงเมื่อเริ่มแตกออกจะนอนเลื้อยตามพื้นดิน ใบ
ใบแก่นขม ออกเป็นคู่ตรงข้างกันบริเวณข้อกิ่ง มีรูปหอก ขนาดใบกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบ เรียวจรดกิ่งแขนง ปลายใบใหญ่ โค้ง และแหลมเล็กน้อย แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบมองเห็นไม่ชัดเจน ดอก
แก่นขมออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก แทงออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ทรงกลม ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกทะยอยบานในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล และเมล็ด
ผลแก่นขมมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เปลือกผลมีสีน้ำตาลอมดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล เมล็ดจะทยอยแก่ และร่วงลงดินประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม สรรพคุณแก่นขม
ทุกส่วนของผักแก่นขมจะมีรสขมอ่อน มีสรรพคุณหลายอย่าง ได้แก่
– ช่วยต้านมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้
– ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการตัวร้อนจากไข้
– ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำลาย กระตุ้นการอยากอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ
– ช่วยขับปัสสาวะ ลดสารพิษในไต
– ช่วยในการขับลม แก้อาการท้องอืด
– ป้องกัน และบรรเทาโรคเบาหวาน
– บรรเทาอาการปวด อาการอักเสบ
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– แก้อาการร้อนใน การเก็บผักแก่นขม
ผักแก่นขมจะเริ่มแตกหน่อ และเติบโตเป็นต้นขนาดเล็กในช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังน้ำในแอ่งน้ำขังหรือนาข้าวแห้งแล้ว และเริ่มเก็บลำต้นมาประกอบอาหารได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน การเก็บผักแก่นขม โดยทั่วไปจะใช้วิธีถอนทั้งลำต้น และราก เพราะนิยมใช้ทั้งส่วนราก และลำต้นในการปรุงอาหาร มีวิธีเก็บด้วยใช้มือจับถอนบริเวณโคนต้น ดึงถอนให้รากติดขึ้นมาด้วย ผักแก่นขมกับเมนูอาหาร
ผักแก่นขม นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกง ได้แก่
– ต้มส้มปลาหมอ
– ต้มส้มกบ
– ต้มส้มเขียดจะนา
– แกงอ่อมหมู และเนื้อ
– แกงเลียง
– ฯลฯ อาหารจำพวกต้ม คือ อาหารที่ใส่น้ำมาก เนื้อปลา และผักน้อย ส่วนอาหารจำพวกแกง จะใส่น้ำน้อยหรือเรียกอีกอย่างว่าแกงคั่ว น้ำจะน้อย ผักและเนื้อปลามีมาก ผักแก่นขมที่ใช้จะต้องล้างน้ำทำความสะอาดก่อน โดยเฉพาะรากแก่นขม เพราะมักมีดินติดมาด้วย หากล้างไม่สะอาดจะทำให้เวลารับประทานจะเคี้ยวแหยงดินได้ ทำให้อาหารไม่อร่อย และรับประทานไม่ได้ การใส่ผักแก่นขมในอาหารจำพวกต้มหรือแกง เริ่มจาก
1. ตั้งน้ำให้ร้อน
2. เติมเนื้อหรือปลาหรือกบเขียด (เตรียมด้วยการล้างให้สะอาด และสับเป็นชิ้นก่อน แต่บางอย่างไม่ต้องสับ เช่น เขียดจะนา)
3. เติมเครื่องปรุงพื้นฐาน ได้แก่ เกลือ และเครื่องแกง ทั้งพริกแห้งตำกับตะไคร้
4. ใส่ผักที่สุกยาก อาทิ ผักกวางตุ้ง หัวหอม เป็นต้น
5. เติมเครื่องปรุงรส อาทิ ปลาร้า ผงชูรส และน้ำปลาร้า
6. เติมผักที่สุกง่าย อาทิ ผักชีลาว ร่วมกับผักแก่นขม
7. ทิ้งไว้สักพัก 1-2 นาที แล้วชิมรส และเติมรสตามต้องการ
ขอบคุณภาพจาก Ututor99.com/, bansuanporpeang.com/, kaentong.com/
ที่มา : http://puechkaset.com/
ผักแก่นขม ประโยชน์ และสรรพคุณผักแก่นขม ผักแก่นขม เป็นผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ หารับประทานได้ง่ายในหน้าหนาว และหน้าแล้ง โดยเฉพาะภาคอีสานที่นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกงต่างๆ เนื้อผักมีความนุ่ม ให้รสขมเล็กน้อย ช่วยเพิ่มรสให้น่ารับประทาน และมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ผักแก่นขมมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในตอนบนของพม่า ไทย และลาว ในประเทศไทยพบมากในภาคอีสาน พบได้เฉพาะในแปลงนาหรือพื้นที่เตียนโล่ง โดยเฉพาะบริเวณแอ่งหรือที่ต่ำในแปลงนาหรือข้างแอ่งน้ำที่ชุ่ม และพบได้เฉพาะช่วงหน้าหนาวถึงหน้าแล้ง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ผักแก่นขม เป็นพืชล้มลุกชนิดเลื้อย มีลำต้นหลักสั้น สีน้ำตาลอมแดง แทงขึ้นเหนือดินเล็กน้อย จากนั้น ลำต้นแตกกิ่งแขนงออกจำนวนมาก ขนาดกิ่ง 0.2-0.3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กิ่งมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นส่วนแตกออกของใบ กิ่งแขนงอ่อนมีสีเขียวอ่อน กิ่งที่โตเต็มที่มีสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อกิ่งเป็นเส้นใย กิ่งแขนงเมื่อเริ่มแตกออกจะนอนเลื้อยตามพื้นดิน ใบ
ใบแก่นขม ออกเป็นคู่ตรงข้างกันบริเวณข้อกิ่ง มีรูปหอก ขนาดใบกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบ เรียวจรดกิ่งแขนง ปลายใบใหญ่ โค้ง และแหลมเล็กน้อย แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบมองเห็นไม่ชัดเจน ดอก
แก่นขมออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก แทงออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ทรงกลม ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกทะยอยบานในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล และเมล็ด
ผลแก่นขมมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เปลือกผลมีสีน้ำตาลอมดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล เมล็ดจะทยอยแก่ และร่วงลงดินประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม สรรพคุณแก่นขม
ทุกส่วนของผักแก่นขมจะมีรสขมอ่อน มีสรรพคุณหลายอย่าง ได้แก่
– ช่วยต้านมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้
– ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการตัวร้อนจากไข้
– ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำลาย กระตุ้นการอยากอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ
– ช่วยขับปัสสาวะ ลดสารพิษในไต
– ช่วยในการขับลม แก้อาการท้องอืด
– ป้องกัน และบรรเทาโรคเบาหวาน
– บรรเทาอาการปวด อาการอักเสบ
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– แก้อาการร้อนใน การเก็บผักแก่นขม
ผักแก่นขมจะเริ่มแตกหน่อ และเติบโตเป็นต้นขนาดเล็กในช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังน้ำในแอ่งน้ำขังหรือนาข้าวแห้งแล้ว และเริ่มเก็บลำต้นมาประกอบอาหารได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน การเก็บผักแก่นขม โดยทั่วไปจะใช้วิธีถอนทั้งลำต้น และราก เพราะนิยมใช้ทั้งส่วนราก และลำต้นในการปรุงอาหาร มีวิธีเก็บด้วยใช้มือจับถอนบริเวณโคนต้น ดึงถอนให้รากติดขึ้นมาด้วย ผักแก่นขมกับเมนูอาหาร
ผักแก่นขม นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกง ได้แก่
– ต้มส้มปลาหมอ
– ต้มส้มกบ
– ต้มส้มเขียดจะนา
– แกงอ่อมหมู และเนื้อ
– แกงเลียง
– ฯลฯ อาหารจำพวกต้ม คือ อาหารที่ใส่น้ำมาก เนื้อปลา และผักน้อย ส่วนอาหารจำพวกแกง จะใส่น้ำน้อยหรือเรียกอีกอย่างว่าแกงคั่ว น้ำจะน้อย ผักและเนื้อปลามีมาก ผักแก่นขมที่ใช้จะต้องล้างน้ำทำความสะอาดก่อน โดยเฉพาะรากแก่นขม เพราะมักมีดินติดมาด้วย หากล้างไม่สะอาดจะทำให้เวลารับประทานจะเคี้ยวแหยงดินได้ ทำให้อาหารไม่อร่อย และรับประทานไม่ได้ การใส่ผักแก่นขมในอาหารจำพวกต้มหรือแกง เริ่มจาก
1. ตั้งน้ำให้ร้อน
2. เติมเนื้อหรือปลาหรือกบเขียด (เตรียมด้วยการล้างให้สะอาด และสับเป็นชิ้นก่อน แต่บางอย่างไม่ต้องสับ เช่น เขียดจะนา)
3. เติมเครื่องปรุงพื้นฐาน ได้แก่ เกลือ และเครื่องแกง ทั้งพริกแห้งตำกับตะไคร้
4. ใส่ผักที่สุกยาก อาทิ ผักกวางตุ้ง หัวหอม เป็นต้น
5. เติมเครื่องปรุงรส อาทิ ปลาร้า ผงชูรส และน้ำปลาร้า
6. เติมผักที่สุกง่าย อาทิ ผักชีลาว ร่วมกับผักแก่นขม
7. ทิ้งไว้สักพัก 1-2 นาที แล้วชิมรส และเติมรสตามต้องการ
ขอบคุณภาพจาก Ututor99.com/, bansuanporpeang.com/, kaentong.com/
ที่มา : http://puechkaset.com/