คนที่ชอบนอนดึกและตื่นสาย มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่อาจมีความเสี่ยงโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 เนื่องจากทั้งสองโรคมีความเกี่ยวพันกันอยู่แล้ว
การศึกษาครั้งใหม่ที่จัดขึ้นในสัปดาห์นี้ ที่การประชุมประจำปีของสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งออร์ลันโด ได้วิเคราะห์แบบสอบถามจากประชากรในเรื่องของอารมณ์, คุณภาพการนอนหลับ และความพอใจในเรื่องของเวลา จาก 476 คนในชิคาโกและประเทศไทยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (นักวิจัยต้องการหาความแตกต่างจาก 2 ทวีป เพราะเวลาของการนอนหลับที่แตกต่างกัน) ผลการวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องปกติในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่ง Sirimon Reutrakul, MD, รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมามากมาย
แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์และผลกระทบได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เวลากับโรคซึมเศร้านั้นมีความเกี่ยวข้องกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เธอกล่าวว่าข้อค้นพบนี้สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างนาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์ และจิตวิทยาในคนที่เป็นโรคเบาหวาน การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้ อาจช่วยให้แพทย์พัฒนากลยุทธ์ในการดูแลสุขภาพกายและใจให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ตัวอย่างเช่นการศึกษาในอนาคต สามารถรักษาความสมดุลของนาฬิกาชีวภาค เหมือนการรักษาด้วยแสงและ melatonin (ตัวควบคุมนาฬิกาชีวิตในร่างกายของเรา) อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาอาการซึมเศร้าได้
“ฉันคิดว่าทุกคนมีเวลาของตัวเอง และไม่คิดว่าการเข้านอนไวจะช่วยให้อาการดังกล่าวหายไปได้”
แต่อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เธอคิดว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพียงแค่ต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ของช่วงเวลาชีวิต ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะซึมเศร้า
การศึกษายังพบว่าคุณภาพของการนอนหลับที่ย่ำแย่ก็ส่งผลต่อร่างกายในเรื่องของกับอาการซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนนอนดึกควรปรับเวลาการนอนซะใหม่ “ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การนอนหลับอย่างเพียงพอก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีและมีประโยชน์กับคุณภาพชีวิตของคุณ” เธอกล่าว
ที่มา https://www.health-th.com/นอนดึก-ภาวะซึมเศร้า/
การศึกษาครั้งใหม่ที่จัดขึ้นในสัปดาห์นี้ ที่การประชุมประจำปีของสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งออร์ลันโด ได้วิเคราะห์แบบสอบถามจากประชากรในเรื่องของอารมณ์, คุณภาพการนอนหลับ และความพอใจในเรื่องของเวลา จาก 476 คนในชิคาโกและประเทศไทยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (นักวิจัยต้องการหาความแตกต่างจาก 2 ทวีป เพราะเวลาของการนอนหลับที่แตกต่างกัน) ผลการวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องปกติในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่ง Sirimon Reutrakul, MD, รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมามากมาย
แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์และผลกระทบได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เวลากับโรคซึมเศร้านั้นมีความเกี่ยวข้องกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เธอกล่าวว่าข้อค้นพบนี้สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างนาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์ และจิตวิทยาในคนที่เป็นโรคเบาหวาน การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้ อาจช่วยให้แพทย์พัฒนากลยุทธ์ในการดูแลสุขภาพกายและใจให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ตัวอย่างเช่นการศึกษาในอนาคต สามารถรักษาความสมดุลของนาฬิกาชีวภาค เหมือนการรักษาด้วยแสงและ melatonin (ตัวควบคุมนาฬิกาชีวิตในร่างกายของเรา) อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาอาการซึมเศร้าได้
“ฉันคิดว่าทุกคนมีเวลาของตัวเอง และไม่คิดว่าการเข้านอนไวจะช่วยให้อาการดังกล่าวหายไปได้”
แต่อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เธอคิดว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพียงแค่ต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ของช่วงเวลาชีวิต ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะซึมเศร้า
การศึกษายังพบว่าคุณภาพของการนอนหลับที่ย่ำแย่ก็ส่งผลต่อร่างกายในเรื่องของกับอาการซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนนอนดึกควรปรับเวลาการนอนซะใหม่ “ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การนอนหลับอย่างเพียงพอก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีและมีประโยชน์กับคุณภาพชีวิตของคุณ” เธอกล่าว
ที่มา https://www.health-th.com/นอนดึก-ภาวะซึมเศร้า/